หน้าแรก » ทันตกรรมเฉพาะทางสำหรับผู้ใหญ่ » รู้เรื่องฟันคุดแบบครบจบ ก่อนเข้ารับการผ่า

สรุปครบ! การผ่าฟันคุดคืออะไร สาเหตุ วิธีการรักษา และราคา

เคยสงสัยไหมว่า ทำไมเราถึงต้องเจอกับปัญหาฟันคุด แล้วฟันคุดมีสาเหตุเกิดจากอะไรกันแน่ มีอาการและต้องรักษาอย่างไร รวมถึงมีราคาค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ถ้าต้องผ่าฟันคุด ฯลฯ เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับปัญหาฟันประเภทนี้กันให้มากขึ้น เราจะมาไขทุกเรื่องให้ได้รู้กัน

ผ่าฟันคุด ถอนฟันคุด คือ อะไร สาเหตุและวิธีรักษา ราคาเท่าไหร่? สรุปครบ!

สารบัญ

ฟันคุดคืออะไร? มีกี่ประเภท?

ฟันคุด คือฟันแท้ที่ไม่สามารถขึ้นมาในแนวปกติได้ โดยจะเป็นฟันที่ฝังตัวอยู่ใต้เนื้อเยื่อของเหงือก และบริเวณกระดูกขากรรไกร จึงมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า หากตัวฟันไม่ได้โผล่พ้นขึ้นมาเหนือเหงือก จะต้องใช้การเอกซเรย์จึงจะสามารถเห็นได้ โดยสามารถแบ่งลักษณะของฟันคุดได้ 3 แบบ คือ

  • ฟันคุดที่ขึ้นในเเนวตรง (Vertical impaction)
  • ฟันคุดที่ขึ้นในแนวนอน (Horizontal impaction)
  • ฟันคุดที่ขึ้นแนวเฉียง

อาการของ “ฟันคุด”

การที่มีฟันคุด แล้วไม่ได้ทำการผ่าออกหรือถอนฟันซี่นั้น ๆ ออกมา เมื่อปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไป ก็อาจทำให้ฟันคุดซี่ดังกล่าวมีอาการที่ไม่พึงประสงค์ ดังต่อไปนี้

รูปฟันคุดแบบต่างๆ ผ่าฟันคุด ผ่าตัดฟันคุด ถอนฟันคุด

อาการปวด

เกิดจากแรงดันของฟันที่ไม่สามารถขึ้นมาในช่องปากได้ แล้วไปเบียดฟันซี่ข้าง ๆ หรืออวัยวะข้างเคียง ทำให้เกิดอาการปวดตึง ๆ หรือปวดตุบ ๆ แต่ในบางกรณี อาการปวดอาจเกิดจากการอักเสบของเหงือกที่คลุมฟันคุดเอาไว้

อาการบวม

เกิดมาจากฟันคุดที่ไม่ได้รับการรักษา แล้วมีการติดเชื้อซ้ำซ้อน เนื่องจากเวลาที่รับประทานอาหาร แล้วมีเศษอาหารเข้าไปสะสม และเกิดการบูดเน่า อาจจะส่งผลให้ฟันคุดอักเสบ บวม หรือเป็นหนอง ซึ่งจะสร้างความเจ็บปวดอย่างมาก

ทำให้ฟันซี่ข้างเคียงผุ

กรณีที่ฟันคุดโผล่ขึ้นมาในทิศทางเบี้ยว โดยไม่ได้รับการผ่าหรือถอน จะเกิดจุดที่มักมีเศษอาหารเข้าไปติดหรือสะสม และทำความสะอาดได้ยาก หากปล่อยเอาไว้เป็นระยะเวลานาน จะส่งผลให้เกิดฟันผุได้ และถ้าหากไม่ได้รับการอุดฟันอย่างทันท่วงที อาจทำให้รอยผุทะลุเข้าไปถึงโพรงประสาทฟันได้เลยทีเดียว

✔ เกิดถุงน้ำ (ซีสต์) รอบ ๆ ฟันคุด

ฟันคุดที่ไม่สามารถขึ้นมาในช่องปากได้ อาจมีการพัฒนาเกิดเป็นถุงน้ำหรือซีสต์ รอบ ๆ ฟันซี่นั้น ซึ่งหากถุงน้ำมีการขยายขนาดจนใหญ่ ก็จะส่งผลให้กระดูกขากรรไกรบริเวณดังกล่าวถูกทำลายได้

✔ เกิดกลิ่นปาก

เนื่องจากการอักเสบและกลิ่นของเศษอาหารที่สะสม ซึ่งทำความสะอาดไม่ถึง เกิดการบูดเน่า ย่อมส่งผลถึงอนามัยของช่องปาก เกิดเป็นกลิ่นปากที่ไม่พึงประสงค์ อีกทั้งการอักเสบติดเชื้อเรื้อรังภายในช่องปากจะส่งผลทำให้ภูมิต้านทานอ่อนแอลงได้

✔ ขากรรไกรอ่อนแอ

ในขากรรไกรที่มีฟันคุดฝังตัวอยู่และไม่ได้รับการรักษา บริเวณดังกล่าวจะเป็นจุดอ่อนที่ง่ายต่อการแตกหัก ในกรณีที่ได้รับอุบัติเหตุหรือมีอะไรมากระแทกที่ขากรรไกรบริเวณนั้น อาจทำให้เกิดขากรรไกรหักได้

ส่งผลต่อการจัดฟัน

บางกรณี ฟันคุดที่ขึ้นมาอาจส่งผลให้การจัดฟัน ไม่เป็นไปตามที่ต้องการ หรือทำให้รีเทนเนอร์เดิมที่เคยทำไว้ใส่ไม่ลง

ฟันคุดเกิดจากอะไร

สาเหตุของฟันคุดนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน เช่น

  • การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม: พบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดฟันคุดกับพันธุกรรม โดยผู้ที่มีคนในครอบครัวมีประวัติฟันคุด จะมีโอกาสเกิดฟันคุดได้มากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติ
  • ขนาดของช่องปาก: ฟันคุดเกิดจากการที่ฟันไม่สามารถแทรกตัวโผล่พ้นเหงือกมาได้ ดังนั้น หากช่องปากมีขนาดเล็ก จะทำให้มีพื้นที่ไม่เพียงพอสำหรับฟันคุดที่จะงอกขึ้นมาได้
  • ตำแหน่งของฟัน: ฟันคุดเกิดจากตำแหน่งของฟันได้เช่นกัน โดยหากฟันกรามซี่อื่น ๆ เรียงตัวไม่ปกติ จะทำให้ฟันคุดไม่สามารถงอกขึ้นมาได้
  • ความผิดปกติของกระดูกขากรรไกร: หากกระดูกขากรรไกรมีขนาดเล็กหรือมีรูปร่างผิดปกติ จะทำให้ฟันคุดไม่สามารถงอกขึ้นมาได้

การผ่าฟันคุดคืออะไร?

ผ่าฟันคุด (ผ่าตัดฟันคุด) หรือถอนฟันคุด (Tooth Impaction Removal) คือการเอาฟันกรามซี่ที่ 3 ซึ่งเป็นซี่สุดท้ายในขากรรไกรที่ไม่สามารถโผล่ขึ้นมาในช่องปากได้ออก โดยฟันซี่ดังกล่าวอาจฝังตัวอยู่ในกระดูกขากรรไกร หรืออยู่ในเหงือก ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ เช่น ปวดหรือบวมได้ และถ้าเกิดอาการเหล่านี้ขึ้น ฟันซี่นั้น ๆ ต้องได้รับการเอาออก

อาการฟันคุดแบบไหนที่ควรผ่า

สำหรับอาการฟันคุดที่ต้องผ่า เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อ หรืออาการปวดในอนาคต มีอยู่ 2 ลักษณะ คือ

  • ฟันคุดที่มีเหงือกคลุม (Soft Tissue Impaction) เป็นฟันคุดที่ตัวฟันตั้งตรง แต่ไม่สามารถแทงทะลุเหงือกที่ปกคลุมขึ้นมาได้ จึงจำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อเปิดเหงือกออก แล้วจึงถอนฟันคุด
  • ฟันคุดที่มีกระดูกคลุม (Bony Impaction) เป็นฟันคุดที่มีทั้งลักษณะตั้งตรง เอียงตัว หรือนอน จึงจำเป็นต้องทำการกรอกระดูก ร่วมกับการผ่าแบ่งฟันคุดออกเป็นส่วน ๆ แล้วนำออกมา

ผ่าฟันคุด หรือการถอนฟันคุด เจ็บไหม?

คำถามที่ว่า ผ่าฟันคุดเจ็บไหม คำตอบที่ทันตแพทย์ส่วนใหญ่จะให้คือ อาจมีอาการเจ็บเวลาที่ฉีดยาชาบ้าง แต่พอยาชาออกฤทธิ์เต็มที่แล้ว จะยังคงมีอาการเหมือนโดนกดหรือรู้สึกมีความสั่นสะเทือนในช่องปาก แต่ถ้าหากยังคงมีอาการเจ็บปวด หรือรู้สึกว่าอดทนไม่ได้แล้ว สามารถแจ้งกับทันตแพทย์ได้ตลอดเวลา เพราะทันตแพทย์จะเติมยาชาให้จนกว่าคุณจะรู้สึกดีขึ้น จนสามารถรับการผ่าตัดฟันคุดให้เสร็จสิ้นกระบวนการ

อีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อคำถามที่ว่าการผ่าตัดฟันคุดเจ็บไหม ก็คือความอดทนของแต่ละบุคคล ในบางกรณี ฟันคุดในลักษณะเดียวกัน บางคนบอกว่าเจ็บมาก แต่บางคนอาจบอกว่าไม่เจ็บเลย อย่างไรก็ดี การผ่าฟันคุดกรอกระดูก ย่อมมีความรู้สึกเจ็บปวดมากกว่าฟันคุดที่สามารถถอนออกได้ธรรมดา รวมถึงฟันคุดที่ถอนได้ยาก หรือต้องผ่าออก ก็จะต้องใช้เวลานานกว่าแผลจะหายนั่นเอง

ผ่าฟันคุด หรือการถอนฟันคุดกี่วันหาย?

การผ่าฟันคุดและการถอนฟันคุดจะใช้เวลาในการรักษาประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของฟันคุดซึ่นั้น ๆ ส่วนระยะเวลาที่ใช้ในการพักฟื้น ส่วนใหญ่ร่างกายจะยังคงมีความเจ็บปวดภายหลังผ่าฟันคุดประมาณ 2-3 ชั่วโมง หลังหมดฤทธิ์ยาชา และอาจจะยังรู้สึกเจ็บได้ประมาณ 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าฟันคุด โดยอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นใน 2-3 วัน ภายหลังการผ่า

สำหรับระยะเวลาที่ใช้ในการฟื้นตัวจนกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ คือประมาณ 3-4 วัน หรือไม่เกิน 1-2 สัปดาห์ในกรณีที่มีการกรอกระดูก อาจต้องรอประมาณ 1-2 เดือน แผลผ่าฟันคุดหรือรอยแยกบริเวณเหงือกจึงกลับมาปิดสนิท กลายเป็นชิ้นเดียวกับเนื้อเยื่อในช่องปาก

ทำไมควรเลือกผ่าฟันคุด หรือถอนฟันคุดกับทันตแพทย์เฉพาะทาง?

เลือก ผ่าฟันคุด-ถอนฟันคุด กับทันตแพทย์เฉพาะทาง

การผ่าฟันคุด หรือการถอนฟันคุด ถือเป็นงานศัลยกรรมที่มีความซับซ้อนมากกว่าการถอนฟันทั่วไป รวมถึงมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ได้มากกว่า เช่น อาการชาของเส้นประสาท หรือมีการติดเชื้อภายหลัง

ทันตแพทย์เฉพาะทางผ่าฟันคุด คือทันตแพทย์ที่ได้รับการฝึกอบรมเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงสร้างกระดูกขากรรไกรและใบหน้า รวมถึงเส้นประสาทที่มีอยู่มากมายบริเวณใบหน้า ดังนั้น การผ่าฟันคุดกับทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ถึงแม้อาจจะมีราคาที่สูงกว่าทันตแพทย์ทั่วไปอยู่บ้าง แต่ก็แลกมาด้วยข้อดีมากมาย ดังต่อไปนี้

✔ มีความแม่นยำ เกี่ยวกับตำแหน่งของเส้นประสาทบริเวณบนใบหน้า

ทำให้การฉีดยาชาได้ตรงตำแหน่ง เกิดการชาอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยลดความเจ็บปวดระหว่างการผ่าตัดฟันคุดได้อย่างมาก

✔ มีประสบการณ์สูงในการผ่าตัดฟันคุด

เนื่องจากทันตแพทย์เฉพาะทางมีประสบการณ์สูง จึงทำให้การรักษาใช้เวลาน้อย แผลผ่าฟันคุดมีขนาดเล็ก เนื้อเยื่อรอบข้างบอบช้ำน้อย และรู้สึกเจ็บน้อยลงมาก

✔ ความแม่นยำในการผ่าตัด

ส่งผลให้แผลมีขนาดเล็ก และหายได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้เวลาพักฟื้นเพียงไม่นาน

✔ ให้คำแนะนำภายหลังผ่าฟันคุดได้อย่างครบถ้วน

ทันตแพทย์เฉพาะทางจะสามารถให้คำแนะนำภายหลังผ่าฟันคุดได้อย่างครบถ้วน รวมถึงหลังจากที่มีการผ่าตัดฟันคุดเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมีการนัดตรวจเพื่อติดตามผล

✔ ความอุ่นใจและความสบายใจ

ด้วยทีมทันตแพทย์เฉพาะทาง ที่จบสาขา “ศัลยกรรมช่องปาก” มีประสบการณ์สูงในด้านการผ่าตัดฟันคุด และการถอนฟันคุด ทำให้สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างมืออาชีพ มีความรวดเร็วและความแม่นยำในการผ่าตัด ส่งผลให้แผลจากการผ่าตัดเล็ก และหายได้อย่างรวดเร็ว

การดูแลตัวเองภายหลังการผ่าฟันคุด หรือถอนฟันคุด

การดูแลตัวภายหลังการ ผ่าฟันคุด-ถอนฟันคุด

ส่วนใหญ่แล้วภายหลังการผ่าฟันคุด หรือถอนฟันคุด มักจะทำให้เกิดแผลขึ้นในช่องปาก ดังนั้นจึงควรใส่ใจในการดูแลทำความสะอาดภายหลังการผ่าตัดฟันคุด โดยสามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วงระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1: การดูแลแผลภายหลังการผ่าฟันคุดเสร็จใหม่ ๆ

ภายหลังการผ่าฟันคุดเสร็จใหม่ ๆ ในวันแรกจะยังคงมีอาการชาตกค้างอยู่ประมาณ 1-2 ชั่วโมง หลังจากหมดฤทธิ์ของยาชาจะเริ่มมีอาการเจ็บแผลที่ผ่าตัด โดยข้อควรปฏิบัติในการดูแลตัวเองมีดังนี้

  1. สังเกตบริเวณรอยแผลผ่าตัด: อาจพบมีไหมสีดำ หรือไหมสีขาวเย็บอยู่ที่บริเวณปากแผล และบริเวณรอบ ๆ แผลอาจยังมีเลือดซึมอยู่ได้บ้าง อย่างไรก็ตาม ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น มีเลือดเป็นลิ่ม ๆ มีเลือดออกเป็นปริมาณมาก หรือไหมที่เย็บไว้หลุดออกจากแผล ควรรีบกลับไปพบทันตแพทย์ทันที
  2. หลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือนแผลโดยตรง: หลีกเลี่ยงการแปรงฟันบริเวณนั้นโดยตรง หลีกเลี่ยงการกัดหรือเคี้ยวอาหารจุดที่เพิ่งผ่าฟันคุดมา
  3. สามารถบ้วนน้ำเกลือเบา ๆ ได้ภายหลังการผ่าฟันคุดเสร็จแล้ว 24 ชั่วโมง: ควรหลีกเลี่ยงน้ำยาบ้วนปากทุกชนิด และหลีกเลี่ยงการบ้วนหรือกลั้วด้วยความรุนแรง เพราะอาจทำให้แผลเกิดมีเลือดออกมาได้อีก อย่างไรก็ตาม ภายหลังการผ่าฟันคุดเสร็จแล้ว 24 ชั่วโมง สามารถบ้วนน้ำเกลือได้ ไม่ว่าจะเป็นน้ำเกลือผสมเอง ในอัตราส่วน เกลือแกง 1 ช้อนชา กับน้ำอุ่น 200 มิลลิลิตร หรือจะใช้น้ำเกลือที่มีขายตามร้านขายยาก็ได้เช่นกัน ในบางกรณี ทันตแพทย์อาจแนะนำให้ใช้น้ำยาคลอเฮ็กซิดีน เพื่อช่วยในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
  4. ไม่ใช้สิ่งของหรือนิ้วแคะเศษอาหารออกจากแผลถอนฟัน: ในวันถัดจากวันที่ผ่าฟันคุด หากมีเศษอาหารติดในแผลผ่าฟันคุด ไม่ควรใช้ไม้จิ้มฟันหรือนิ้วแคะออก เพราะจะทำให้แผลอักเสบ ติดเชื้อ และมีเลือดออกได้ อีกทั้งยังเป็นการรบกวนการหายของแผลตามปกติอีกด้วย ควรใช้วิธีการบ้วนปากด้วยน้ำเกลือเพื่อนำเศษอาหารออกมาจะดีกว่า
  5. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการใช้หลอดดูด: การออกแรงดูดจะทำให้แผลหายไม่เป็นไปตามปกติ เนื่องจากจะมีการรบกวนลิ่มเลือดที่ก่อตัวมาปิดปากแผล ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้แรงดูดใน 24 ชั่วโมงแรกภายหลังการผ่าฟันคุด

ระยะที่ 2: การทำความสะอาดหลังจากผ่านการผ่าฟันคุดไปแล้ว 1 วัน

เมื่อผ่าน 24 ชั่วโมงแรกไปแล้ว เลือดควรจะหยุดไหลแล้ว แต่แผลอาจจะยังคงมีการปวดอยู่บ้าง ในบางรายอาจเริ่มมีการบวมของแผลและใบหน้าร่วมด้วย ดังนั้น วิธีการดูแลตัวเองในวันที่ 2 จึงมีดังนี้

  1. ทำความสะอาดช่องปากด้วยน้ำเกลือ: เพื่อช่วยทำความสะอาดในปากและช่วยลดการอักเสบของแผลผ่าฟันคุด โดยจะใช้น้ำเกลือที่ผสมเอง หรือน้ำเกลือที่มีขายตามร้านขายยาก็ได้เช่นเดียวกัน
  2. กลั้วด้วยน้ำเกลือเบา ๆ ให้ทั่วทั้งปาก: ใช้เวลากลั้วประมาณ 30 วินาที-1 นาที เพื่อให้เศษอาหารที่อาจตกค้างตามแผลหลุดออกมา อีกทั้งยังช่วยให้แผลหายดีขึ้นด้วย
  3. กลั้วได้บ่อยครั้ง: น้ำเกลือสามารถบ้วนได้ทุก 2 ชั่วโมง หรือบ้วนได้หลังมื้ออาหาร รวมถึงก่อนเข้านอน วิธีการนี้จะช่วยให้ปากสะอาดและแผลหายเร็ว
  4. ใช้กระบอกฉีดช่วยทำความสะอาดแผล: ใช้น้ำเกลืออุ่น ๆ บรรจุหลอดและฉีดเข้าไปในบริเวณใกล้ ๆ แผลเพื่อช่วยทำความสะอาดช่องปาก แต่ต้องระมัดระวังไม่ให้ปากกระบอกฉีดโดนถูกแผลโดยตรง เนื่องจากอาจไปทำให้ลิ่มเลือดที่มาปิดแผลโดนฉีดออกไป เกิดแผลแยกได้ ทั้งนี้ ควรปรึกษาทันตแพทย์ก่อนการตัดสินใจใช้กระบอกฉีดน้ำเกลือเพื่อล้างแผล

ระยะที่ 3: การดูแลตนเองภายหลังการผ่าฟันคุดจนกว่าจะถึงกำหนดนัดตัดไหม

หลังจากผ่านไปประมาณ 2-3วัน แผลมักจะมีอาการดีขึ้นมาก อาการบวมควรจะค่อย ๆ ลดลง รวมถึงอาการเจ็บปวดที่จะทุเลาขึ้นมาก แต่ทั้งนี้ก็มีข้อควรปฏิบัติและข้อควรสังเกต ภายหลังการผ่าฟันคุด ดังนี้

  1. หากมีเศษอาหารเข้าไปติดในบริเวณแผลผ่าฟันคุดที่ยังคงเป็นรูอยู่: เบื้องต้นให้พยายามบ้วนน้ำเพื่อเอาเศษอาหารออก แต่ถ้าไม่สามารถเอาเศษอาหารออกได้จริง ๆ ไม่จำเป็นต้องเอาไม้จิ้มฟันหรือสิ่งแหลมคมไปงัดแงะบริเวณแผล เนื่องจากแผลที่เกิดจากการผ่าฟันคุดจะยังคงหายได้ตามปกติ แม้จะมีเศษอาหารติดอยู่ แต่ถ้าหากไปเขี่ยหรือแคะจนเกิดการอักเสบบริเวณแผล จะทำให้แผลหายช้าลงได้
  2. อาจสังเกตเห็นชิ้นเนื้อเยื่อเหงือก ต้องแยกให้ออกว่าไม่ใช่เศษอาหาร: เนื้อเยื่อของเหงือกที่กำลังจะหาย จะเป็นชิ้น ๆ มีลักษณะเป็นสีขาวอมเทา หรือสีซีด ๆ และไม่สามารถดึงหรือเขี่ยออกจากแผลได้ ดังนั้น จึงต้องระวังว่าชิ้นเนื้อนั้นไม่ใช่เศษอาหาร การทำความสะอาดแผลที่รุนแรง หรือการพยายามเขี่ยเอาเศษชิ้นเนื้อออกจะทำให้เกิดความเจ็บปวด และถ้าหากชิ้นเนื้อดังกล่าวหลุดออกมา จะทำให้เกิดการติดเชื้อที่แผลผ่าฟันคุดได้
  3. ยังคงต้องรับประทานอาหารอ่อนอยู่: ถึงแม้จะพ้นช่วง 24 ชั่วโมงแรกไปแล้ว ทันตแพทย์มักจะแนะนำให้ทานอาหารกึ่งอ่อนอยู่ จนกว่าแผลจะหายสนิทจริง ๆ หรือถึงเวลาตัดไหม การหลีกเลี่ยงอาหารที่แข็งมาก เหนียว กรุบกรอบ หรือรสจัด จะช่วยให้การหายของแผลเป็นไปได้ตามปกติ และจะช่วยไม่ให้เกิดการอักเสบบริเวณแผลที่มีการผ่าฟันคุด
  4. อาจมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อบริเวณแผลได้: เช่นการจับแผลด้วยมือที่สกปรก หรือการไม่แปรงฟันทำความสะอาดบริเวณแผล รวมถึงการปล่อยให้มีเศษอาหารเป็นจำนวนมากบูดเน่าบริเวณแผลผ่าฟันคุด ดังนั้น จึงควรระมัดระวังในการดูแลสุขภาพช่องปากให้มาก
  5. อาการที่สมควรรีบกลับมาพบทันตแพทย์: ภายหลังการผ่าฟันคุดเสร็จสิ้น หากพบว่ามีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบกลับมาพบทันตแพทย์
    • ยังคงมีเลือดออกอยู่ ภายหลังการรักษาเกิน 1-2 วัน
    • มีหนองบริเวณแผล
    • มีอาการกลืนอาหารลำบาก หรือหายใจลำบาก
    • มีไข้
    • เกิดการบวมมากขึ้น หลังจากผ่าฟันคุดเสร็จแล้ว 2-3 วัน ทั้งที่ช่วงแรกไม่มีอาการบวม
    • มีเลือดหรือหนองปนมากับน้ำมูก
    • ปวดแผลมาก และไม่หายแม้ผ่าฟันคุดเสร็จไปแล้วเกิน 48 ชั่วโมง
    • มีอาการหายใจลำบาก หรือหายใจไม่อิ่ม หลังผ่าฟันคุดไปแล้ว 3 วัน

      หากมีการสังเกตอาการตนเอง และปฏิบัติตนได้ตามวิธีดังกล่าว แผลที่เกิดจากการผ่าฟันคุดจะหายได้อย่างเป็นปกติ รวมถึงผลข้างเคียงจากการผ่าฟันคุดก็เกิดขึ้นได้น้อย อีกทั้งยังจะทำให้สุขภาพช่องปากและการดำรงชีวิตกลับมาเป็นปกติได้อย่างรวดเร็ว
  6. ภายหลังการผ่าฟันคุด ส่วนมากทันตแพทย์จะนัดให้กลับมาตัดไหมประมาณ 5-7 วัน ซึ่งการทิ้งไหมที่ใช้เย็บแผลไว้นานเกินไป อาจทำให้มีแบคทีเรียไปติดเชื้อที่บริเวณดังกล่าวได้

คำถามน่ารู้เกี่ยวกับการ ผ่าฟันคุด-ถอนฟันคุด

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง: รักษารากฟัน

ทันตแพทย์ที่ให้บริการ ผ่าฟันคุด

ทันตแพทย์เฉพาะทางของเรา ที่ให้บริการ ผ่าฟันคุด และ ถอนฟันคุด

ทพ. บัณฑิต วิเศษมงคลชัย (หมอบัณฑิต)
สาขา : ศัลยกรรมช่องปาก
ทพญ. ฉัตรชญา พึ่งผูก (หมอตุ๊ก)
สาขา : ศัลยกรรมช่องปาก/ทันตกรรมจัดฟัน/ทันตกรรมรากเทียม
ทพญ. ภารดี คีรีวรรณ (หมอโดนัท)
สาขา : ศัลยกรรมช่องปาก

ค่าบริการ ผ่าฟันคุด-ถอนฟันคุด

อัตราค่าบริการ รวมถึงราคาในการผ่าฟันคุดสามารถดูได้ในตารางด้านล่างนี้

บริการทันตกรรมเฉพาะทางค่าบริการ (บาท)
ถอนฟันคุด ราคา ซี่ละ1,000 – 2,000
ผ่าฟันคุด ราคา ซี่ละ3,000 – 5,000

ตาราง: ค่าบริการ ถอนฟันคุด-ผ่าฟันคุด

สามารถใช้สิทธิทำฟันประกันสังคมหักลดได้ 900 บาทต่อปีทันที โดยไม่ต้องสำรองจ่าย สำหรับการใช้สิทธิประกันสังคม-ทันตกรรมซึ่งได้แก่ การขูดหินปูน การอุดฟัน การถอนฟัน และการผ่าฟันคุด หรือการถอนฟันคุด กรุณาพกบัตรประชาชนมาด้วยสำหรับการใช้สิทธิ

สิทธิทำฟันประกันสังคมนี้จะไม่ครอบคลุมถึง การรักษารากฟัน การครอบฟัน ไม่ว่าจะเป็นการครอบฟันน้ำนมหรือการครอบฟันแท้ แต่สามารถใช้สิทธิประกันสุขภาพเบิกได้ โดยมีเงื่อนไขแตกต่างกันไปตามประเภทกรมธรรม์ กรุณาตรวจสอบเงื่อนไขการเบิกจ่ายกับทางเจ้าหน้าที่ของบริษัทประกันภัย หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลก่อนใช้บริการ

เวลาทำการ

เวลาทำการสำหรับนัดหมาย ทันตกรรมเด็ก
จันทร์-เสาร์10:00 – 19:00 น.
อาทิตย์10:00 – 12:00 น.

แผนที่

แผนที่ SmileDC

สอบถามนัดหมาย

โทร 096-942-0057 คลินิกทันตกรรม SmileDC
เฟสบุ๊คแชทหาเรา คลินิกทันตกรรม SmileDC
ไลน์แชทหาเรา คลินิกทันตกรรม SmileDC
ผู้ชายที่ยิ้มเห็นฟันเหลือง

รู้ทันสาเหตุฟันเหลือง และวิธีทำฟันขาว คืนความมั่นใจ

ชวนไปรู้ทันสาเหตุของปัญหาฟันเหลืองที่บั่นทอนความมั่นใจ พร้อมมีวิธีแก้ฟันเหลืองอย่างปลอดภัยสำหรับทุกช่วงวัย มาบอกกันในบทความนี้
อ่านเพิ่มเติม
ทำฟัน ประกันสังคม ทันตกรรม ทำฟันฟรี 900 บาทต่อปี ไม่ต้องสำรองจ่าย เบิกอะไรได้บ้าง

ตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับสิทธิทำฟันประกันสังคม 900 บาท

สิทธิทำฟันประกันสังคม 900 บาท ทำอะไรได้บ้างแบบไม่ต้องสำรองจ่าย พามาดูเงื่อนไขการใช้สิทธิประกันสังคมในการใช้บริการทางทันตกรรม
อ่านเพิ่มเติม
ทันตแพทย์รักษารากฟัน แตกต่างจากทันตแพทย์ทั่วไปอย่างไร

ทันตแพทย์รักษารากฟัน แตกต่างจากทันตแพทย์ทั่วไป อย่างไร?!

หลายๆคนอาจกำลังสงสัยว่า ทันตแพทย์รักษารากฟัน มีความแตกต่างจากทันตแพทย์ทั่วไปอย่างไร มาเรียนรู้ถึงความแตกต่างระหว่างทันตแพทย์รักษารากฟันกับ…
อ่านเพิ่มเติม
รักษารากฟันเจ็บไหม

รักษารากฟันเจ็บไหม? ครบทุกเรื่องที่สงสัย!?

รักษารากฟันเจ็บไหม? เป็นคำถามที่หลายๆคนอยากจะรู้ เพื่อช่วยประเมินก่อนการตัดสินใจทำการรักษารากฟัน ถ้าอยากรู้แล้ว เรามาพบกับคำตอบสำหรับคำถามนี้ไปพร้อมๆกันได้ในโพสต์นี้กันเลยค่ะ
อ่านเพิ่มเติม
5 เหตุผล ทำไมต้องรักษารากฟัน

ทำไมต้องรักษารากฟัน!?

สำหรับคำถามที่ว่า ทำไมต้องรักษารากฟัน มีเหตุผลและความจำมั๊ย มีขั้นตอนอย่างไร พร้อมพบกับ 5 เหตุผล โดย ทันตแพทย์เฉพาะทางรักษารากฟัน เพื่อช่วยตัดสินใจว่า ทำไมจึงควร…
อ่านเพิ่มเติม