ลูกมีกลิ่นปาก ทำอย่างไรดี

ลูกมีกลิ่นปาก ทำอย่างไรดี? สาเหตุและวิธีแก้ไข

แก้ไขล่าสุด 31/05/2024

“กลิ่นปาก” เป็นภาวะที่ไม่พึงประสงค์สำหรับทุกคน ตามปกติแล้ว ช่องปากของเด็กจะต้องมีกลิ่นหอม แบบที่คุณพ่อคุณแม่สามารถดมได้อย่างสบายใจ เนื่องจากเด็กนั้นยังไม่ได้กินอาหารหลากหลายชนิดเหมือนกับผู้ใหญ่ รวมถึงเชื้อในช่องปากของเด็กที่มักจะมีปริมาณน้อยและไม่รุนแรง ทำให้กลิ่นที่ออกมาจากปากของเด็กนั้น “หอมชื่นใจ”

สาเหตุที่ทำให้ “ลูกมีกลิ่นปาก” มาจากอะไร?

ถ้าเกิดเหตุการณ์ “ลูกมีกลิ่นปาก” ขึ้นมา ถึงแม้จะให้ไปแปรงฟันก็แล้ว ให้ไปบ้วนน้ำยาบ้วนปากก็แล้ว กลิ่นปาก ก็ยังไม่ดีขึ้น สาเหตุของการมี กลิ่นปาก มักจะมาจากสาเหตุ ดังต่อไปนี้ค่ะ

  1. ฟันผุ – เป็นสาเหตุลำดับต้นๆ ที่ทำให้เกิด กลิ่นปาก เนื่องจากฟันผุนั้น คือสภาวะที่เนื้อฟันเกิดการเปลี่ยนสภาพไป มีการสะสมของเศษอาหาร รวมถึงบางกรณีที่ผุมากจนเป็นหนอง ทำให้ช่องปากของเด็กส่งกลิ่นแปลกๆออกมาได้
  2. เหงือกอักเสบ – กลิ่นที่เกิดจากการสะสมของคราบจุลินทรีย์(ชื่อเล่นว่า ขี้ฟัน) ก็สามารถทำให้เกิด กลิ่นปาก ได้ ยิ่งถ้าหากมีการสะสมของคราบหนาๆ จนกลายเป็นหินปูน กลิ่นก็จะยิ่งทวีคูณเพิ่มขึ้นมาอีก ในบางครั้ง จะเห็นมีคราบสีส้มๆเกาะที่ตัวฟัน และมีกลิ่นเหม็นมาก นั่นก็เพราะว่าคราบสีส้มดังกล่าว เกิดมาจากเชื้อแบคทีเรียที่สามารถผลิตก๊าซไข่เน่าได้นั่นเอง
  3. ภาวะปากแห้ง น้ำลายน้อย – บางครั้งเด็กที่ดื่มน้ำไม่เพียงพอ จะทำให้ผลิตน้ำลายออกมาได้น้อยลง รวมถึงน้ำลายก็จะมีลักษณะเหนียวข้น ไม่สามารถชะล้างคราบหรือเชื้อโรคที่ตกค้างอยู่ในช่องปากได้ ในบางกรณี การกินยาบางชนิด ก็อาจทำให้การผลิตน้ำลายลดลง ทำให้มี กลิ่นปาก ได้ค่ะ
  4. ภาวะกรดไหลย้อน – สามารถทำให้เกิด กลิ่นปาก ได้ในเด็กบางราย เนื่องจากเด็กจะมีระยะทางระหว่างกระเพาะอาหารกับช่องปากสั้นกว่าผู้ใหญ่ รวมถึงการทำงานของหูรูดกระเพาะอาหารอาจยังไม่สมบูรณ์ 100% (เด็กมักจะอ้วกได้ง่ายกว่าในผู้ใหญ่) ทำให้กลิ่นอาหารย้อนกลับมาเป็นกลิ่นบูดๆในปากได้
  5. ต่อมทอนซิลหรือต่อมอะดีนอยด์อักเสบ – ต่อมทั้งสองเป็นต่อมน้ำเหลืองที่อยู่บริเวณภายในช่องคอและบริเวณโพรงจมูก ปกติแล้วจะทำหน้าที่ดักจับและกำจัดเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ร่างกาย แต่ถ้าหากตัวต่อมนั้นเกิดการอักเสบ และมีการติดเชื้อเองแล้ว ก็จะทำให้เกิด กลิ่นปาก ในเด็กได้เช่นกัน

วิธีการแก้ไขปัญหากลิ่นปากของเด็กๆ

กรณีที่ลูกมีกลิ่นปากและคุณพ่อคุณแม่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ว่ากลิ่นปากของลูกเกิดจากสาเหตุใด คำแนะนำที่ดีที่สุดคือ ควรจะพาเด็กๆไปพบทันตแพทย์เด็กเฉพาะทางที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ เพื่อปรึกษาและหาสาเหตุที่แท้จริงและทำการรักษาที่ต้นเหตุ เพื่อให้กลิ่นลมหายใจของลูกน้อยกลับมาหอมชื่นใจคุณพ่อคุณแม่อีกครั้งค่ะ

เด็กๆมีความสุข

แชร์บทความนี้

เพราะการแบ่งปันคือความห่วงใยที่เรามีให้กัน…(เลือกแชร์บทความให้เพื่อนได้โดยกดปุ่มด้านล่างนี้เลยค่ะ)

สอบถามนัดหมาย – ทำฟันเด็ก

กรณีมีคำถามเพิ่มเติม ตรวจสอบค่าบริการทันตกรรม หรือต้องการนัดหมายกับคุณหมอฟันเด็กเฉพาะทาง ที่คลินิกทันตกรรม SmileDC สามารถติดต่อได้ตามช่องทางด้านนี้เลยนะคะ ยินดีให้บริการค่ะ

โทร 096-942-0057 คลินิกทันตกรรม SmileDC
ไลน์แชทหาเรา คลินิกทันตกรรม SmileDC

บทความที่เกี่ยวข้องกับ ลูกมีกลิ่นปาก

ลิ้นเป็นฝ้าเกิดได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

รู้จักสาเหตุ และวิธีการป้องกันอาการลิ้นเป็นฝ้าในเด็ก

ลิ้นเป็นฝ้าในเด็ก มักเกิดขึ้นจากการละเลยการรักษาความสะอาดช่องปาก ฟัน และลิ้นอย่างถูกวิธี มาดูกันเลยว่าจะป้องกันได้อย่างไร และฝ้าบนลิ้นแบบไหนที่ควรไปพบแพทย์
อ่านเพิ่มเติม
วิธีแปรงฟันเด็กให้สะอาด

เทคนิคดี ๆ ที่พ่อแม่ควรรู้ สอนเด็กแปรงฟันอย่างไรให้สะอาด

ฟันเป็นอวัยวะที่ใช้ในการบดเคี้ยวอาหาร จึงมีความสำคัญต่อเด็กวัยกำลังโต พ่อแม่ควรสอนเด็กแปรงฟันให้สะอาด เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดี ซึ่งเรามีวิธีมาบอกกัน
อ่านเพิ่มเติม
การจัดฟันน้ำนมในเด็ก สามารถเริ่มทำการ จัดฟันเด็ก ได้เมื่ออายุเท่าไหร่?

จัดฟันเด็ก เริ่มทำได้เมื่อไหร่ พร้อมเหตุผลทำไมต้องจัดฟันน้ำนม?

จัดฟันน้ำนม เป็นหนึ่งในคำถามที่มีคุณพ่อคุณแม่สนใจสอบถามเข้ามามาก ซึ่งมีหลายๆคำถามเกี่ยวกับการจัดฟันน้ำนมในเด็กที่น่าสนใจ เช่น เด็กๆสามารถจะเริ่มจัดฟันได้ตั้งแต่อายุเท่าไหร่? ลูกมีฟันซ้อนเกหรือฟันล้มเอียงสามารถจัดฟันเด็กช่วยได้มั๊ย? ควรรอให้ฟันน้ำนมหลุดออกหมดและมีฟันแท้ขึ้นครบก่อนค่อยจัดฟันเด็กหรือไม่? การจัดฟันน้ำนมในเด็กช่วยแก้ปัญหาฟันแบบไหนได้บ้าง?…
อ่านเพิ่มเติม
ครอบฟันเด็ก ช่วยหยุดการเกิดฟันน้ำนมผุในเด็กได้อย่างไร?

ครอบฟันเด็ก ช่วยหยุดฟันน้ำนมผุในเด็กได้อย่างไร?

ครอบฟันเด็กกับบทบาทที่ช่วยหยุดการเกิดฟันน้ำนมผุในเด็ก – ฟันน้ำนมผุหรือที่เรียกกันทั่วไปว่าฟันผุเป็นหนึ่งในโรคที่พบบ่อยที่สุดในวัยเด็ก เด็กบางคนจะไวต่อปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดฟันผุได้ง่าย สําหรับเด็กๆเหล่านี้การเลือกทำการรักษาด้วยการทำครอบฟันเด็กโดยเฉพาะสำหรับ…
อ่านเพิ่มเติม

แชร์บทความนี้

เพราะการแบ่งปันคือความห่วงใยที่เรามีให้กัน…(เลือกแชร์บทความให้เพื่อนได้โดยกดปุ่มด้านล่างนี้เลยค่ะ)