ฟันแตกเป็นอุปสรรคต่อการเคี้ยวอาหารและการใช้ชีวิต

“ฟันแตก” เกิดจากอะไร เป็นแล้วรักษายังไงได้บ้าง

หัวข้อที่น่าสนใจเกี่ยวกับ “อาการฟันแตก”

“ฟันแตก” เกิดขึ้นได้กับทุกช่วงวัย ไม่เว้นแม้แต่หนูน้อยฟันน้ำนม ซึ่งมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมส่วนตัว หรือการได้รับอุบัติเหตุ ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา เนื่องจากฟันไม่สามารถบดเคี้ยวอาหารได้อย่างเป็นปกติ ทั้งยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อหรือกระทบกระเทือนไปถึงโพรงประสาทฟันชั้นในได้อีกด้วย
ดังนั้น เพื่อช่วยให้เข้าใจถึงสาเหตุของฟันแตกหรือฟันบิ่นกันมากขึ้น รวมถึงรู้วิธีการป้องกัน รักษาฟันแตกที่ถูกต้อง เราจะมาบอกให้ได้รู้กันในบทความนี้

ฟันแตกคืออะไร

ฟันแตก เป็นภาวะที่ฟันบางส่วนหรือทั้งหมดแตกหักและหลุดร่วงออก สามารถเกิดขึ้นได้กับฟันทุกซึ่ มักพบบ่อยในผู้สูงอายุที่ร่างกายขาดสารแคลเซียม หรือเป็นโรคกระดูกพรุน แต่ก็เกิดขึ้นได้ในเด็กฟันน้ำนมเช่นกัน หากขาดความระมัดระวังในการรับประทานอาหาร หรือเกิดอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนกับฟัน

รู้ทันสาเหตุของฟันแตก

ภาวะฟันแตกหรือบิ่น เป็นปัญหาสุขภาพฟันที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งที่มักพบได้เป็นส่วนใหญ่ มีดังนี้

  • พฤติกรรมการใช้ชีวิต

ด้วยพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่หลายคนคุ้นชิน ไม่ว่าจะเป็นการชอบเคี้ยวอาหารที่แข็งกรอบ เช่น น้ำแข็ง ลูกอม หรือกระดูกอ่อน หรือการเคี้ยวอาหารแรงเกินไป รวมถึงการนอนกัดฟัน คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาฟันแตกบิ่น

  • การรับประทานอาหารที่ร้อนจัดและเย็นจัดต่อเนื่องกัน

การรับประทานอาหารที่ร้อนจัดและเย็นจัดต่อเนื่องกัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนอุณหภูมิภายในช่องปากอย่างฉับพลัน ส่งผลให้ฟันแตกได้

  • อุบัติเหตุ

การได้รับอุบัติเหตุ ซึ่งส่งผลให้เกิดความบาดเจ็บต่อฟันโดยตรง เช่น หกล้ม รถชน หรือถูกกระแทกอย่างรุนแรง เป็นหนึ่งในสาเหตุการเกิดปัญหาฟันแตกของหลายคน โดยเฉพาะในเด็กวัยฟันน้ำนม ที่มักจะเล่นซุกซน และขาดความระมัดระวัง

  • อายุที่มากขึ้น

เมื่อมีอายุมากขึ้น ความแข็งแรงของฟันก็จะลดน้อยลง ส่งผลให้เกิดปัญหาฟันบิ่น รวมถึงผู้ที่มีภาวะโรคกระดูกพรุน จะเสี่ยงต่อการเกิดฟันแตกได้ง่ายยิ่งขึ้นอีกด้วย

อาการเมื่อเกิดฟันแตก

อาการที่สามารถพบได้โดยทั่วไปเมื่อเกิดฟันแตก คือ

  • หากฟันแตกเพียงเล็กน้อย อาจไม่ทำให้เกิดอาการปวด แต่จะรู้สึกเสียวฟัน เวลาดื่มเครื่องดื่มที่เย็นหรือว่าร้อนจัด
  • ฟันที่แตกหักรุนแรง หรือมีส่วนที่บิ่นหาย จะมีอาการเจ็บปวดเมื่อถูกกระแทก รวมถึงตอนที่บดเคี้ยวอาหาร
  • ฟันที่แตกมักมีเศษอาหารเข้าไปติดได้ง่าย จนกลายเป็นที่สะสมของแบคทีเรีย ก่อให้เกิดอาการเหงือกบวมหรืออักเสบในบริเวณที่แตกได้

วิธีการป้องกัน

  • หลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารแข็ง เช่น น้ำแข็ง เมล็ดข้าวโพด ถั่ว หรือกระดูกอ่อน โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะกระดูกพรุน แตก หัก ได้ง่าย
  • หากมีอาการนอนกัดฟัน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม
  • หยุดพฤติกรรมเสี่ยงที่จะทำให้ฟันแตก เช่น การวิ่ง การกระโดด โดยไม่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน โดยเฉพาะเด็กวัยฟันน้ำนม ที่มักประสบอุบัติเหตุได้ง่าย
  • ดูแลรักษาความสะอาดฟันและช่องปากอยู่เสมอ เพื่อสุขภาพฟันที่แข็งแรง
การรักษาฟันแตกมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี

แนวทางการรักษา

สำหรับใครที่สงสัยว่าถ้าฟันแตกแล้วต้องรักษายังไง เราได้รวบรวมแนวทางการรักษาฟันแตกบิ่นมาบอกกันแล้ว ดังนี้

กรอฟัน

การกรอฟัน เป็นแนวทางการรักษาอาการฟันแตกเพียงเล็กน้อยในบริเวณเคลือบฟัน โดยที่ยังไม่มีอาการปวดฟัน แต่รู้สึกว่าบาดลิ้น ซึ่งจะช่วยลดความคมของฟันได้

อุดฟัน

การอุดฟัน เป็นวิธีรักษาฟันที่เป็นรู หรือมีรอยแตกขนาดใหญ่ โดยทันตแพทย์จะทำการอุดรอยที่แตกด้วยวัสดุอุดฟัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดฟันแตกมากขึ้น

ครอบฟัน

สำหรับฟันที่มีอาการแตกบิ่นขนาดใหญ่ และสูญเสียเนื้อฟันเยอะ จำเป็นต้องรักษาด้วยการครอบฟัน โดยทันตแพทย์จะใช้วัสดุครอบฟันที่สีคล้ายกับฟันจริง มาครอบฟันซี่ที่แตกบิ่นไว้ โดยมักจะทำควบคู่ไปกับการรักษารากฟัน เพื่อทำให้ฟันกลับมาแข็งแรงขึ้น

รักษารากฟัน

ในส่วนผู้ที่ฟันแตกหักขนาดใหญ่ และมีอาการปวดฟันอย่างรุนแรง เป็นไปได้อย่างยิ่งว่ารอยฟันที่แตกจะทะลุลึกถึงชั้นโพรงประสาทฟัน จำเป็นต้องทำการรักษารากฟันให้แข็งแรงก่อน แล้วจึงค่อยทำครอบฟันต่อไป

ทั้งหมดนี้ คงทำให้เข้าใจถึงปัญหาฟันแตกกันมากขึ้น และสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่พบว่าลูกน้อยมีอาการฟันแตก อย่ารอช้ารีบมารักษากับทันตแพทย์ ที่คลินิกทันตกรรม SmileDC เป็นคลินิกทำฟันที่มีบริการครอบฟันเด็ก โดยทันตแพทย์เด็กเฉพาะทางพร้อมให้การดูแล สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือจองคิวนัดหมายล่วงหน้าได้ที่ โทร. 096-9420057

ข้อมูลอ้างอิง:

  1. ฟันแตก อาการ สาเหตุ การรักษา. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2567 จาก https://hellokhunmor.com/สุขภาพช่องปาก/ฟันแตก-อาการ-สาเหตุ-การรักษา/
  2. ฟันแตกเกิดจากอะไร เมื่อฟันแตกต้องทำอย่างไร. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2567 จาก https://www.pobpad.com/ฟันแตกเกิดจากอะไร-เมื่อ#:~:text=การเคี้ยวหรือกัดอาหาร,อุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา
  3. What to Do If You Chip or Break a Tooth. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2567 จาก https://www.healthline.com/health/how-to-fix-a-chipped-tooth#_noHeaderPrefixedContent