Post Views: 3,589
เคลือบหลุมร่องฟัน คืออะไร?! และมีประโยชน์อย่างไร?!
เคลือบหลุมร่องฟัน คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร
ความหมายของการ “เคลือบหลุมร่องฟัน“
เคลือบหลุมร่องฟัน หรือ เคลือบร่องฟัน (Dental Sealant) คือ การใช้วัสดุประเภท โพลีเมอร์ ที่มีคุณสมบัติ ในการยึดติดกับผิวฟัน มาผนึกลงไปในบริเวณของร่องฟันที่ลึก เพื่อทำให้ ลักษณะของหลุมร่องฟัน ที่ลึกนั้นตื้นขึ้น ส่งผลทำให้ง่าย ต่อการทำความสะอาดฟันซี่นั้นๆ โดยวัสดุที่นำมาใช้ใน การเคลือบร่องฟัน ดังกล่าว จะต้องเป็นวัสดุที่มีความปลอดภัยสูง มีการยึดเกาะกับผิวฟันแน่น ไม่หลุดง่าย และสามารถรับแรงเคี้ยวได้ดีพอสมควร
เคลือบหลุมร่องฟัน คืออะไร?!
การเคลือบหลุมร่องฟัน ถือเป็นทันตกรรมเชิงป้องกันที่มีราคาไม่แพง และสามารถป้องกันการเกิดฟันผุได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากเปรียบเทียบกับการรักษาฟันผุ ที่จะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่า เช่น การอุดฟันหรือการรักษารากฟัน ที่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการรักษารากฟันมาก ดังนั้น ทันตแพทย์สำหรับเด็ก มักจะแนะนำให้ผู้ปกครองรีบพาบุตรหลานมาเคลือบหลุมร่องฟัน เมื่อฟันกรามขึ้นมาในช่องปาก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อเนื้อฟัน
สารบัญ – เคลือบหลุมร่องฟัน
เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจด้านล่างนี้ค่ะ
การเคลือบหลุมร่องฟัน มีประโยชน์อย่างไร?
การเคลือบหลุมร่องฟัน ปกติแล้วในการทำฟันเด็ก คุณหมอฟันเด็กมักจะแนะนำให้ทำใน ฟันกรามน้ำนม และ ฟันกรามแท้ซี่แรก (First molar) ที่ขึ้นมาในช่องปาก ตอนอายุประมาณ 6 ขวบ เนื่องจากผู้ปกครอง มักไม่ทราบว่าฟันที่ขึ้นนั้นเป็นฟันแท้ เนื่องจาก ไม่ได้มีฟันน้ำนมซี่ไหนหลุดไป และเด็กๆมักจะทำความสะอาดไม่ถึง เคลือบหลุมร่องฟัน มีประโยชน์ดังนี้ คือ
1. เคลือบหลุมร่องฟัน ช่วยในการป้องกันฟันผุ
โดยเฉพาะบริเวณฟันกรามที่แปรงไม่ถึง เนื่องจากการเคลือบร่องฟัน จะช่วยป้องกัน ไม่ให้เศษอาหารและคราบจุลินทรีย์ตกลงไปในร่องฟันที่ลึกและแคบ ดังนั้นถ้าไม่มีอะไรตกลงไป ฟันจึงไม่ผุ
2. การเคลือบหลุมร่องฟัน สามารถใช้ในการป้องกันการลุกลามของฟันผุในระยะเริ่มแรกได้
การเกิดฟันผุ มีปัจจัยมาจากหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือ แบคทีเรียย่อยสลายอาหารน้ำตาล และเกิดกรดออกมากัดผิวฟัน การเคลือบหลุมร่องฟัน จะช่วยกำจัดปัจจัยเรื่องของเศษอาหาร ทำให้รอยผุที่เกิดขึ้นน้อยๆ หยุดลง และไม่พัฒนาลุกลามต่อ โดยหมอฟันเด็กอาจพิจารณาใช้การเคลือบหลุมร่องฟัน เป็นวิธีการรักษาแทนได้
3. เคลือบหลุมร่องฟัน มีส่วนช่วยให้ทำความสะอาดฟันได้ง่ายขึ้น
เนื่องจากฟันที่ เคลือบหลุมร่องฟันแล้ว จะมีลักษณะพื้นผิวที่เรียบและลื่น ไม่มีร่องหลุมที่ลึกยากต่อการทำความสะอาด ซี่ฟันที่ผ่านการเคลือบร่องฟันมาแล้ว จึงแปรงให้สะอาดได้ง่ายขึ้น
ใครควร “เคลือบหลุมร่องฟัน” บ้าง?
การเคลือบหลุมร่องฟันสามารถทำได้ ในกรณีดังต่อไปนี้ค่ะ
✔ ฟันกรามแท้ และฟันน้ำนมซี่ใน ที่มีลักษณะร่องฟันลึกและแคบ
เป็นข้อบ่งชี้ ในการเคลือบหลุมร่องฟัน โดยเฉพาะ ในเด็กที่มีกล้ามเนื้อมัดเล็กยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ซึ่งจะแปรงฟันได้ไม่สะอาดเท่าที่ควร การเคลือบร่องฟัน จะทำให้การทำความสะอาดบริเวณฟันกรามซี่ใน ที่เข้าถึงยาก เป็นไปได้ง่ายมากขึ้น
✔ ฟันกรามน้อย และฟันหน้าบางซี่
ทันตแพทย์ จะแนะนำให้ทำการเคลือบหลุมร่องฟัน บริเวณฟันกรามน้อย และฟันหน้าในคนที่มีโอกาสเกิดฟันผุง่าย เช่น ผู้ที่ใส่เครื่องมือจัดฟัน หรือผู้ที่ยังแปรงฟันไม่ค่อยสะอาด
✔ ในผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยง ในการเกิดฟันผุสูงๆ
ทันตแพทย์อาจแนะนำ การเคลือบหลุมร่องฟันเพื่อใช้ป้องกันฟันผุ ในกลุ่มผู้ที่ได้รับการรักษาโดยการฉายแสง กลุ่มผู้ที่มีน้ำลายคุณภาพไม่ดีหรือน้ำลายน้อย กลุ่มผู้ที่มีเนื้อฟันผิดปกติ หรือผู้ที่มีอุบัติการณ์เกิดฟันผุสูงๆ วิธีการเคลือบร่องฟัน จะช่วยลดการเกิดฟันผุ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
✔ ผู้ที่รับการรักษาด้วยการจัดฟัน
การติดเครื่องมือจัดฟันชนิดติดแน่น จะทำให้มีเศษอาหารไปติดสะสมในฟันมากขึ้น และทำความสะอาดออกได้ยาก รวมถึงผู้ที่มีเครื่องมือจัดฟันในปาก จะแปรงฟันได้ยากขึ้นด้วย ทันตแพทย์เฉพาะทางจัดฟัน มักจะแนะนำให้ทำการเคลือบหลุมร่องฟันก่อนที่จะนัดหมายเพื่อติดเครื่องมือจัดฟัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดฟันผุระหว่างจัดฟันค่ะ
✔ ในกลุ่มเด็กพิเศษ หรือผู้ที่ต้องได้รับการดูแลพิเศษ
การเคลือบหลุมร่องฟัน เป็นวิธีที่แนะนำอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กเหล่านี้ เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้มีความเสี่ยงในการเกิดฟันผุสูงมาก ทั้งจากปัจจัยเรื่องของการแปรงฟันยาก และยาที่ต้องได้รับเป็นประจำบางขนิด ที่มีรสหวาน อีกทั้ง การรักษาฟันผุในกลุ่มเด็กพิเศษ จะทำได้ยากมากๆ การให้ทันตกรรมป้องกัน จึงเป็นสิ่งที่สมควรทำเป็นอย่างมาก
การเคลือบหลุมร่องฟัน ควรทำเมื่อไหร่?
สำหรับคำถามที่ว่า การเคลือบหลุมร่องฟัน ควรทำเมื่อไหร่นั้น คำแนะนำของทันตแพทย์เด็กโดยทั่วไป คือ สามารถทำการ เคลือบหลุมร่องฟันได้ เมื่อฟันน้ำนม หรือฟันแท้ซี่นั้นๆ ได้ขึ้นมาเต็มทั้งซี่ฟันแล้ว ทั้งนี้เพราะ ฟันที่ยังขึ้นมาไม่เต็มซี่ คุณหมอฟันเด็กจะไม่สามารถกั้นน้ำลายได้อย่างเต็มที่ และไม่ได้ประโยชน์สูงสุดจากการทำการเคลือบหลุมร่องฟันค่ะ
เคลือบหลุมร่องฟัน – ไม่ควรทำกรณีฟันยังขึ้นมาไม่เต็มซี่
(ที่มาของรูป)
แต่ทั้งนี้ ในกรณีของเด็กที่มีความเสี่ยงในการเกิดฟันผุสูงมากๆ ถึงแม้ฟันจะยังขึ้นไม่เต็มซี่ ทันตแพทย์เด็ก ก็อาจจะพิจารณาใช้วัสดุเคลือบหลุมร่องฟันประเภทกลาสไอโอโนเมอร์ ที่มีความอ่อนไหวต่อความชื้นต่ำ คือ สามารถยึดติดได้แม้ฟันจะยังมีเหงือกปกคลุมอยู่ รวมถึงมีความสามารถในการปลดปล่อยฟลูออไรด์ มาเคลือบหลุมร่องฟันในฟันกรามที่ยังขึ้นไม่เต็มซี่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดฟันผุ
นอกจากนี้ คำแนะนำจากคุณหมอฟันเด็ก สำหรับการเคลือบหลุมร่องฟัน โดยแบ่งตามลำดับการขึ้นของซี่ฟัน ทั้งฟันน้ำนมและฟันแท้ ตามอายุของเด็กๆ ที่คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองสามารถใช้อ้างอิงได้ ดังต่อไปนี้ค่ะ
สำหรับเด็กเล็ก (อายุ 3-4 ปี)
เด็กเล็ก ในช่วงอายุ 3-4 ปี สามารถทำการเคลือบหลุมร่องฟัน ได้ในฟันกรามน้ำนมซึ่งจะขึ้นครบทุกซี่
สำหรับเด็กปฐมวัย (อายุ 6-7 ปี)
เด็กปฐมวัย ในช่วงอายุ 6-7 ปี สามารถทำการเคลือบหลุมร่องฟัน ได้ในฟันกรามแท้ซี่แรกขึ้นในช่องปาก
สำหรับเด็กโต (อายุ 10-13 ปี)
เด็กโต ในช่วงอายุ 10-13 ปี สามารถทำการเคลือบหลุมร่องฟัน ได้ในฟันกรามน้อยและฟันกรามแท้ซี่ที่ 2 ซึ่งจะขึ้นมาในช่วงอายุประมาณ 12 ปี
เคลือบหลุมร่องฟัน มีขั้นตอนอย่างไร?
สำหรับขั้นตอน การเคลือบหลุมร่องฟัน โดยคุณหมอฟันเด็ก จะมีขั้นตอนคร่าวๆ ดังต่อไปนี้
1. ทันตแพทย์เด็ก หรือหมอฟันเด็ก จะทำการขัดฟันให้สะอาด
อาจมีการใช้หัวขัดสำหรับขัดฟัน หรือใช้เครื่องมือปลายแหลม เขี่ยเอาคราบจุลินทรีย์ ที่ติดตามร่องฟันออกให้เกลี้ยง
2. ต่อมา ทันตแพทย์เด็ก จะทำการกั้นน้ำลาย
โดยคุณหมอฟันเด็ก ทำการกั้นน้ำลาย ก่อนการใช้กรดกัดที่ผิวฟัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่ออ่อน
3. ทันตแพทย์เด็กจะทำการกัดผิวฟันด้วยกรดความเข้มข้นไม่สูง
ที่นิยมคือกรดฟอสฟอริค ความเข้มข้น 37% เป็นเวลาประมาณ 15 – 20 วินาที เพื่อให้ผิวฟันเป็นรูพรุน อันจะทำให้วัสดุเคลือบหลุมร่องฟันไหลลงไปตามรูเหล่านี้ และผนึกแน่นอยู่กับผิวฟัน
4. ถัดมา ทันตแพทย์สำหรับเด็ก จะทำการล้างน้ำทำความสะอาดฟันซี่ที่ต้องการ เคลือบหลุมร่องฟัน
เพื่อกำจัดกรดออกจากผิวฟันให้เกลี้ยง ใช้เวลาประมาณ 15 วินาที โดยมีผู้ช่วยทันตแพทย์ ใช้ที่ดูดน้ำลายดูดน้ำและกรดออก
5. ทันตแพทย์เด็ก จะทำการกั้นน้ำลายอีกครั้ง
เพื่อไม่ให้น้ำลายเข้ามาขัดขวาง การยึดติดระหว่าง วัสดุที่ใช้สำหรับ เคลือบร่องฟัน กับผิวฟัน หากทันตแพทย์สามารถควบคุมความชื้นได้ 100% โอกาสที่วัสดุเคลือบหลุมร่องฟันจะยึดติดกับผิวฟันจะสูงมาก แต่ถ้าหากทันตแพทย์กั้นน้ำลายได้ไม่ดี วัสดุเคลือบร่องฟันจะหลุดได้ง่าย
6. ในขั้นตอนถัดไป ทันตแพทย์จะเป่าลมเพื่อให้ฟันแห้งสนิท
โดยฟันที่เหมาะสมในการเคลือบหลุมร่องฟัน จะมีลักษณะสีขาวขุ่น
7. คุณหมอฟันเด็ก จะทาวัสดุเคลือบร่องฟันลงไปบนฟัน
โดยจะทาให้ครอบคลุมทุกร่องฟันที่ลึก ตามลักษณะทางกายวิภาคของฟันซี่นั้นๆ
8. จากนั้นทันตแพทย์เด็ก จะฉายแสงสีฟ้า
โดยมีระยะเวลาในการฉาย 20 – 40 วินาที เพื่อให้วัสดุเคลือบร่องฟัน แข็งตัวได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้ในกระบวนการทั้งหมด ไม่ควรมีน้ำลายหรือความชื้นอื่นใด มารบกวนในกระบวนการแข็งตัวของวัสดุที่ใช้เคลือบหลุมร่องฟัน
9. ทันตแพทย์จะเช็ควัสดุเคลือบหลุมร่องฟัน
เพื่อตรวจเช็ค ความแข็งตัว ว่ามีพื้นผิวเรียบดีหรือไม่ หากมีฟองอากาศ หรือ มีลักษณะขรุขระไม่เรียบ ทันตแพทย์จะทำการเติมวัสดุลงไปอีกครั้ง
10. หลังจากนั้น คุณหมอฟันเด็ก อาจจะล้างน้ำที่ผิวฟันอีกรอบ
หรือให้เด็กลุกขึ้นมาบ้วนน้ำ เนื่องจากวัสดุเคลือบร่องฟันที่แข็งตัวแล้ว จะมีรสชาดค่อนข้างขม
11. สุดท้าย คุณหมอฟันเด็กจะทำการตรวจเช็คการสบฟัน
ว่ามีวัสดุที่สูงหรือค้ำ อันจะส่งผลต่อการบดเคี้ยวตามปกติหรือไม่ ถ้ามีจะต้องกรอแก้ออกให้เรียบร้อย
หลัง “เคลือบหลุมร่องฟัน” ควรปฏิบัติอย่างไร?
คำแนะนำภายหลังจาก เคลือบหลุมร่องฟัน
เนื่องจาก การเคลือบหลุมร่องฟัน ส่วนใหญ่แล้ว จะใช้วัสดุที่แข็งตัวด้วยแสง รวมถึงทันตแพทย์ ต้องทำการตรวจเช็คจนแน่ใจว่า วัสดุดังกล่าวแข็งตัว 100% จึงไม่ต้องงดน้ำ หรือ อาหารภายหลังทำ ผู้ที่ได้รับการเคลือบร่องฟัน สามารถเคี้ยวอาหาร ดื่มน้ำ แปรงฟัน และทำกิจกรรมต่างๆได้ตามปกติเลยทันที หลังเคลือบเสร็จ
ภายหลังการเคลือบหลุมร่องฟัน เด็กจะมีความรู้สึกว่าผิวของฟัน เรียบและลื่นมากขึ้น เนื่องจากบริเวณร่องและหลุมของฟันที่เคยมีลักษณะขรุขระ จะถูกปิดด้วยวัสดุที่ทันตแพทย์ใช้เคลือบร่องฟัน
ข้อจำกัดของการเคลือบหลุมร่องฟัน
การเคลือบหลุมร่องฟัน เป็นการรักษาทางทันตกรรมป้องกันที่ง่าย ได้ผลสำเร็จในการป้องกันฟันผุสูง ใช้เวลาไม่นาน ค่าใช้จ่ายไม่แพง และไม่มีความเจ็บปวดใดๆ แต่ในบางกรณี อาจไม่เหมาะที่จะทำการเคลือบหลุมร่องฟัน ดังเช่นในกรณีดังต่อไปนี้
- ฟันที่มีรอยผุลุกลามมากแล้ว : อาจต้องให้การรักษาด้วยการอุดฟัน แทนการเคลือบหลุมร่องฟัน
- เด็กเล็กที่ไม่ให้ความร่วมมือ หรือผู้ที่ไม่สามารถกั้นน้ำลายได้ : เนื่องจากวัสดุเคลือบหลุมร่องฟัน มีความอ่อนไหวต่อความชื้นมาก การกั้นน้ำลายไม่ได้ หรือมีน้ำลายมาปนเปื้อนระหว่างการทำ อาจทำให้เคลือบไม่อยู่ และได้รับประโยชน์จากการเคลือบหลุมร่องฟันไม่เต็มที่
- ฟันซี่ที่อุด หรือครอบมาแล้ว : รอยผุ ไม่สามารถเกิดขึ้นได้บนวัสดุอุดฟัน ถ้าไม่มีเนื้อฟันธรรมชาติ ก็ไม่จำเป็นต้องทำการเคลือบหลุมร่องฟัน
- ฟันที่สึกมาก จนไม่มีร่องและหลุมที่ลึก : เนื่องจากฟันที่สึกมาก บริเวณร่องและหลุมจะตื้น และไม่เป็นที่กักเก็บของเศษอาหารอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องทำการเคลือบหลุมร่องฟันซ้ำอีก
เคลือบหลุมร่องฟัน มีกี่ประเภท?
การเคลือบหลุมร่องฟัน จะแบ่งเป็นประเภทต่างๆได้ 3 แบบด้วยกัน คือ
1. เคลือบด้วยวัสดุชนิดเรซิน
การเคลือบหลุมร่องฟันด้วยวัสดุชนิดนี้ เป็นที่นิยมที่สุดในการทำฟันเด็ก เนื่องจากวัสดุมีการยึดติดกับตัวฟันดี มีความแข็งแรง ทนทานต่อการบดเคี้ยวได้ ดังนั้น จึงสามารถป้องกันการเกิดฟันผุได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัสดุที่ใช้ คือโพลิเมอร์ที่ไม่มีอันตรายต่อร่างกาย และสามารถแข็งตัวได้ด้วยการฉายแสง โดยฟันที่ผ่านการเคลือบร่องฟันโดยวัสดุตัวนี้ จะมีเส้นสีขาวปรากฎอยู่บริเวณผิวหน้าของฟัน แต่ทั้งนี้ วัสดุเรซินบางยี่ห้อ จะมีสีใส ซึ่งจะตรวจพบว่ามีการเคลือบร่องฟันไว้แล้วหรือยัง โดยการใช้วัสดุปลายแหลมเขี่ยดูว่าฟันมีผิวเรียบและลื่น
2. เคลือบด้วยวัสดุชนิดกลาสไอโอโนเมอร์
การใช้วัสดุกลาสไอโอโนเมอร์ในการเคลือบหลุมร่องฟัน มักนิยมในกรณีที่ฟันยังขึ้นมาไม่เต็มซี่ อาจมีเหงือกบางส่วนปกคลุมตัวฟันอยู่ ทำให้ไม่สามารถกันน้ำลยและความชื้นจากเหงือกได้ 100% ทำให้วัสดุชนิดเรซินไม่สามารถยึดติดได้อย่างสมบูรณ์
เนื่องจากวัสดุกลาสไอโอโนเมอร์ เป็นวัสดุที่มีความอ่อนไหวต่อความชื้นต่ำ จึงสามารถยึดติดกับตัวฟันที่ยังขึ้นมาบางส่วนได้ ทันตแพทย์สำหรับเด็ก มักจะใช้วัสดุชนิดนี้ ในการเคลือบหลุมร่องฟันในเด็กที่มีอัตราการเกิดฟันผุสูงๆ เพราะถ้าหากรอจนฟันขึ้นมาเต็มซี่ อาจจะเกิดฟันผุขึ้นมาก่อนได้ค่ะ
ผู้ปกครองจะทราบได้อย่างไร ว่าตัวฟัน ได้รับการเคลือบร่องฟันด้วยวัสดุตัวนี้ คำตอบคือ บริเวณด้านบดเคี้ยวของฟัน จะมีวัสดุสีส้มอมชมพูทาทับอยู่ค่ะ แต่ทั้งนี้ วัสดุกลาสไอโอโนเมอร์ เป็นวัสดุที่หลุดร่อนได้ง่ายกว่าวัสดุเรซิน และมีความทนทานต่อการสึกกร่อนน้อยกว่าโพลิเมอร์ ทันตแพทย์สำหรับเด็ก จึงมักจะนัดหมายมาเปลี่ยนเป็นวัสดุเรซินเมื่อฟันขึ้นเต็มซี่แล้ว
3. เคลือบพร้อมกับการอุดฟัน
ในกรณีที่มีฟันผุเกิดขึ้นแล้วบางส่วน ทันตแพทย์จะใช้วิธีการอุดฟันเฉพาะจุดที่มีการผุ และเนื้อฟันส่วนที่ยังไม่ผุ จะใช้การเคลือบหลุมร่องฟันปิดทับไปเลย โดยมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้เนื้อฟันที่ยังไม่ผุ เกิดปัญหาฟันผุขึ้นมา
โดยส่วนใหญ่วัสดุที่เลือกใช้ จะเป็นสารเคลือบร่องฟันชนิดเรซิน ที่แข็งตัวโดยการฉายแสง เพราะเป็นวัสดุชนิดเดียวกับที่ใช้ในการอุดฟัน
และผู้ปกครองจะสามารถสังเกตได้ว่ามีวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันติดอยู่ที่เนื้อฟัน โดยจะเห็นเป็นเส้นสีขาวที่บริเวณด้านบดเคี้ยวของฟัน แต่อย่างที่กล่าวไปข้างต้น วัสดุชนิดเรซิน บางยี่ห้อก็จะมีสีใสค่ะ
เคลือบหลุมร่องฟัน ราคา เท่าไหร่?
สำหรับคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอัตราค่าบริการ เคลือบหลุมร่องฟัน ราคา เท่าไหร่? คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครอง สามารถดูได้ในตารางด้านล่างนี้ค่ะ และสำหรับ ค่าบริการทางทันตกรรมเด็กด้านอื่นๆ สามารถกดดูได้จากการกด ปุ่มด้านล่างตารางนี้นะคะ ขอบพระคุณมากค่ะ
บริการทันตกรรมเด็ก | ค่าบริการ (บาท) |
เคลือบหลุมร่องฟัน (ต่อซี่) | 800 |
ตาราง: ค่าบริการ เคลือบหลุมร่องฟันราคา เท่าไหร่?
เคลือบหลุมร่องฟัน ราคา เท่าไหร่?
บทสรุป – เคลือบหลุมร่องฟัน
การเคลือบหลุมร่องฟัน เป็นวิธีทางทันตกรรมป้องกันที่ทำได้ไม่ยาก ใช้เวลาสั้น เพียง 1-2 นาทีต่อซี่ และสามารถป้องกันฟันผุได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นเด็กทุกคนควรได้รับคำแนะนำให้เคลือบร่องฟัน โดยเฉพาะในฟันกรามแท้ ที่เป็นฟันหลักในการบดเคี้ยว
วิธีการเคลือบหลุมร่องฟันนี้ นับเป็นงานทันตกรรมป้องกัน ที่ทำได้ง่าย ค่าใช้จ่ายไม่แพง ไม่มีความเจ็บปวดใดๆ และสามารถป้องกันฟันผุได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทันตแพทย์เด็ก หรือ คุณหมอฟันเด็ก มักจะแนะนำให้ทำ เพื่อลดโอกาสในการเกิดฟันผุ สามารถทำได้ทั้งฟันแท้ และฟันน้ำนม ที่มีความเสี่ยงในการเกิดรอยผุค่ะ
คำถามที่พบบ่อย – เคลือบหลุมร่องฟัน
เคลือบหลุมร่องฟัน-คืออะไร? เคลือบหลุมร่องฟัน หรือ เคลือบร่องฟัน (Dental Sealant) คือ การใช้วัสดุประเภท โพลีเมอร์ ที่มีคุณสมบัติ ในการยึดติดกับผิวฟัน มาผนึกลงไปในบริเวณของร่องฟันที่ลึก เพื่อทำให้ ลักษณะของหลุมร่องฟัน ที่ลึกนั้นตื้นขึ้น ส่งผลทำให้ง่าย ต่อการทำความสะอาดฟันซี่นั้นๆ โดยวัสดุที่นำมาใช้ใน การเคลือบร่องฟัน ดังกล่าว จะต้องเป็นวัสดุที่มีความปลอดภัยสูง มีการยึดเกาะกับผิวฟันแน่น ไม่หลุดง่าย และสามารถรับแรงเคี้ยวได้ดีพอสมควร
เคลือบหลุมร่องฟัน-อยู่ได้นานแค่ไหน? โดยปกติแล้ว วัสดุที่ใช้ในการเคลือบหลุมร่องฟัน จะสามารถอยู่ได้นาน 2-5 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งานเป็นสำคัญ แม้ว่าวัสดุที่ใช้ในการเคลือบหลุมร่องฟัน จะอยู่ได้ค่อนข้างนานหลายปี คำแนะนำคือ ควรพาเด็กๆ ไปรับการตรวจเช็คอย่างสม่ำเสมอในทุกๆ 6 เดือน เพื่อดูว่าวัสดุที่ใช้เคลือบนั้น ยังมีสภาพสมบูรณ์ดีอยู่หรือไม่ ซี่งในกรณีที่มีส่วนสึกหายไป คุณหมอฟันเด็ก จะทำการซ่อมแซมให้ใหม่ค่ะ
เคลือบหลุมร่องฟัน-ทำในผู้ใหญ่ได้หรือไม่? การเคลือบหลุมร่องฟัน สามารถทำในผู้ใหญ่ได้ โดยทันตแพทย์อาจแนะนำให้ทำกรณีที่มีหลุมร่องฟันลึกๆที่เศษอาหารมักลงไปติดบ่อยๆ แต่จะพบน้อยกว่าในเด็ก เนื่องจากเด็กๆ มีกล้ามเนื้อที่ยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ประกอบกับฟันที่อยู่ซี่ในๆ ทำความสะอาดได้ยาก ยิ่งถ้ามีหลุมร่องฟันลึก คุณหมอฟันเด็ก มักจะแนะนำให้ทำการเคลือบหลุมร่องฟัน เพื่อช่วยให้ทำความสะอาดได้ง่ายขึ้น และช่วยลดโอกาสเกิดฟันผุนั่นเองค่ะ
เคลือบหลุมร่องฟัน ราคา เท่าไหร่? สำหรับคำถามที่ว่า เคลือบหลุมร่องฟัน ราคา เท่าไหร่? นั้น อัตราค่าบริการในการให้บริการ เคลือบหลุมร่องฟัน โดยทันตแพทย์เด็กเฉพาะทาง จะอยู่ที่ 600 บาทต่อซี่ค่ะ ซึ่งคุณหมอฟันเด็กจะทำการเคลือบหลุมร่องฟัน ด้วยวัสดุโพลีเมอร์ผนึกลงไปในบริเวณของร่องฟันที่ลึก เพื่อทำให้ ลักษณะของหลุมร่องฟัน ที่ลึกนั้นตื้นขึ้น ส่งผลทำให้ง่าย ต่อการทำความสะอาดฟันซี่นั้นๆค่ะ
รีวิวจากลูกค้าที่มาใช้บริการ
อ่านรีวิวจากลูกค้าที่มาใช้บริการด้านล่างนี้ได้เลยนะคะ
คุณหมอใจดีมากค่ะ ลูกสาวเคยไปคลินิกอื่น ร้องไห้และกลัวมากๆ เลยเปลี่ยนมาเป็นที่นี่ คุณหมอใจดีมีเทคนิคหลายๆอย่างทำให้เด็กไม่กลัวค่ะ ประทับใจมากค่ะ
Aom Bunpatananon
/ Facebook
คุณหมอโบว์ใจดีมากๆและใจเย็นสุดๆค่ะ
แนะนำเลยคร้า
Patcharin Promsuwan
/ Facebook
ถ้ายังตัดสินใจที่จะพาลูกหลาน ไปคลีนิคที่ไหนดีแม่แนะนำที่นี่ ที่เดียวเลยค่ะ ทุกอย่าง ทุกเรื่อง คือดีมาก ถ้าจะให้บรรยายคงยาวมาก เอาเป็นว่า”เข้ามาใช้บริการ แล้วประทับใจมากๆ จะเลือกมาที่นี่เป็นที่แรก และที่เดียวค่ะ
Joy Fully Khanthip
/ Facebook
คุณหมอใจดีมากค่ะ พาลูกมาถอนฟัน น้ำนมทั้ง 2 คน ถอนทีเดียวคนละ 2 ซี่ ไม่ร้องเลย
Zap Ao Channapa
/ Facebook
คุณหมอใจดีมากค่ะ น้องเชื่อฟังคุณหมอมาก ชอบมาหาคุณหมอฟันที่นี่ที่สุด
Kan Srinate
/ Facebook
คุณหมอใจดี มือเบา น้องเน็กซ์ยังไม่เคยร้องเลย
Piyaporn Kullathamnate
/ Facebook
คุณหมอและพี่ๆน่ารักมากๆค่ะ
ตัดสินใจถูกมากค่ะที่มาที่นี่
นารินทร์ วงศ์สวัสดิ์
/ Facebook
คุณหมอโบว์ ใจดี ใจเย็น
มีของเล่นกลับบ้านด้วย
ลูกชาย 3ขวบ ไม่ร้องไห้เลย
นอนคุยกับหมอสบายไป
Prae Thunthita
/ Facebook
พี่ๆทุกคน พูดจาเพราะ ยิ้มแย้ม คุณหมอแนะนำดี สถานที่สะอาด สวย ชอบค่าาา..
Maytinee Yamlamai
/ Facebook
คุณหมอน่ารักมากกก มีวิธีพูดคุยไม่ให้เด็กกลัว ไม่เคยทำที่ไหนแล้วรู้สึกโอเคเท่าที่นี่เลยค่ะ
Noo'ya Dalee
/ Facebook
คุณหมอใจดีมากๆค่ะ ให้คำแนะนำ การดูแลอย่างดีค่ะ
Parichart Mungfoiklang
/ Facebook
ทำฟันที่นี่คุณหมอน่ารักมากๆค่ะ เด็กๆ ไม่กลัวเลย ทำฟันแล้วมีของเล่นให้เด็กอีกด้วยค่ะ
Yok Panyaphonpiya
/ Facebook
รูปเด็กๆที่มาใช้บริการ
ขอขอบพระคุณ คุณพ่อคุณแม่สำหรับความไว้วางใจให้ Smile DC คลินิกทันตกรรมสมายล์ดูแลสุขภาพฟันของน้องๆนะคะ
รูปเด็กๆที่มาหา หมอฟันเด็ก เพื่อ ทำฟันเด็ก
เคลือบหลุมร่องฟัน โดยหมอฟันเด็กของเรา
คุณหมอฟันเด็กของเรา เป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์และให้ บริการทันตกรรม ในการตรวจและรักษาฟันของเด็กๆ อุ่นใจด้วยบริการทำฟันเด็กครอบคลุมในทุกด้านแบบครบวงจร (One-Stop Service) คุณหมอฟันเด็กประจำคลินิกของเรา มีจิตวิทยาในการโน้มน้าวให้เด็กยอมรับการทำฟัน และไม่กลัวในการมาพบหมอฟันเด็ก คุณหมอฟันเด็กใจดี มือเบา เด็กๆรัก และมีของเล่นกลับบ้าน ให้กับเด็กๆ ทุกคนค่ะ สามารถตรวจสอบ ค่าบริการทันตกรรมเด็ก ได้ในเว็บไซต์ หรือสอบถามได้ที่คลินิกนะคะ
ผศ.ทพญ.อาวีพรรณ โกวิทย์สมบูรณ์
(หมอโบว์)
ทพ. เพิ่มพูน เจริญทำนุกิจ
(หมอเจ)
เวลาออกตรวจ
- ทุกวันจันทร์
- วันพุธสัปดาห์ที่ 1 และ 3 ของเดือน
ทพญ. อัญชนา อารีธรรมศิริกุล
(หมอโบว์)
เวลาออกตรวจ
- ทุกวันอังคาร
- วันศุกร์สัปดาห์ที่ 1, 3 และ 5 ของเดือน
- วันเสาร์สัปดาห์ที่ 3 และ 4 ของเดือน
ทพญ. วราภา เหรียญพิทักษ์กุล
(หมอกุ๊ก)
ทพญ. พรรณี กลลดาเรืองไกร
(หมอซัง)
เวลาออกตรวจ
- ทุกวันพฤหัส
- วันพุธสัปดาห์ที่ 2 และ 4 ของเดือน
- วันเสาร์สัปดาห์ที่ 1, 3 และ 5 ของเดือน
อ.ดร.ทพญ.ศิวาพร หอโสภณพงษ์
(หมอยุ้ย)
ทพญ.นวพรรณ รัตนภักดีกุล
(หมอพิม)
เวลาออกตรวจ
- วันเสาร์สัปดาห์ที่ 1, 2 และ 3 ของเดือน
- ทุกวันอาทิตย์
ทพญ.ศรัณย์พร เลื่องชัยเชวง
(หมอแอน)
ทพญ.ณัฐณิชา นามพิมพ์
(หมอจูเนียร์)
เวลาออกตรวจ
- ทุกวันศุกร์สัปดาห์ที่ 2 และ 4 ของเดือน
- ทุกวันเสาร์สัปดาห์ที่ 3 ของเดือน
ทพญ.ปาลิตา โลกโบว์
(หมอจ๊ะโอ๋)
เวลาออกตรวจ
- ทุกวันเสาร์สัปดาห์ที่ 1 และ 4 ของเดือน
- ทุกวันอาทิตย์สัปดาห์ที่ 1, 3 และ 4 ของเดือน
ทพญ.วันวิสาข์ เล็กอาราม
(หมอการ์ตูน)
เวลาออกตรวจ
- ทุกวันเสาร์สัปดาห์ที่ 3 ของเดือน
- ทุกวันอาทิตย์
ทพญ.ดนุธิดา สาเขตร์
(หมอต๋าว)
แผนที่
SmileDC คลินิกทันตกรรมสมายล์ ตั้งอยู่ในโครงการดิไอเฟล บนถนนคู่ขนานกาญจนาภิเษก เขตสะพานสูง/รามคำแหง ฝั่งตรงข้ามวัดลาดบัวขาว ใกล้กับสุเหร่าซีรอ (ซอยมิสทีน รามคำแหง) นะคะ สามารถดูแผนที่ และกดปุ่มด้านล่างเพื่อนำทางด้วย Google Maps มายังคลินิกของเราได้เลยค่ะ
แผนที่ SmileDC คลินิกทันตกรรมสมายล์
ในกรณีที่คุณลูกค้า มีคำถามเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถาม หรือ ทำนัดหมายได้ ทางช่องทาง ดังต่อไปนี้ค่ะ
หน้าที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง – เคลือบหลุมร่องฟัน