ลูกกลัวหมอฟัน คุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไรดี?
ลูกกลัวหมอฟัน เป็นปัญหาที่พบเจอได้บ่อยๆในการทำฟันเด็ก สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายๆสาเหตุและในบางครั้งยากที่จะสามารถระบุถึงสาเหตุที่แท้จริง แต่สำหรับสาเหตุที่พบได้บ่อย ที่ทำให้เด็กๆกลัวการทำฟัน ก็เนื่องมาจาก ในเด็กเล็กๆนั้น มักจะมีความหวาดกลัวในหลายๆสิ่ง มากกว่าผู้ใหญ่ ทั้งการกลัวคนแปลกหน้าที่ไม่รู้จัก เช่น หมอฟันเด็ก กลัวสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย เช่น คลินิกทันตกรรมเด็ก กลัวเสียงดัง เช่น เด็กบางคนกลัวเสียงเครื่องดูดฝุ่น หรือ กลัวเสียงเครื่องตัดหญ้า เป็นต้น หรือ แม้กระทั่งการกลัวฝังใจกับคนที่ใส่ชุดสีขาว เนื่องจากตัวเด็กเคยต้องเข้าโรงพยาบาล หรือต้องไปเจาะเลือด ฉีดวัคซีนกับคุณหมอที่ใส่ชุดเสื้อกาวน์สีขาว พอมาเจอหมอฟันเด็กที่มีลักษณะคล้ายกัน แต่งตัวเหมือนๆกัน เลยเหมารวมความกลัวเข้าไปด้วย
อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่พบได้บ่อยก็คือ คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองหลายคนที่ดูแลเด็กๆ อาจจะไม่ทราบว่าควรพาเด็กๆมาพบกับคุณหมอฟันครั้งแรกเมื่อไหร่ดี? ทำให้ลงเอยด้วยการที่ใช้อาการ “ปวดฟัน” เป็นสัญญาณเตือน ให้เริ่มพาลูกมาพบกับคุณหมอฟันเด็ก เมื่อลูกเริ่มมีฟันผุและมีอาการปวดฟันแล้ว ก็จะทำให้เด็กๆที่มีฟันผุต้องพบกับประสบการณ์การทำฟันครั้งแรกที่ไม่ดีนัก นอกจากอาการปวดฟันที่ตัวเองได้รับก่อนหน้าแล้ว ยังต้องพบกับการรักษาทั้งการฉีดยาชา การถอนฟัน การอุดฟัน หรือการรักษารากฟัน เป็นต้น
นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดและสามารถส่งผลกระทบต่อเด็กเมื่อเค้าเติบโตเป็นผู้ใหญ่ก็คือ “ประสบการณ์การพบหมอฟันเด็กครั้งแรก” ที่สามารถสร้างความแตกต่างได้อย่างมาก ระหว่าง “ความรู้สึกประทับใจ ไม่กลัวการมาพบคุณหมอฟันเด็ก และ อยากกลับมาพบกับคุณหมอฟันอีก” กับ “ความกลัวการมาทำฟัน และไม่อยากมาพบกับคุณหมอฟันเด็กอีกต่อไป และติดเป็นความกลัวการทำฟันเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่” นั่นเอง ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครอง จึงเป็นบุคคลกลุ่มแรกที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการช่วยสร้างประสบการณ์ รวมถึงทัศนคติที่ดีของพบคุณหมอฟันเด็กในครั้งแรกค่ะ
ลูกกลัวหมอฟัน ควรเตรียมตัวลูกก่อนมาพบคุณหมออย่างไรดี?
สำหรับการช่วยเตรียมตัวลูก ก่อนมาพบกับคุณหมอฟันเด็กของคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองนั้น มีผลอย่างมากต่อทัศนคติและพฤติกรรมของลูก รวมไปถึงความสําเร็จในการรักษาทางทันตกรรมเด็ก จากปัจจัยเรื่อง “ความกลัว” ที่ได้กล่าวข้างต้น ซึ่งอาจสามารถส่งผลทำให้ “ลูกกลัวการทําฟัน” หรือ “ลูกกลัวคุณหมอฟันเด็ก” ได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้คําพูดที่น่ากลัว หรือสร้างความรู้สึกกังวลต่อการทําฟันของลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม่ควรใช้หมอฟันเด็กหรือการทําฟันเด็กในการขู่ลูก เช่น “ถ้าไม่ยอมแปรงฟัน จะให้คุณหมอถอนฟันซะเลย” เพราจะทําให้ลูกยิ่งฝังใจและกลัวหมอฟันมากยิ่งขึ้น
ในทางกลับกัน คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยส่งเสริมทัศนคติที่ดีต่อการทําฟันให้แก่ลูก เช่น “คุณหมอฟันใจดี คุณหมอฟันจะช่วยให้หนูมีฟันสวยและแข็งแรงจ๊ะ” ทั้งนี้เมื่อคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครอง สังเกตเห็นว่า ลูกเริ่มมีฟันผุ เช่น จุดสีดำเล็กๆบนตัวฟัน หรือ คราบสีขาวตรงขอบฟันหลังจากแปรงฟันเสร็จแล้ว (มีผู้ปกครองหลายท่านเข้าใจผิดว่าคือ คราบน้ำนม แต่จริงๆแล้วคืออาการเบื้องต้นของฟันผุ) ควรรีบพาลูกมาพบกับคุณหมอฟันเด็กเพื่อทำการรักษาตั้งแต่ตอนที่ยังไม่มีอาการปวดฟัน ทั้งนี้เพราะ หากรอให้มีอาการปวดฟันก่อนแล้วค่อยมาพบกับคุณหมอ จะยิ่งทำให้ลูกมีความกังวลในการทําฟันมากขึ้นตามที่กล่าวมาแล้วนั่นเองค่ะ
แล้วหมอฟันเด็กจะมีวิธีรับมือกับการที่ลูกกลัวหมอฟัน ได้อย่างไร?
ในกรณีที่เด็กกลัวการทำฟันมากๆ หากมาพบหมอฟันเด็กด้วยอาการที่ไม่ฉุกเฉิน คือ ไม่มีอาการปวดฟัน หมอฟันเด็กทุกคนมักจะเริ่มต้นด้วยการพูดคุยสร้างความคุ้นเคยเพื่อให้เด็กหายกลัวก่อน ซึ่งผู้ปกครองจะมีส่วนช่วยเป็นอย่างมากในเรื่องนี้ ทั้งการให้ข้อมูลของสิ่งที่เด็กชอบ โรงเรียนของเด็ก ชื่อของเพื่อนร่วมชั้นเรียนที่เคยมาทำฟัน หรือชื่อของคุณครู เพื่อให้หมอฟันเด็กเริ่มต้นบทสนทนากับเด็กได้ง่ายขึ้น
ลูกกลัวหมอฟัน กับการเปิดใจ
โดยส่วนมากแล้ว เมื่อเด็กเกิดความรู้สึกไว้วางใจ ก็จะเปิดใจรับฟังสิ่งที่หมอฟันเด็กพยายามจะสื่อสารด้วย จากนั้น หมอฟันเด็กก็จะเริ่มต้นกระบวนการทำฟันด้วยงานที่ง่ายๆ เช่น การแปรงฟันหรือการขัดฟัน ซึ่งเป็นงานที่ไม่มีความซับซ้อนและไม่เจ็บ และเมื่อเด็กเกิดการเรียนรู้อีกว่าการทำฟันนั้น ไม่ได้ยากและไม่ได้เจ็บอย่างที่คิด เด็กๆก็มักจะหายกลัวการทำฟันไปเอง
กรณีที่ลูกกลัวหมอฟัน คุณพ่อคุณแม่ควรอยู่กับลูกขณะทําฟันหรือไม่?
ในปัจจุบันทันตแพทย์เด็กหรือคุณหมอฟันเด็ก มักจะให้อิสระแก่คุณพ่อคุณแม่เองเลยว่า จะอยู่กับลูกในห้องทําฟัน หรือ เลือกรออยู่ด้านนอกห้องก็ได้ สำหรับกรณีที่คุณพ่อคุณแม่เลือกที่จะอยู่กับลูกในห้อง ข้อแนะนำที่ควรปฏิบัติเมื่ออยู่ในห้องทําฟันกับลูก คือ
- การอยู่เป็นเพื่อนกับลูกและสามารถคอยให้กําลังใจลูกแบบเงียบๆได้
- ไม่ควรแสดงสีหน้าหวาดกลัว หรือ วิตกกังวล ในขณะที่คุณหมอฟันเด็กกําลังใหัการรักษาอยู่
- ไม่ควรพูดแทรกระหว่างที่คุณหมอฟันเด็กกําลังพูดคุยกับลูกอยู่ ทั้งนี้เนื่องจากจะส่งผลเสียในแง่ที่ทําให้ลูกสับสน ว่าควรจะฟังใครหรือเชื่อใครดี? ระหว่างคุณพ่อคุณแม่ที่ลูกคุ้นเคย กับ คุณหมอฟันเด็กที่เพิ่งพบหน้าเป็นครั้งแรก
- ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องทำการแยกผู้ปกครอง* พร้อมให้ความร่วมือที่จะออกจากห้องทําฟันทันทีเมื่อคุณหมอฟันเด็กร้องขอ
การแยกผู้ปกครอง* (Parental absence) ถือเป็นวิธีการทางจิตวิทยาเด็กด้วยการจัดการทางพฤติกรรมวิธีหนึ่ง ที่คุณหมอฟันเด็กอาจจะใช้สำหรับเด็กที่มีอายุมากกว่า 3 ขวบ ที่ร้องไห้โวยวาย และไม่ให้ความร่วมมือในการทำการรักษา ทั้งนี้เนื่องจาก เด็กในวัยนี้จะเป็นวัยที่สามารถสื่อสารเข้าใจการพูดคุยแล้ว โดยคุณหมอฟันเด็กจะต่อรองกับเด็กว่า “เมื่อหนูหยุดร้องไห้ คุณหมอจะให้คุณแม่ (คุณพ่อ) กลับเข้ามาได้” ซึ่งวิธีการนี้ ถือเป็นวิธีการจัดการพฤติกรรมวิธีหนึ่งที่ได้ผลดีเลยทีเดียว และโดยส่วนใหญ่เด็กจะปรับพฤติกรรมโดยการหยุดร้องไห้ เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ได้กลับเข้ามาอยู่เป็นเพื่อนค่ะ
กรณีฉุกเฉินแต่ ลูกกลัวหมอฟันควรทำอย่างไรดี?
แต่ในกรณีที่เด็กมาด้วยปัญหาเร่งด่วนฉุกเฉิน เช่น ปวดฟันมา คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครอง ควรพาลูกมาพบกับหมอฟันเด็กโดยเร็วที่สุด โดยหมอฟันเด็กจะต้องรีบให้การรักษาให้เสร็จสิ้นก่อน จากนั้น หมอฟันเด็กก็จะค่อยๆ ดึงความรู้สึกของเด็กให้กลับมาเป็นทางบวกอีกครั้ง ซึ่งมักจะยากกว่าในกรณีที่ยังไม่มีอาการปวดฟันหรือมีฟันผุ โดยที่ผู้ปกครองจะต้องใช้ความอดทนและความเข้าใจ ว่าหมอฟันเด็กจะค่อยๆใช้หลักจิตวิทยาให้เด็กเรียนรู้ใหม่ว่าการทำฟันนั้นไม่ได้ยากและน่ากลัวเหมือนครั้งก่อนๆที่เด็กได้พบเจอมา
บทสรุปส่งท้าย – ลูกกลัวหมอฟัน ทำอย่างไรดี?
วิธีการที่ดีที่สุดในการทำให้ลูกไม่กลัวการทำฟัน ก็คือ การพาลูกมาตรวจฟันตั้งแต่ฟันซี่แรกเริ่มขึ้น หรือให้มาโดยที่ยังไม่มีอาการปวดฟัน รวมถึงไม่ใช้หมอฟันเด็กหรือการทำฟันในการขู่ลูก เช่น ถ้าดื้อจะพาไปให้หมอถอนฟัน หรือ ถ้ากินทอฟฟี่เดี๋ยวคุณหมอจะดุ เป็นต้น การปฎิบัติตามคำแนะนำในบทความนี้ รวมความรักและความห่วงใยที่คุณพ่อคุณแม่มีให้กับลูก ก็จะช่วยส่งเสริมให้เค้ามีทัศนคติที่ดีในการทำฟัน และไม่กลัวการมาพบกับคุณหมอฟันเด็กอีกต่อไปค่ะ
โดย ผศ.ทพญ. อาวีพรรณ โกวิทย์สมบูรณ์ (หมอโบว์)
ทันตแพทย์เด็ก ประจำคลินิกทันตกรรม SmileDC
แชร์บทความ – ลูกกลัวหมอฟัน ทำอย่างไรดี?
แชร์บทความ – เพราะการแบ่งปันคือความห่วงใย
บริการทันตกรรมเด็ก
นอกเหนือจากการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกใช้ ยาสีฟันเด็ก ทาง SmileDC คลินิกทันตกรรมสมายล์ ยังมีให้บริการทันตกรรมเด็ก ด้านอื่นๆ ดังต่อไปนี้ค่ะ
- ตรวจสุขภาพฟันเด็ก
- ขูดหินปูน
- เคลือบฟลูออไรด์
- อุดฟันเด็ก
- ถอนฟันน้ำนม
- เคลือบหลุมร่องฟัน
- รักษารากฟันน้ำนม
- รักษารากฟันแท้
- ครอบฟันน้ำนม
- ใส่เครื่องมือกันฟันล้ม
- ทำฟันเด็กพิเศษ
นัดหมาย-ปรึกษาปัญหา ลูกกลัวหมอฟันควรทำอย่างไรดี?
กรณีมีคำถามเพิ่มเติม ตรวจสอบค่าบริการทันตกรรม หรือต้องการนัดหมายกับคุณหมอฟันเด็กเฉพาะทาง ที่คลินิกทันตกรรม SmileDC สามารถติดต่อได้ตามช่องทางด้านนี้เลยนะคะ ยินดีให้บริการค่ะ
เวลาทำการ ปรึกษา-นัดหมาย ลูกกลัวหมอฟัน
จันทร์-เสาร์ | 10:00 – 19:00 น. |
อาทิตย์ | 10:00 – 12:00 น. |
แผนที่ คลินิกทันตกรรม SmileDC
คลินิกทันตกรรม SmileDC ตั้งอยู่ในโครงการดิไอเฟล บนถนนคู่ขนานกาญจนาภิเษก เขตสะพานสูง/รามคำแหง ฝั่งตรงข้ามวัดลาดบัวขาว ใกล้กับสุเหร่าซีรอ (ซอยมิสทีน รามคำแหง) นะคะ สามารถดูแผนที่ และกดปุ่มด้านล่างเพื่อนำทางด้วย Google Maps มายังคลินิกของเราได้เลยค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้องกับ ลูกกลัวหมอฟัน
รู้จักสาเหตุ และวิธีการป้องกันอาการลิ้นเป็นฝ้าในเด็ก
เทคนิคดี ๆ ที่พ่อแม่ควรรู้ สอนเด็กแปรงฟันอย่างไรให้สะอาด
จัดฟันเด็ก เริ่มทำได้เมื่อไหร่ พร้อมเหตุผลทำไมต้องจัดฟันน้ำนม?
ครอบฟันเด็ก ช่วยหยุดฟันน้ำนมผุในเด็กได้อย่างไร?
แชร์บทความ – เพราะการแบ่งปันคือความห่วงใย