แก้ไขล่าสุด 21/01/2024

รากฟันเทียม มิติใหม่ของการใส่ฟัน

รากฟันเทียม หรือ รากเทียม คือ วัสดุที่มีรูปร่าง คล้ายรากฟันธรรมชาติ ผลิตมาจากวัสดุประเภทต่างๆ ซึ่ง มีคุณสมบัติเข้ากันได้ดีกับร่างกายคนเรา ปกติแล้ว จะใช้เพื่อฝังลงในกระดูกขากรรไกร ช่วยเพิ่มหลักยึดให้กับฟันปลอมทั้งชนิดถอดได้และติดแน่น โดยที่ ไม่ต้องมีการกรอหรือยุ่งเกี่ยวกับฟันธรรมชาติซี่ข้างเคียง ในปัจจุบันนี้ การทำรากฟันเทียม นับเป็นวิธีการใส่ฟันที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง

รากฟันเทียม มิติใหม่แห่งการใส่ฟัน
รากฟันเทียม

สามารถเลือกอ่านหัวข้อที่สนใจในบทความนี้ ไม่ว่าจะเป็น ความหมายของ รากฟันเทียม, ราคา ของ รากฟันเทียม, การทำ รากเทียมฟันหน้า ที่ต้องเน้นเรื่องของความสวยงาม, ขั้นตอนการทำรากฟันเทียม รวมถึงความแตกต่างของรากฟันเทียมประเภทต่างๆ เพื่อจะได้ทราบรายละเอียดทั้งหมด ก่อนการตัดสินใจทำ “รากฟันเทียม”

สารบัญ – รากฟันเทียม

เลือกอ่านหัวข้อที่น่าสนใจด้านล่างได้เลยค่ะ

= = = = = = = = = = = = = = = =

รากฟันเทียม
รากฟันเทียม

รากฟันเทียม คืออะไร

Dental Implant หรือ รากฟันเทียม คือ วัสดุที่ทำมาให้มีรูปร่างคล้ายกับรากฟันธรรมชาติของคนเรา เพื่อมาทดแทนรากฟันจริง ซึ่งตัวรากเทียมนี้จะผลิตมาจากวัสดุเกรดสูงที่สามารถเข้ากันได้ดีกับร่างกายของคนเรา จากนั้นจะทำการฝังลงไปในกระดูกขากรรไกร เพื่อหวังให้ทำหน้าที่แทนรากฟันธรรมชาติ เพื่อรองรับครอบฟัน, สะพานฟัน หรือแม้แต่ฟันปลอมถอดได้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถใช้งานได้ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติมากที่สุด

รากฟันเทียมจะทำต่อเมื่อมีการสูญเสียฟันธรรมชาติไป ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม โดยรากฟันเทียม เป็นวิธีการใส่ฟันที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง มีความสวยงามใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ สามารถทำความสะอาดได้ง่าย เนื่องจากยึดแน่นอยู่ภายในช่องปาก ไม่ต้องถอดออกมาล้างทำความสะอาด รวมถึงสามารถเข้ากันได้ดีกับเนื้อเยื่อของร่างกาย

ทางเลือกอื่นๆของการทดแทนฟันที่หายไป

การไม่มีฟัน ไม่เพียงแต่ทำให้การบดเคี้ยวอาหารด้อยลง มีปัญหาในการพูด การออกเสียง แต่ยังส่งผลถึงการขาดความมั่นใจและความสวยงาม การใส่ฟันปลอมเพื่อทดแทนฟันที่เสียไป จึงมีความสำคัญ และเมื่อเราพูดถึงฟันปลอม ใครหลายๆคนอาจจะนึกไปถึงฟันปลอม ถอดได้มีเหงือกสีชมพูที่คุณปู่ คุณย่าของเราใส่กัน ซึ่งจริงๆแล้วงานทางด้านการใส่ฟัน เราสามารถแบ่งฟันปลอมได้อยู่ 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

1. ฟันปลอมชนิดถอดได้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ

  • ฟันปลอมถอดได้โครงอะคริลิก
  • ฟันปลอมถอดได้โครงโลหะ
  • ฟันปลอมถอดได้ทั้งปาก

ซึ่งฟันปลอมลักษณะนี้ มีข้อด้อยคือ ไม่แน่น มีโอกาสหลุดได้ง่ายเวลารับประทานอาหารหรือเวลาพูด

2. ฟันปลอมชนิดติดแน่น คือ ฟันปลอมที่ยึดแน่นอยู่ในช่องปาก ถอดออกมานอกช่องปากเพื่อทำความสะอาดไม่ได้ ซึ่งโดยทั่วไป ฟันปลอมชนิดติดแน่น จะต้องมีการกรอฟันซี่ข้างเคียงเพื่อเป็นหลักยึดให้กับฟันปลอมชนิดนี้

ทั้งนี้ ด้วยข้อด้อยของฟันปลอมทั้ง 2 ประเภทที่กล่าวมาข้างต้น ประกอบกับวิทยาการทางการรักษาทางทันตกรรม รากฟันเทียมก็ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ เพื่อมาช่วยให้การใส่ฟันนั้นมีประสิทธิภาพขึ้น โดย สามารถใช้รากฟันเทียมเพื่อใส่ฟันปลอมได้ตั้งแต่ 1ซี่ขึ้นไป หรือ จะใช้เป็นหลักยึดให้กับฟันปลอมถอดได้ในบางกรณี เนื่องจาก ผลสำเร็จในการรักษาที่ค่อนข้างสูงนี้และความหลากหลายของยี่ห้อรากเทียมในตลาด ทำให้ ทันตกรรมรากเทียม ซึ่งมีทั้ง รากเทียมฟันหน้า และ รากเทียมฟันกราม เป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ

= = = = = = = = = = = = = = = =

กลับสู่สารบัญ

ชนิดของรากฟันเทียม

วัสดุที่ใช้ทำรากฟันเทียม ต้องเป็นวัสดุที่สามารถเข้ากันได้ดีกับเนื้อเยื่อของร่างกาย ในปัจจุบัน มีวัสดุที่ใช้ทำหลักๆอยู่ 2 ประเภทคือ

1. โลหะไทเทเนียม (Titanium Implant)

ส่วนใหญ่รากฟันเทียมในปัจจุบันถูกผลิตขึ้นมาจากวัสดุไทเทเนียมเกรด 4 ที่มีความบริสุทธิ์ของไทเทเนียมสูงถึง 99% ทำให้เข้ากันได้ดีกับร่างกายมนุษย์

2. กลุ่มของ Metal free คือเซรามิก (Ceramic Implant)

ซึ่งเป็นวัสดุที่เข้ากับเนื้อเยื่อของมนุษย์ได้ดีเช่นเดียวกับรากฟันไทเทเนียม ซึ่งจะเหมาะสมกับผู้ที่มีปริมาณกระดูกน้อย หรือ ไม่ต้องการเสริมกระดูกในปริมาณที่มาก โดยรากฟันเทียมเซรามิก จะมีข้อเด่นทางเรื่องของความสวยงาม ที่มองไม่เห็นสีของโลหะ

= = = = = = = = = = = = = = = =

กลับสู่สารบัญ

ส่วนประกอบของ รากฟันเทียม
ส่วนประกอบของ รากฟันเทียม

ส่วนประกอบของ รากเทียม

โครงสร้างของรากเทียม นั้น จะประกอบด้วย ส่วนประกอบหลัก ที่สำคัญ 3 ส่วน คือ

  • ส่วนของตัวรากเทียม (Implant Fixture) – เป็นส่วนที่ฝังอยู่ในกระดูก มีลักษณะคล้ายนอตหรือสกรู เพื่อทำหน้าที่คล้ายกับรากฟันตามธรรมชาติ เมื่อรากเทียมยึดติดกับกระดูก
  • หลักยึดสำหรับครอบฟัน (Abutment) – เป็นส่วนเชื่อมต่อระหว่างรากเทียม ( implant fixture ) และครอบฟัน ( crown ) มีหน้าที่ยึดติดกับรากเทียมให้แน่นเพื่อรองรับครอบฟัน
  • ครอบฟัน (Crown) – ซึ่งในที่นี้จะใช้หมายถึงเฉพาะการทำครอบฟันในฟันแท้และไม่ได้รวมถึงการทำครอบฟันเด็ก โดยครอบฟันนี้จะเป็นส่วนที่อยู่เหนือเหงือก รูปร่างและสีเลียนแบบตามลักษณะของฟันธรรมชาติซี่นั้นๆ โดยจะทำจากวัสดุเซรามิกหรือโลหะก็ได้ ทำหน้าที่รับแรงบดเคี้ยวอาหาร

= = = = = = = = = = = = = = = =

กลับสู่สารบัญ

ขั้นตอนการทำ รากเทียม
ขั้นตอนการทำ รากเทียม

ขั้นตอนการทำรากฟันเทียม

การทำ รากเทียม มีขั้นตอนดังนี้

1. ทันตแพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัย ถ่ายภาพ x-ray และ พิมพ์ปากเพื่อทำแบบจำลองฟัน

ในบางกรณี อาจต้องมีการถ่าย CT scan เพื่อดูมวลกระดูกบริเวณที่จะปัก รากเทียม โดย ข้อมูลดังกล่าว จะใช้เพื่อประกอบการวางแผนการรักษา และถ้าหากต้องมีการปัก รากเทียม หลายซี่ ทันตแพทย์อาจพิจารณาพิมพ์ปากเพื่อทำ surgical guide เพื่อเป็นตัวนำทิศทางก่อนที่จะทำการปัก รากเทียม จริงๆ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสำหรับการปัก รากเทียม

2. จากนั้น ทันตแพทย์จะอธิบายถึงแผนการรักษา ขั้นตอนและวิธีการทำ รากเทียม

หรือว่าต้องมีการทำหัตถการอื่นๆร่วมด้วยหรือไม่ เช่น ต้องมีการปลูกกระดูก หรือผ่าตัดยกผนังไซนัส เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวรากเทียมฝังเข้าไปในโพรงไซนัส เป็นต้น

3. นัดหมายเพื่อฝัง รากเทียม ลงในกระดูกขากรรไกร

โดยขั้นตอนการฝัง จะมีการฉีดยาชาเฉพาะที่ และ เปิดเหงือกเป็นแผลเล็กๆ เพื่อไขหรือฝังรากเทียมลงไปในกระดูก ซึ่งขั้นตอนนี้ อาจต้องมีการเติมกระดูก ในกรณีที่มีสันกระดูกบาง หรือมีมวลกระดูกไม่เพียงพอ

ผู้ที่จะเข้ารับการฝังรากเทียม ควรทำจิตใจให้สบาย ผ่อนคลาย พักผ่อนมาให้เพียงพอ รับประทานอาหารรองท้องมาบ้างพอประมาณ รวมทั้งถ้ามียาประจำตัว ก็ควรรับประทานมาให้เรียบร้อย

ในกระบวนการฝังรากเทียมจะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง แต่ถ้าหากมีงานศัลยกรรมอื่นๆร่วมด้วย เช่น ผ่าตัดยกผนังไซนัส อาจใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง หลังจากทำหัตถการทั้งหมดเสร็จ ทันตแพทย์จะตรวจดูความเรียบร้อย และเย็บแผลด้วยไหมไนล่อน ที่จะทำให้แผลขยับน้อย และช่วยให้รากเทียมอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องมากที่สุด ทันตแพทย์จะนัดหมายมาเพื่อตรวจดูแผล และตัดไหม ภายหลังการฝังรากเทียมประมาณ 1-2 สัปดาห์

4. ภายหลังการฝัง รากเทียม จะต้องรอประมาณ 3-6 เดือน

เพื่อรอให้รากเทียมกับกระดูกขากรรไกรยึดกันเต็มที่

5. จากนั้นทันตแพทย์ จะทำการครอบฟันทับไปบนรากฟันเทียมอีกที

ทันตแพทย์ จะทำการเปิดสันเหงือกในบริเวณที่มีการฝังรากเทียมเอาไว้ จากนั้น จะมีการใส่ตัว หลักยึด หรือ abutment ลงไปใน รากเทียม เพื่อเป็นตัวเชื่อมระหว่างรากเทียมกับตัวครอบฟัน

จากนั้น ทันตแพทย์จะนัดหมายมาเพื่อพิมพ์บริเวณรากฟันเทียม และส่งห้องปฏิบัติการ เพื่อทำครอบฟันถาวร โดยการครอบฟันทับไปบนรากฟันเทียมนี้ ทางห้องปฏิบัติการ จะใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ จึงจะสามารถใส่ครอบทับลงไปบนรากเทียม

6. ต้องมีการนัดหมายเพื่อเข้ารับการตรวจเช็คเป็นระยะ

ระยะเวลาในการเช็คสภาพการใช้งานของ รากเทียม จะอยู่ที่ 1 สัปดาห์,1 เดือน, 3 เดือน, 6 เดือน และนัดมาตรวจซ้ำทุกๆปี ภายหลังการทำ

= = = = = = = = = = = = = = = =

กลับสู่สารบัญ

การดูแลรักษา รากเทียม

อายุการใช้งานและการดูแลรักษา รากฟันเทียม

รากฟันเทียม หรือ รากเทียม ทำมาจากวัสดุไทเทเนียมและเซรามิก ที่มีความแข็งแรงสูงมาก ซึ่งอายุการใช้งานของรากฟันเทียม ไม่ว่าจะเป็น รากเทียมฟันหน้า หรือ รากเทียมฟันกราม จะขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาสุขภาพช่องปาก การทำความสะอาดช่องปากอย่างถูกวิธี ทั้งการแปรงฟันและการใช้ไหมขัดฟัน รวมถึงการมาพบทันตแพทย์ตามกำหนดนัดหมายเพื่อทำการขูดหินปูน จะช่วยลดอัตราการเกิดการอักเสบบริเวณรอบๆรากฟันเทียมได้ อย่างไรก็ดี หากดูแลสุขภาพช่องปากได้เป็นอย่างดี รากฟันเทียมจะสามารถอยู่ในช่องปากได้ตลอดชีวิต

วิธีการดูแลตัวเองภายหลังปักรากฟันเทียม

  1. ให้ระมัดระวังการทำความสะอาดช่องปาก โดยเฉพาะบริเวณที่มีการปัก รากเทียม เนื่องจากหากแปรงฟันโดนถูกแรงๆ อาจทำให้แผลอักเสบได้ แต่บริเวณอื่นควรทำความสะอาดตามปกติ
  2. หลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารในบริเวณที่เพิ่งปักรากฟันเทียมไป หรือให้ทานอาหารอ่อนก่อน และไม่ควรทานอาหารที่มีรสจัดมาก เนื่องจากอาจระคายเคืองแผลได้
  3. อาจบ้วนน้ำเกลืออุ่นๆ ในวันรุ่งขึ้นหลังจากปัก รากเทียม เพราะน้ำเกลือ จะช่วยให้การอักเสบของแผลหายเร็วขึ้น
  4. ควรรับประทานยาตามที่ทันตแพทย์สั่งจนครบ โดยเฉพาะยาแก้อักเสบ หากคุณมีอาการเจ็บภายหลังปัก รากเทียม ไม่ว่าจะเป็นอาการเจ็บที่บริเวณ รากเทียมฟันหน้า หรือรากเทียมสำหรับฟันกราม ให้รับประทานยาแก้ปวด ที่ทันตแพทย์จ่ายมาให้
  5. กลับไปตัดไหมตามที่ทันตแพทย์นัดหมาย

การดูแลตัวเองเพื่ออายุการใช้งาน รากเทียม ที่ยาวนาน

  1. ควรทำความสะอาดช่องปากด้วยการแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ร่วมกับการใช้ไหมขัดฟัน อย่างถูกวิธี เพื่อการมีสุขภาพช่องปากที่ดี
  2. ระมัดระวังในการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงการใช้งานฟันอย่างผิดวิธี เช่น ใช้ฟันหน้าในการเปิดฝาขวด หรือกัดเคี้ยวของแข็งมากๆ เพื่อไม่ให้ส่วนของครอบฟันแตกบิ่น และยืดอายุการใช้งานของรากฟันเทียม
  3. ไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันทุกๆ 6 เดือน
  4. เลือกทำ รากเทียม โดยใช้รากเทียมยี่ห้อที่มีคุณภาพ และรับการรักษากับทันตแพทย์เฉพาะทางที่น่าเชื่อถือ โดยเลือกคลินิกที่สะอาด มีระบบการฆ่าเชื้อเครื่องมือที่ได้มาตรฐาน มีระบบการติดตามนัดหมายที่มีคุณภาพ เนื่องจากการปัก รากเทียม เป็นงานหัตถการที่มีราคาสูง และมีความซับซ้อนในการทำค่อนข้างมาก การเลือกทันตแพทย์ที่มีความชำนาญเฉพาะทาง มีประสบการณ์ในการปัก รากเทียม มายาวนาน จึงเป็นสิ่งจำเป็น

การปักรากเทียม นับเป็นการใส่ฟันทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไปที่ดีที่สุดในปัจจุบัน ทั้งในแง่ของความสวยงาม การใช้งาน และความเคยชินภายหลังการใส่ โดยรากเทียม หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง จะสามารถมีอายุการใช้งานได้ยาวนานหลายสิบปี แต่ทั้งนี้ต้องประกอบไปด้วยการดูแลตัวเอง และการมาตรวจเช็คอย่างสม่ำเสมอด้วยค่ะ

= = = = = = = = = = = = = = = =

กลับสู่สารบัญ

ข้อดีของการทำ รากฟันเทียม

ข้อดี-ข้อจำกัด ของการทำรากฟันเทียม

ข้อดีของการทำรากฟันเทียม

  1. ช่วยให้การบดเคี้ยวอาหารดีขึ้น
  2. มีความสวยงาม ดูเป็นธรรมชาติ เมื่อเทียบกับฟันปลอมแบบถอดได้
  3. ไม่ต้องมีการกรอฟันข้างเคียง เมื่อเทียบกับวิธีการทำสะพานฟัน
  4. สามารถออกเสียงได้อย่างเป็นธรรมชาติ เมื่อเทียบกับฟันปลอมแบบถอดได้
  5. คงทนและถาวร หากดูแลรักษาอย่างถูกวิธี
  6. เพิ่มความมั่นใจ และ ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น
  7. หากใช้ร่วมกับการใส่ฟันปลอมแบบถอดได้ จะช่วยให้ฟันปลอมแน่นขึ้น ลดปัญหาฟันปลอมหลุดหรือขยับเวลาพูดคุย และ รับประทานอาหาร
  8. ทำให้สุขภาพช่องปากโดยรวมดีขึ้น

ข้อจำกัดในการทำรากฟันเทียม

  1. รากฟันเทียม มี ราคา สูงกว่าการใส่ฟันปลอมประเภทอื่นๆ
  2. ใช้เวลาในการรักษานานกว่าการใส่ฟันประเภทอื่นๆ คุณจะขาดฟันเป็นระยะเวลานาน
  3. หากคุณสูญเสียฟันไป และคุณอายุยังไม่ถึง 18 ปี คุณจะไม่สามารถรับการใส่ฟันโดยการปักรากเทียมได้
  4. โรคประจำตัวบางประเภท จะไม่สามารถปักรากเทียมได้ เช่น โรคเบาหวานที่ยังควบคุมไม่ได้ โรคลูคีเมีย หรือ ภาวะไฮเปอร์ไทรอยด์
  5. หากคุณกำลังตั้งครรภ์อยู่ คุณควรรอให้คลอดให้เรียบร้อยก่อน เนื่องจากกระบวนการทำรากฟันเทียม จะต้องมีการถ่ายภาพรังสี และรับประทานยาฆ่าเชื้อภายหลังปักรากเทียมเสร็จ ซึ่งอาจจะไม่เป็นผลดีกับทารกในครรภ์
  6. หากมีสุขภาพช่องปากไม่ดี เช่น มีภาวะโรคปริทันต์ จากการสูบบุหรี่จัด หรือดื่มสุรามากๆ จะไม่เหมาะสมในการปักรากเทียม เนื่องจากจะมีผลลัพธ์ของการรักษาที่ไม่ดี

= = = = = = = = = = = = = = = =

กลับสู่สารบัญ

ปัญหาที่อาจพบได้ในการฝังรากเทียม

ผู้ที่เหมาะในการทำ รากฟันเทียม

เป็นคำถามที่หลายคนอยากรู้คำตอบ ว่าการปักรากเทียมนั้น เหมาะกับกรณีใดบ้าง ซึ่งผู้ที่เหมาะสมในการปักรากเทียม ได้แก่

  1. ผู้ที่สูญเสียฟันแท้ไปจากอุบัติเหตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฟันหน้า เนื่องจากตำแหน่งฟันหน้า จะต้องการความสวยงามเป็นธรรมชาติ การเลือกทำ รากเทียมฟันหน้า จะเป็นทางเลือกในการใส่ฟันที่ดูคล้ายฟันธรรมชาติมากที่สุด
  2. ผู้ที่มีฟันแตก, หัก หรือผุมาก จนสมควรได้รับการถอนฟันซี่นั้นๆออกไป คุณควรจะทำ รากเทียม เพื่อทดแทนฟันธรรมชาติซี่ที่สูญเสียไป เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาฟันล้มเข้ามาในช่องว่างที่ฟันหลอ และกันไม่ให้ฟันคู่สบยื่นยาวจนรบกวนต่อระบบการบดเคี้ยว
  3. คุณต้องมีสภาพเหงือกในบริเวณที่จะทำ รากเทียม อยู่ในสภาพที่ดี ไม่มีการอักเสบหรือติดเชื้อ เนื่องจากสภาวะของเหงือกที่มีปัญหา จะทำให้การทำ รากเทียม ล้มเหลวได้
  4. ผู้ที่ไม่สามารถใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้ หรือใส่แล้วรำคาญ ฟันปลอมกดเจ็บ การทำรากฟันเทียมจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าในการใส่ฟันทดแทนซี่ที่สูญเสียไป
  5. ผู้ที่ต้องการใส่ฟันเพียงซี่เดียว และฟันข้างเคียงยังอยู่ในสภาพดี เนื่องจากการทำรากฟันเทียม ไม่ต้องยุ่งกับฟันซี่ข้างๆเลย แตกต่างกับการทำสะพานฟัน ที่ต้องกรอฟันซี่ข้างเคียงเพื่อเป็นหลักยึด
  6. ผู้ที่ใส่ฟันปลอมทั้งปาก แล้วประสบปัญหาฟันปลอมหลวม หลุดง่าย ในระหว่างการพูดและการบดเคี้ยว ซึ่งมีสาเหตุเนื่องมาจากสันกระดูกยุบตัวไปมาก (พบได้บ่อยในขากรรไกรล่างมากกว่าในขากรรไกรบน) การฝังรากเทียมเพื่อช่วยยึดฟันปลอม จะทำให้ฟันปลอมแน่นขึ้น

หากคุณเป็นผู้ที่เข้าข่ายใน 6 ข้อด้านบนนี้ การเข้ารับคำปรึกษาจากทันตแพทย์เฉพาะทางด้านรากฟันเทียม จะสามารถตอบโจทย์ในการใส่ฟันทดแทนของคุณ เพื่อให้คุณสามารถมีรอยยิ้มที่มั่นใจ และมีการบดเคี้ยวที่ได้ประสิทธิภาพค่ะ

= = = = = = = = = = = = = = = =

กลับสู่สารบัญ

รากฟันเทียมประเภทต่างๆ

รากฟันเทียม ประเภทต่างๆ

โดยมากรากฟันเทียม จะแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ

  1. การฝังรากเทียมแบบธรรมดา หรือ Conventional Implant
  2. การฝังรากเทียมแบบทันที หรือ Immediate Implant
  3. การฝังรากเทียม และใส่ครอบฟัน หรือสะพานฟันในวันเดียวกันนั้นเลย หรือ Immediate Loaded Implant

ซึ่งแต่ละแบบ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

การฝังรากเทียมแบบธรรมดา หรือ Conventional Implant

การฝังรากเทียมแบบนี้ ใช้ในกรณีที่มีฟันหายไป และมีสันเหงือกที่เกิดจากการถอนฟันที่หายดีแล้ว โดยทันตแพทย์ จะทำการประเมินลักษณะของสันเหงือกก่อน ว่าต้องมีการปลูกกระดูกร่วมด้วยหรือไม่ โดยหากมีการสูญเสียกระดูกรากฟันไปมาก อาจต้องมีการปลูกกระดูกเพิ่มเติม การปักรากเทียมวิธีนี้ ใช้ได้ทั้งในกรณีที่ฟันหายซี่เดียวหรือหลายซี่ มีข้อจำกัดน้อย ทำได้ทั้ง รากเทียมฟันหน้า และ รากเทียมฟันกราม

วิธีการทำรากเทียมประเภทนี้ จะแบ่งการรักษาเป็น 2 ช่วง คือ ทันตแพทย์จะฝังรากเทียมลงไปในกระดูกก่อน หลังจากนั้น จะรอให้กระดูกยึดกับรากเทียมประมาณ 3-6 เดือน แล้วจึงนัดมาใส่ครอบฟัน หรือฟันปลอมเพื่อยึดเข้ากับรากเทียม

การฝังรากเทียมแบบทันที หรือ Immediate Implant

คือการใส่รากฟันเทียมในวันเดียวกับที่มีการถอนฟัน ข้อดีของการทำรากเทียมด้วยวิธีนี้ คือเป็นการลดขั้นตอนและระยะเวลาในการรักษาลง และจะช่วยให้การละลายตัวของกระดูกรากฟัน เกิดขึ้นน้อย รวมถึงช่วยลดโอกาสในการเกิดเหงือกร่นภายหลังการปักรากเทียมด้วย

โดยทั่วไปการทำรากเทียมทันทีพร้อมกับการถอนฟัน จะเหมาะในผู้ที่มีสภาพกระดูกขากรรไกร และกระดูกเบ้าฟันสมบูรณ์ดี โดยตำแหน่งของฟันที่เหมาะในการรักษาด้วยวิธีนี้ คือ รากเทียมฟันหน้า หรือ รากเทียมฟันกรามน้อย และฟันซี่ที่จะถอนแล้วใส่รากเทียมเลย จะต้องไม่มีพยาธิสภาพปลายรากฟัน ไม่มีถุงหนอง รวมถึงต้องมีปริมาณกระดูกเพียงพอให้รากเทียมยึดเกาะด้วย

ทันตแพทย์จะทำการปักรากเทียมทันทีที่ถอนฟันซี่นั้นๆเสร็จ จากนั้น รอประมาณ 3-6 เดือน เพื่อให้รากฟันยึดติดกับกระดูกขากรรไกร แล้วค่อยนัดมาพิมพ์ปากเพื่อทำครอบฟัน หรือสะพานฟันทับบนรากฟันเทียม ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้ จำเป็นต้องให้ทันตแพทย์เฉพาะทางเป็นผู้ประเมินความเป็นไปได้ของการรักษา ก่อนการตัดสินใจทำเสมอ

การฝังรากเทียม และใส่ครอบฟัน หรือสะพานฟันในวันเดียวกันนั้นเลย หรือ Immediate Loaded Implant

คือการปักรากฟันเทียม ร่วมกับการครอบฟัน หรือทำสะพานฟันบนรากเทียมในวันเดียวกันนั้นเลย ข้อดีของการรักษาด้วยวิธีนี้ คือ ประหยัดเวลา และสามารถมีฟันได้เลยในวันนั้น เหมาะสมมากกับผู้ที่ต้องการทำ รากเทียมฟันหน้า เพื่อความสวยงามและความมั่นใจในรอยยิ้ม แต่ทั้งนี้ วิธีการปักรากเทียมดังกล่าวนี้ จำเป็นต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของคุณหมอเฉพาะทางรากเทียม เพื่อประเมินความเป็นไปได้ และผลสำเร็จของฟันแต่ละกรณีไป โดยต้องดูปัจจัยต่างๆมาประกอบกัน ได้แก่ ปริมาณของกระดูกเบ้าฟันที่มีอยู่, ลักษณะการสบฟัน, สุขภาพช่องปากโดยรวม รวมถึงความคาดหวังในการรักษา ว่าพอจะเป็นไปได้หรือไม่

= = = = = = = = = = = = = = = =

กลับสู่สารบัญ

บทสรุป – รากฟันเทียม

การทำรากฟันเทียม โดยเฉพาะ รากเทียมฟันหน้า จะช่วยเพิ่มความสะดวก และ ความมั่นใจในการใช้ชีวิต ในกรณีที่มีการสูญเสียฟันในช่องปากไป ซึ่ง ด้วยวิวัฒนาการปัจจุบันนี้ การทำรากฟันเทียมจะมีราคาที่สามารถเข้าถึงได้ อีกทั้ง ยังใช้เวลาในการรักษาไม่นาน รวมถึง มีความเจ็บปวดในการทำไม่มาก จึงนับเป็นทางเลือกในการใส่ฟันที่ดีที่สุดในปัจจุบันนี้ก็ว่าได้ แต่ทั้งนี้ การดูแลรักษาฟันธรรมชาติที่มีอยู่ให้ดี ไม่มีการผุจนต้องสูญเสียฟันไป ก็นับเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการดูแลสุขภาพช่องปาก

ด้วยความห่วงใยในสุขภาพช่องปากของทุกคน

= = = = = = = = = = = = = = = =

กลับสู่สารบัญ

คำถามที่พบบ่อย สำหรับการทำ รากฟันเทียม

ทำรากฟันเทียม เจ็บไหม

ความเจ็บที่เกิดจากการปักรากเทียมนั้น นับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับการถอนฟัน เนื่องจากเป็นกระบวนการที่ทันตแพทย์จะเปิดเหงือกเป็นแผลเล็กๆ และใส่รากฟันเทียมเข้าไป ทุกอย่างเกิดขึ้นภายใต้การใส่ยาชา จากนั้น กระบวนการในการพิมพ์ปากและใส่ฟัน ก็แทบจะไม่มีความรู้สึกเจ็บเลย

รากฟันเทียม ราคา แพงมากไหม

การทำรากฟันเทียม นับว่าราคาสูงเมื่อเทียบกับการใส่ฟันปลอมวิธีอื่นๆ แต่ด้วยยี่ห้อและชนิดที่หลากหลายมากขึ้นของรากฟันเทียม รวมถึงระบบการผ่อนชำระ และการแบ่งจ่ายเป็นงวดๆ ซึ่งแต่ละงวดจะห่างกันหลายเดือน ก็นับว่าเป็นทางเลือกที่อาจจะคุ้มราคา เมื่อเทียบกับผลลัพธ์เรื่องของความสวยงาม และความสะดวกสบายในการบดเคี้ยวที่มากกว่าฟันปลอมชนิดอื่นๆ

ทำรากเทียม จัดฟันได้ไหม

หากในช่องปากคุณมีรากเทียมอยู่ และคุณต้องการจะจัดฟัน ทันตแพทย์จะพิจารณาเคลื่อนฟันส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับรากเทียม เนื่องจากรากเทียมนั้น ไม่เหมือนรากฟันจริงๆ และไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยแรงจากการจัดฟัน

ถ้าฟันหายหลายซี่ ต้องปักรากเทียมทุกซี่เลยหรือไม่

หากฟันหายหลายซี่ในตำแหน่งที่ติดกัน ทันตแพทย์อาจพิจารณาปักรากเทียมแค่เพียงตำแหน่งหัว-ท้ายของช่องว่างที่ฟันหายไป และทำเป็นสะพานฟันบนรากฟันเทียม โดยที่คุณจะได้ผลลัพธ์ในการบดเคี้ยวที่ดีเหมือนเดิม แต่ประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น แต่ถ้าหากฟันที่หายไปอยู่ห่างๆกัน อาจต้องปักรากเทียมทุกตำแหน่งที่ฟันหายไปค่ะ

= = = = = = = = = = = = = = = =

กลับสู่สารบัญ

แผนที่ SmileDC คลินิกทันตกรรม-สำหรับการทำ รากฟันเทียม ทันตกรรมเด็ก และทันตกรรมเฉพาะทางทุกสาขา

SmileDC คลินิกทันตกรรมสมายล์ ของเรา ซึ่งเป็น คลินิกทันตกรรมเฉพาะทาง และคลินิกทันตกรรมเด็ก ให้บริการทันตกรรมเฉพาะทางทุกสาขา และทันตกรรมเด็กเฉพาะทาง ตั้งอยู่ใน เขตสะพานสูง ในโครงการดิไอเฟล บน ถนนคู่ขนานกาญจนาภิเษก ฝั่งตรงข้ามวัดลาดบัวขาว ใกล้กับสุเหร่าซีรอ (ซอยมิสทีน รามคำแหง) ค่ะ

แผนที่ SmileDC
แผนที่ SmileDC คลินิกทันตกรรมสมายล์

= = = = = = = = = = = = = = = =

กลับสู่สารบัญ

เวลาทำการ – คลินิกทันตกรรมสมายล์ เพื่อนัดหมายทำ รากฟันเทียม

จันทร์-เสาร์10:00 – 19:00 น.
อาทิตย์10:00 – 12:00 น.

= = = = = = = = = = = = = = = =

กลับสู่สารบัญ

สอบถามนัดหมาย – สำหรับทำ รากเทียม

โทร 096-942-0057 คลินิกทันตกรรม SmileDC
เฟสบุ๊คแชทหาเรา คลินิกทันตกรรม SmileDC
ไลน์แชทหาเรา คลินิกทันตกรรม SmileDC

กลับสู่สารบัญ

รากฟันเทียม ราคา เท่าไหร่?

รากฟันเทียม ราคา เท่าไหร่
ค่าบริการ-ทันตกรรม รากฟันเทียม

SmileDC คลินิกทันตกรรมสมายล์ ให้บริการการทำรากฟันเทียมหลายยี่ห้อ ทั้งนี้ ราคา รากฟันเทียม รวมครอบฟัน แต่ละยี่ห้อ คือ

Dentium และ Osstem รากฟันเทียม ราคา ซี่ละ 39,000 บาท
Neodent รากฟันเทียม ราคา ซี่ละ 49,000 บาท
Straumann รากฟันเทียม ราคา ซี่ละ 75,000 บาท

สามารถตรวจสอบ ราคา รากฟันเทียม รวมถึงอัตราค่าบริการทางทันตกรรมประเภทอื่นๆ ที่ SmileDC คลินิกทันตกรรมสมายล์ ได้ที่ปุ่มด้านล่างนี้เลยค่ะ

= = = = = = = = = = = = = = = =

กลับสู่สารบัญ