เครื่องมือกันฟันล้ม

เครื่องมือกันฟันล้ม คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร ราคาเท่าไหร่?

แก้ไขล่าสุด 06/06/2024

เครื่องมือกันฟันล้ม คืออะไร?

เครื่องมือกันฟันล้ม คือ เครื่องมือที่ช่วยป้องกันไม่ให้ฟันข้างเคียงของฟันที่ถูกถอนไป ล้มลงมาในช่องว่างที่เกิดจากการถอนฟัน เนื่องจากฟันน้ำนมมีหน้าที่เป็นตัวกันที่ เพื่อให้ฟันแท้สามารถขึ้นมาในช่องปากเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม การไม่ใส่เครื่องมือกันฟันล้มแล้วถอนฟัน อาจส่งผลให้ฟันแท้ที่ขึ้นมาไม่ถูกตำแหน่งหรือขึ้นไม่ได้และเกิดเป็นฟันคุดในที่สุด

สำหรับรายละเอียดของเครื่องมือกันฟันล้ม เช่น เครื่องมือกันฟันล้มมีกี่แบบ? มีประโยชน์อย่างไร? เหมาะกับใคร? ข้อควรปฏิบัติภายหลังการใส่เครื่องมือกันฟันล้ม และเครื่องมือกันฟันล้มราคาเท่าไหร่? พร้อมบทสรุปของการใส่เครื่องมือกันฟันล้ม มาติดตามรายละเอียดไปพร้อมๆกันได้ในโพสต์นี้กันเลยนะคะ

สารบัญ

เครื่องมือกันฟันล้ม มีกี่ประเภท?

ประเภทของเครื่องมือกันฟันล้ม สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ

  1. เครื่องมือกันฟันล้มแบบด้านเดียวของขากรรไกร – นิยมใช้ในกรณีการสูญเสียฟันไปเพียงฝั่งเดียวของช่องปาก โดยเครื่องมือจะเกาะอยู่กับฟันหลังซี่ที่ถอนไป และมีห่วงเหล็กเป็นช่องเพื่อดันฟันที่ข้างเคียงไม่ให้ล้มเข้ามาในช่องว่าง
  2. เครื่องมือกันฟันล้มแบบสองด้านของขากรรไกร – ใช้ในกรณีมีการสูญเสียฟันไปทั้งด้านซ้ายและด้านขวา โดยเครื่องมือชนิดนี้จะเกาะยึดที่ฟันกรามด้านในทั้งสองฝั่งของช่องปาก เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันเคลื่อนที่ล้มไปในช่องว่างที่ถูกถอนไป
  3. เครื่องมือกันฟันล้มแบบถอดได้ – นิยมใช้ในกรณีที่ไม่มีฟันกรามในการยึดเกาะกับเครื่องมือแบบติดแน่น ซึ่งเครื่องมือชนิดนี้อาจทำให้เด็กๆเกิดความรู้สึกรำคาญได้ มากกว่า 2 แบบแรก

เครื่องมือกันฟันล้ม เหมาะกับใคร?

เครื่องมือกันฟันล้มเหมาะสำหรับเด็กที่ต้องสูญเสียฟันน้ำนมไปก่อนวัยอันควรจากการถอนฟันน้ำนม เนื่องจากฟันน้ำนมซี่นั้นๆมีการผุมากจนถึงโพรงประสาทฟัน และไม่สามารถที่จะเก็บฟันน้ำนมซี่ที่ผุนั้นไว้ด้วยการรักษารากฟันน้ำนมและทำการครอบฟันเด็กได้ จึงทำให้เกิดช่องว่างขึ้นระหว่างฟันน้ำนมซี่ที่ถูกถอนออกไปนั่นเอง ดังนั้นการไม่ได้ใส่เครื่องมือกันฟันล้มอาจทำให้ฟันน้ำนมซี่ข้างเคียงทั้ง 2 ด้านล้มเข้ามา ส่งผลให้ฟันแท้ที่กำลังจะขึ้นมาแทนที่ฟันน้ำนมที่ถูกถอนออกไปก่อนหน้าไม่มีพื้นที่เพียงพอหรือไม่สามารถขึ้นในตำแหน่งที่ถูกต้องได้ และทำให้เกิดเป็นฟันซ้อนเกหรือฟันคุดในที่สุด

ประโยชน์ของเครื่องมือกันฟันล้ม

เครื่องมือกันฟันล้มเป็นเครื่องมือสำหรับสวมใส่ภายในช่องปาก โดยมีจุดประสงค์สำคัญคือช่วยทำให้สามารถรักษาระยะห่างระหว่างฟันไว้ได้

เครื่องมือกันฟันล้มมีประโยชน์ในการช่วยป้องกันไม่ให้ฟันน้ำนมซี่ข้างเคียง ล้มลงมาในช่องว่างของฟันน้ำนมซี่ที่ถูกถอนออกไปก่อนถึงวัยอันควร เป็นการช่วยกันที่ว่างเอาไว้สำหรับให้ฟันแท้ที่จะขึ้นมาในภายหลังสามารถขึ้นได้อย่างเต็มที่โดยไม่ถูกฟันน้ำนมเบียดบัง และช่วยลดโอกาสเกิดฟันซ้อนเกหรือฟันคุด ที่เกิดจากการที่ฟันแท้ขึ้นมาไม่ถูกตำแหน่งได้ด้วยค่ะ

กลับสู่สารบัญ

เครื่องมือกันฟันล้มราคาเท่าไหร่?

ราคาของเครื่องมือกันฟันล้มจะขึ้นอยู่กับจำนวนด้านของขากรรไกรที่ต้องใส่ตามราคาในตารางด้านล่างนี้ค่ะ และสำหรับค่าบริการทางทันตกรรมเด็กในด้านอื่นๆ คุณพ่อคุณแม่สามารถกดดูได้จากปุ่มด้านล่างตารางนี้นะคะ ขอบพระคุณมากค่ะ

บริการทันตกรรมเด็กค่าบริการ (บาท)
เครื่องมือกันฟันล้ม แบบด้านเดียวของขากรรไกร3,500 บาท
เครื่องมือกันฟันล้ม แบบ 2 ด้านเดียวของขากรรไกร5,000 บาท
ตาราง: ราคาเครื่องมือกันฟันล้ม

ข้อควรปฏิบัติภายหลังการใส่เครื่องมือกันฟันล้ม

  1. ต้องมารับการตรวจติดตามการใส่เครื่องมือทุกๆ 3-6 เดือน เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันกรามที่เป็นตัวเกาะยึดเครื่องมือเกิดการผุ
  2. เด็กๆสามารถแปรงฟันซี่ที่ใส่เครื่องมือกันฟันล้มได้ตามปกติ
  3. ควรมาให้ทันตแพทย์เด็กเฉพาะทางทำการถอดเครื่องมือกันฟันล้มออกให้ เมื่อฟันกรามซี่ที่ถูกถอนไปมีฟันแท้ขึ้นมาทดแทน
  4. เครื่องมือกันฟันล้มจำเป็นต้องได้รับการยึดซีเมนต์ใหม่ทุกๆ 3 – 6 เดือน เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องมือหลุดออกจากตำแหน่ง
  5. เครื่องมือกันฟันล้มแบบถอดได้ต้องทำความสะอาดทุกวัน ด้วยแปรงสีฟันขนนุ่มและสบู่อ่อน
  6. กรณีที่เครื่องมือกันฟันล้มเกิดหลุดออกมา ควรรีบนำเครื่องมือดังกล่าวกลับมาให้ทันตแพทย์ยึดซีเมนต์กลับเข้าไปใหม่
  7. พยายามหลีกเลี่ยงการกัด หรือเคี้ยวของแข็งบริเวณที่ใส่เครื่องมือกันฟันล้ม เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องมือบิดเบี้ยว เสียรูป
  8. ระวังไม่ให้เด็กใช้นิ้วหรือสิ่งของแข็งงัดแงะเครื่องมือกันฟันล้มออกจากฟัน

กลับสู่สารบัญ

บทสรุปการใส่เครื่องมือกันฟันล้ม

จะเห็นได้ว่าการใส่เครื่องมือกันฟันล้มนี้มีประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะสำหรับเด็กๆที่มีความจำเป็นต้องถอนฟันน้ำนมออกไปก่อนวัยอันควรในกรณีที่ไม่สามารถจะเก็บฟันน้ำนมซี่นั้นๆไว้ได้ โดยที่ฟันแท้ยังไม่ถึงเวลาขึ้นมาค่ะ

อย่างไรก็ตาม “การป้องกัน” น่าจะดีกว่าการแก้ไขด้วยการมาใส่เครื่องมือกันฟันล้มในภายหลัง โดยเฉพาะเมื่อเด็กๆมีฟันที่ผุมากแล้วจนจำเป็นต้องถอนฟันน้ำนมออกไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้น ดังนั้นเรามาช่วยกันแปรงฟันน้ำนมของเด็กๆให้สะอาดด้วยการใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ โดยเริ่มจากใช้ในปริมาณน้อยๆก่อนนะคะเพื่อสุขภาพฟันและช่องปากที่ดีของลูกน้อยค่ะ

กลับสู่สารบัญ

แชร์บทความ – เพราะการแบ่งปันคือความห่วงใย

สอบถามนัดหมาย – ใส่เครื่องมือกันฟันล้ม

กรณีมีคำถามเพิ่มเติม ตรวจสอบค่าบริการทันตกรรม หรือต้องการนัดหมายกับคุณหมอฟันเด็กเฉพาะทาง ที่คลินิกทันตกรรม SmileDC สามารถติดต่อได้ตามช่องทางด้านนี้เลยนะคะ ยินดีให้บริการค่ะ

โทร 096-942-0057 คลินิกทันตกรรม SmileDC
เฟสบุ๊คแชทหาเรา คลินิกทันตกรรม SmileDC
ไลน์แชทหาเรา คลินิกทันตกรรม SmileDC

บทความที่เกี่ยวข้องกับ คำถามที่พบบ่อยของการทำฟันเด็ก

ลิ้นเป็นฝ้าเกิดได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

รู้จักสาเหตุ และวิธีการป้องกันอาการลิ้นเป็นฝ้าในเด็ก

ลิ้นเป็นฝ้าในเด็ก มักเกิดขึ้นจากการละเลยการรักษาความสะอาดช่องปาก ฟัน และลิ้นอย่างถูกวิธี มาดูกันเลยว่าจะป้องกันได้อย่างไร และฝ้าบนลิ้นแบบไหนที่ควรไปพบแพทย์
อ่านเพิ่มเติม
วิธีแปรงฟันเด็กให้สะอาด

เทคนิคดี ๆ ที่พ่อแม่ควรรู้ สอนเด็กแปรงฟันอย่างไรให้สะอาด

ฟันเป็นอวัยวะที่ใช้ในการบดเคี้ยวอาหาร จึงมีความสำคัญต่อเด็กวัยกำลังโต พ่อแม่ควรสอนเด็กแปรงฟันให้สะอาด เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดี ซึ่งเรามีวิธีมาบอกกัน
อ่านเพิ่มเติม
การจัดฟันน้ำนมในเด็ก สามารถเริ่มทำการ จัดฟันเด็ก ได้เมื่ออายุเท่าไหร่?

จัดฟันเด็ก เริ่มทำได้เมื่อไหร่ พร้อมเหตุผลทำไมต้องจัดฟันน้ำนม?

จัดฟันน้ำนม เป็นหนึ่งในคำถามที่มีคุณพ่อคุณแม่สนใจสอบถามเข้ามามาก ซึ่งมีหลายๆคำถามเกี่ยวกับการจัดฟันน้ำนมในเด็กที่น่าสนใจ เช่น เด็กๆสามารถจะเริ่มจัดฟันได้ตั้งแต่อายุเท่าไหร่? ลูกมีฟันซ้อนเกหรือฟันล้มเอียงสามารถจัดฟันเด็กช่วยได้มั๊ย? ควรรอให้ฟันน้ำนมหลุดออกหมดและมีฟันแท้ขึ้นครบก่อนค่อยจัดฟันเด็กหรือไม่? การจัดฟันน้ำนมในเด็กช่วยแก้ปัญหาฟันแบบไหนได้บ้าง?…
อ่านเพิ่มเติม
ครอบฟันเด็ก ช่วยหยุดการเกิดฟันน้ำนมผุในเด็กได้อย่างไร?

ครอบฟันเด็ก ช่วยหยุดฟันน้ำนมผุในเด็กได้อย่างไร?

ครอบฟันเด็กกับบทบาทที่ช่วยหยุดการเกิดฟันน้ำนมผุในเด็ก – ฟันน้ำนมผุหรือที่เรียกกันทั่วไปว่าฟันผุเป็นหนึ่งในโรคที่พบบ่อยที่สุดในวัยเด็ก เด็กบางคนจะไวต่อปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดฟันผุได้ง่าย สําหรับเด็กๆเหล่านี้การเลือกทำการรักษาด้วยการทำครอบฟันเด็กโดยเฉพาะสำหรับ…
อ่านเพิ่มเติม