เผยแพร่ครั้งแรก 24 กุมภาพันธ์ 2022
แก้ไขล่าสุด 31/01/2023
ทันตแพทย์รักษารากฟัน แตกต่างจากทันตแพทย์ทั่วไปอย่างไร?!
หลายๆคนอาจจะกำลังสงสัยว่า ทันตแพทย์รักษารากฟัน มีความแตกต่างจาก ทันตแพทย์ทั่วไปอย่างไร มาเรียนรู้ถึง ความแตกต่าง ระหว่างทันตแพทย์รักษารากฟัน กับทันตแพทย์ทั่วไป กันได้ในโพสต์นี้นะคะ
ทันตแพทย์ทั่วไป และทันตแพทย์รักษารากฟัน มีบทบาทที่แตกต่างกันมาก ในการดูแลสุขภาพฟันของผู้ป่วย แม้ว่าทั้งสองสาขา จะให้บริการบางอย่างเหมือนกัน แต่ทันตแพทย์รักษารากฟัน จะมีหน้าที่รับผิดชอบที่เฉพาะเจาะจง ในการรักษารักษาฟัน หรือการรักษาคลองรากฟัน บทความนี้จะช่วยอธิบายถึงความแตกต่างเหล่านี้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
อะไรคือความแตกต่างที่สำคัญระหว่างทันตแพทย์รักษารากฟันและทันตแพทย์ทั่วไป?
เราจะพูดถึงความแตกต่างที่สำคัญระหว่างทันตแพทย์รักษารากฟันและทันตแพทย์ทั่วไป มาดูไปพร้อมๆกันในสาระสำคัญของความแตกต่างเหล่านี้กันได้เลยค่ะ
ความแตกต่างระหว่าง ทันตแพทย์รักษาฟัน กับ ทันตแพทย์ทั่วไป
1. ทันตแพทย์รักษารากฟันจำเป็นต้องมีการศึกษาต่อเฉพาะทางขั้นสูง
หลังจากจบการศึกษาทันตแพทย์ศาสตร์ในรั้วมหาวิทยาลัย ทันตแพทย์รักษารากฟันจำเป็นจะต้องใช้เวลาอีก 2-3 ปี ในการศึกษาเพิ่มเติมในหลักสูตรเฉพาะทางขั้นสูงเพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการรักษารากฟัน ซึ่งจำเป็นต้องศึกษาเฉพาะทางทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติสำหรับขั้นตอนและวิธีการรักษารากฟัน โดยจะศึกษาเฉพาะทางเกี่ยวกับโรคของเนื้อฟัน การรักษาคลองรากฟัน และเทคนิคการผ่าตัด
สำหรับขั้นตอนการรักษารากฟัน เพื่อเอาเนื้อเยื่อที่อักเสบหรือเกิดการติดเชื้อ ออกจากด้านในของฟันและปิดทับด้วยวัสดุอุดฟัน ทันตแพทย์รักษารากฟันจะต้องมีการฝึกอบรมพิเศษในการดำเนินการตามขั้นตอนเหล่านี้
ทั้งนี้ในการฝึกอบรมของทันตแพทย์รักษารากฟันจะประกอบด้วย การเรียนรู้กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา และพยาธิวิทยาของฟัน ดำเนินการวินิจฉัยอย่างละเอียดและกำหนดแผนการรักษาที่ดีที่สุด รักษาโรคทางทันตกรรมต่างๆ รวมทั้งฟันผุ โรคเหงือก การติดเชื้อที่รากฟันและปริทันต์อักเสบปลาย และให้การดูแลผู้ป่วยอย่างครอบคลุม
2. ทันตแพทย์รักษารากฟันจะมีทักษะและความชำนาญเฉพาะทาง
ทันตแพทย์รักษารากฟันจะเน้นเฉพาะการรักษาเนื้อฟันเพื่อจำกัดการรักษาเฉพาะการรักษารากฟัน ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วจะมีการฝึกอบรมให้ได้มีการรักษารากฟันที่ค่อนข้างเยอะมากกว่า เมื่อเทียบกับทันตแพทย์ทั่วไป ซึ่งทำให้ทันตแพทย์รักษารากฟัน จะมีความชำนาญเป็นพิเศษในการตรวจและวินิจฉัยถึงสาเหตุของอาการปวดในช่องปากและใบหน้า ซึ่งปกติแล้วเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก หากไม่มีประสบการณ์ในการักษาที่มากเพียงพอ โดยทันตแพทย์รักษารากฟัน มักจะเชี่ยวชาญในการรักษารากฟันที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียจากฟันผุ นอกจากนี้อาจทำการผ่าตัดรากฟันและกระดูกที่รองรับฟันร่วมด้วย
3. ทันตแพทย์รักษารากฟัน คือ ผู้เชี่ยวชาญการจัดการความเจ็บปวด
การรักษารากฟันเพื่อบรรเทาอาการปวดฟัน เป็นหนึ่งในความเชี่ยวชาญที่สำคัญของ ทันตแพทย์รักษารากฟันที่มีประสบการณ์เพียงพอในการรักษาอาการปวดฟัน สามารถช่วยกำจัด หรือ ลดความเจ็บปวดลงได้ สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดประการหนึ่ง ที่ทำให้จำเป็นต้องรักษารากฟัน คือ เมื่อมีฟันที่ผุเป็นโพรงลึก ภาวะนี้ทำให้ เส้นประสาทของฟันเกิดการอักเสบได้
ทันตแพทย์รักษารากฟันจะใช้เทคนิคพิเศษ เพื่อทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายในระหว่างการรักษา โดยทันตแพทย์จะเป็นผู้เชี่ยวชาญบริหาร และสั่งจ่ายยาให้กับผู้ป่วย ที่มีปัญหาในทางด้าน การอักเสบของรากฟัน เพื่อที่จะรักษาผู้ป่วยได้อย่างสบาย ให้ได้รับการบรรเทาจากอาการปวดฟันหลังจากทำการรักษารากฟัน ที่มีการติดเชื้อ หรือการอักเสบของเส้นประสาทภายในโพรงประสาทฟัน
4. ทันตแพทย์รักษารากฟัน จะใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
ทันตแพทย์รักษารากฟันจะมีเครื่องมือและเทคโนโลยีที่หลากหลาย ที่ใช้เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้รับผลลัพธ์ที่ดีขึ้นจากการรักษา เช่น การถ่ายภาพเอ็กซ์เรย์แบบดิจิทัล ซึ่งช่วยให้ทันตแพทย์รักษารากฟัน สามารถถ่ายภาพกายวิภาคของฟันขนาดเล็กที่มีรายละเอียด เพื่อดูคลองรากฟันและการติดเชื้อที่เกี่ยวข้องได้ดีขึ้น ทั้งนี้เพราะภายในโพรงประสาทฟันจะมีพื้นที่ขนาดเล็กมาก ทันตแพทย์รักษารากฟันจำเป็นต้องใช้กล้อง Microscope ปฏิบัติการทางทันตกรรมเพื่อตรวจสอบภายในคลองรากฟันเพื่อทำความสะอาดและรักษรากฟันอย่างทั่วถึง เพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อ ซึ่งเครื่องมือนี้ใช้โดยทันตแพทย์รักษารากฟัน ในระหว่างการรักษาคลองรากฟัน
รักษารากฟัน คืออะไร?
การรักษารากฟัน หรือ รักษารากฟัน (Root Canal Treatment) คือ กระบวนการกำจัด การติดเชื้อในบริเวณโพรงประสาทฟัน หรือ คลองรากฟัน ที่ปกติจะเป็นจุดที่สะอาดที่สุดของฟัน เนื่องจากมีเนื้อเยื่อฟันที่แข็งแรง ล้อมรอบบริเวณรากฟันเอาไว้ โดยกระบวน การรักษารากฟัน จะมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้ บริเวณโพรงประสาทฟัน กลับเข้าสู่สภาวะปลอดเชื้อ เหมือนในฟันปกติ
ในการทำความสะอาด และ กำจัดเชื้อจุลชีพ ทันตแพทย์จะใช้วิธีหลายๆอย่างร่วมกัน ทั้งการใส่ยาที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อการทำความสะอาด โดยวิธีขูดเอาเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อออก และ การล้างโพรงประสาทฟัน ด้วยน้ำยา ที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ ภายหลังกระบวนการ รักษาคลองรากฟัน เสร็จสิ้น ทันตแพทย์จะ แนะนำให้ทำการบูรณะฟันซี่นั้นๆ ด้วยการปักเดือยฟัน และทำการครอบฟัน ไม่ว่าจะเป็นการทำครอบฟันน้ำนมสำหรับเด็กหรือการทำครอบฟันแท้สำหรับผู้ใหญ่ เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันซี่นั้นแตกภายหลังการรักษารากฟันเสร็จสมบูรณ์
รากฟัน คืออะไร?
รากฟัน คือ ส่วนของฟันที่อยู่ใต้เหงือกลึกลงไปในเบ้าฟัน รากฟัน จะฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรและถูกคลุมทับด้วยเหงือก ประกอบด้วย เคลือบรากฟัน (Cementum) ที่มีสีเหลืองอ่อนเป็นส่วนชั้นนอกสุดของรากฟัน หุ้มรากฟันไว้ ซึ่งทำหน้าที่เป็นที่ยึดให้รากฟันติดกับกระดูก โดยเคลือบรากฟันนี้ โดยปกติจะมีความแข็งน้อยกว่าชั้นเคลือบฟัน
ภายใน รากฟัน นี้จะประกอบด้วย โพรงประสาทฟัน ที่อยู่ชั้นในสุดของฟันและเป็นศูนย์รวมของทั้งเส้นเลือดและเส้นประสาทฟัน ดังนั้นหากมีการผุจนทะลุถึงโพรงประสาทฟัน เราจะรู้สึกปวดฟันซี่นั้นๆนั่นเอง นอกจากนี้จำนวน รากฟัน ในฟันแต่ละซี่จะมีจำนวนไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและขนาดของฟัน เช่น ฟันหน้า จะมีรากฟัน 1 ราก ส่วนฟันกราม จะมีรากฟัน จำนวน 2 – 4 ราก
ขั้นตอนรักษาของ ทันตแพทย์รักษารากฟันเฉพาะทาง
สำหรับขั้นตอนการรักษารากฟัน โดยทันตแพทย์เฉพาะทางรักษารากฟัน จะมีขั้นตอนในการรักษา ดังต่อไปนี้
- ทันตแพทย์เฉพาะทางรักษารากฟัน จะทำการซักประวัติสุขภาพอย่างละเอียด
- หลังจากนั้น ทันตแพทย์รักษารากฟันเฉพาะทาง จะทำการ X-Ray หรือ ถ่ายภาพรังสีของฟัน เพื่อตรวจดูลักษณะโครงสร้างของฟันและรากฟัน
- ทันตแพทย์จะทำการวัดความดัน และ ตรวจดูความพร้อมสำหรับการฉีดยาชาเฉพาะที่
- คุณหมอรักษารากฟัน จะทำการฉีดยาชาเฉพาะที่ และทำการเช็คอาการชา
- จากนั้น ทันตแพทย์เฉพาะทางรักษารากฟัน จะทำการใส่แผ่นยางกันน้ำลาย
- ทันตแพทย์รักษารากฟัน จะทำการกำจัดรอยผุออกจนหมด
- ในขั้นตอนนี้ ทันตแพทย์เฉพาะทางรักษารากฟัน จะเริ่มทำการเปิดโพรงฟันให้กว้างพอที่จะเข้าทำงาน
- จากนั้น ทันตแพทย์เฉพาะทางรักษารากฟัน จะทำการทำการวัดความยาวของรากฟัน
- ทันตแพทย์เฉพาะทางรักษารากฟัน จะเริ่มทำความสะอาดบริเวณโพรงประสาทฟันและปลายรากฟัน
- หลังจากได้พบคุณหมอรักษารากฟันเพื่อทำการรักษารากฟันประมาณ 1-2 ครั้ง คุณหมอเฉพาะทางรักษารากฟัน จะทำการอุดฟันด้วยวัสดุกัตตาเปอร์ชา
- ในขั้นตอนสุดท้ายนี้ ทันตแพทย์เฉพาะทางรักษารากฟัน จะทำการอุดฟันด้วยวัสดุอุดฟันชั่วคราว ซึ่งจะเป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนการรักษารากฟันและพร้อมส่งต่อให้ ทันตแพทย์เฉพาะทางครอบฟัน เพื่อทำการครอบฟันต่อไป
บทสรุป – ทันตแพทย์รักษารากฟัน แตกต่างอย่างไร?
หากคุณมีฟันผุ ที่มีการติดเชื้อในโพรงประสาทรากฟัน และ ได้รับการตรวจโดยทันตแพทย์รักษารากฟันเฉพาะทางแล้วว่า มีความจำเป็นต้องทำ การรักษารากฟัน คุณควรไปพบ ทันตแพทย์เฉพาะทางรักษาฟันโดยเร็ว เพื่อดูแลปัญหาดังกล่าว
ทันตแพทย์รักษารากฟันจะมีความแตกต่างจากทันตแพทย์ทั่วไปตรงที่ เป็นผู้เชี่ยวชาญ ที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี และมีประสบการณ์ในการรักษา ที่มุ่งเน้นเฉพาะทางสำหรับการรักษารากฟัน มีการใช้เทคนิคพิเศษ เพื่อทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายในระหว่างการรักษา สุดท้าย ทันตแพทย์รักษรากฟันจะมีเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อช่วยให้ได้รับผลลัพธ์การรักษารรากฟันที่ดีที่สุด และช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จที่ดียิ่งขึ้น
การรักษารากฟันถึงแม้จะเป็นวิธีการที่ยุ่งยากและซับซ้อน แต่ก็มีข้อดีที่ทำให้สามารถเก็บรักษาฟันเอาไว้ในช่องปากได้ การรักษาจะได้ผลสำเร็จดีที่สุด หากเจ้าของฟันให้ความร่วมมือกับทันตแพทย์ในขั้นตอนการรักษา มาตามเวลาที่นัดหมายจนเสร็จสมบูรณ์ แต่ทั้งนี้ วิธีการที่ดีที่สุดในการรักษาฟันเอาไว้ในช่องปาก คือ การดูแลรักษาความสะอาดช่องปากอย่างดี แปรงฟันบ่อยๆอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง รวมถึงมาพบทันตแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพฟันทุก 6 เดือน
ทันตแพทย์รักษารากฟันเฉพาะทาง
แนะนำทันตแพทย์รักษารากฟัน ที่คลินิกทันตกรรม SmileDC
ทันตแพทย์เฉพาะทาง รักษารากฟัน ของเรา ได้แก่ คุณหมอแนน (ทพญ.ณัฐธิดา ตั้งสุขสมบูรณ์) และ คุณหมอเบญ (ทพญ. เบญจพร สมิทธิเศรษฐ์) ซึ่งเป็นทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการรักษารากฟันประจำคลินิก
คุณหมอรักษารากฟันทั้ง 2 ท่าน ใจดี มือเบา ให้บริการตรวจ ให้คำปรึกษา อธิบายขั้นตอน วิธีรักษารากฟัน แจ้งค่าบริการ ราคา รักษารากฟัน ให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการ เพื่อให้ลูกค้าได้มีข้อมูลอย่างครบถ้วนสำหรับการตัดสินใจก่อนทำการรักษารากฟัน ด้วยความมั่นใจในมาตรฐานเครื่องมือที่ทันสมัย ระบบปลอดเชื้อมาตรฐานโรงพยาบาล และอุ่นใจกับทีมทันตแพทย์เฉพาะทางรักษารากฟัน ที่คลินิกทันตกรรม SmileDC ของเราค่ะ
ทพญ.ณัฐธิดา ตั้งสุขสมบูรณ์
(หมอแนน)
สาขา วิทยาเอนโดดอนต์ (รักษารากฟัน)
เวลาออกตรวจ
ทุกวันเสาร์ที่ 1 3 และ 5 ของเดือน
เวลา 10:00 – 19:00
ทพญ. เบญจพร สมิทธิเศรษฐ์
(หมอเบญ)
สาขา วิทยาเอนโดดอนต์ (รักษารากฟัน)
เวลาออกตรวจ
ทุกวันพุธที่ 2 ของเดือน
ทุกวันพฤหัสที่ 1 3 และ 5 ของเดือน
เวลา 10:00 – 19:00