ทำฟัน ประกันสังคม คืออะไร?
สิทธิทำฟันประกันสังคม คือ สิทธิที่ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และ 39 จะสามารถใช้สิทธิทางทันตกรรม สำหรับบริการ ขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน และถอน/ผ่าฟันคุด ได้ฟรี โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งในการรับบริการ ภายในวงเงิน 900 บาท/ปี
ประกันสังคม ทำฟัน ฟรี 900 บาท/ปี ไม่ต้องสำรองจ่าย
หากคุณเป็นผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคม มาตรา 33 และ มาตรา 39 ที่ทำการส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน รวมถึงในกรณีที่คุณลาออกจากงานแล้ว ประกันสังคมยังให้สิทธิคุ้มครองค่าทำฟันฟรีต่อให้คุณอีก 6 เดือน โดยรายละเอียดการทำฟันประกันสังคม ที่รวมอยู่ในสิทธิประโยชน์ ได้แก่ การขูดหินปูน การอุดฟัน การถอนฟัน และการผ่าตัดฟันคุด ซึ่งทางคลินิกทันตกรรม จะให้สิทธิคุณทำฟันรายการดังกล่าว 900 บาทต่อปี โดยที่คุณไม่ต้องสำรองเงินจ่ายก่อน รวมถึงคุณยังสามารถเบิกค่าใส่ฟันเทียมหรือการทำฟันปลอมได้อีกด้วย
หัวข้อที่น่าสนใจของการ ทำฟัน ประกันสังคม
- ทำฟัน ประกันสังคม คืออะไร?
- ประกันสังคม ทำฟัน ฟรี 900 บาท/ปี ไม่ต้องสำรองจ่าย
- ทำฟันประกันสังคม ทำอะไรได้บ้าง
- สิทธิการทำฟันปลอม ประกันสังคม
- ประกันสังคม ทำฟันที่ไหนได้บ้าง?
- เลือกคลินิกทำฟันประกันสังคมใกล้ฉัน ที่ไหนดี?
- การเบิกค่าทำฟันปลอม ประกันสังคม ทำอย่างไร?
- ใครสามารถทำฟันประกันสังคม แบบไม่ต้องสำรองจ่ายได้บ้าง?
- บทสรุป – การทำฟันประกันสังคม
- อ่านบทความอื่นที่น่าสนใจ
ทำฟันประกันสังคม ทำอะไรได้บ้าง
การใช้สิทธิประกันสังคมทางทันตกรรม ซึ่งได้ให้สิทธิสำหรับผู้ประกันตน สามารถเข้ารับการรักษาบริการทางทันตกรรม ได้ดังต่อไปนี้
1. สิทธิขูดหินปูน ประกันสังคม
เป็นสิทธิการได้รับบริการทำฟันสำหรับผู้ประกันตนที่มีสิทธิ “ประกันสังคม>ทันตกรรม” สำหรับการขูดหินปูนด้วยวิธีการขจัดคราบหินปูนที่เกาะอยู่บริเวณฟัน และซอกฟันให้หลุดออก โดยการใช้เครื่องมือทางทันตกรรม เพื่อคงไว้ซึ่งสุขภาพฟัน และช่องปากที่แข็งแรง และช่วยป้องกันโรคเหงือกและฟันที่อาจเกิดขึ้นได้ จากการสะสมของคราบหินปูนในปริมาณมากๆ โดยปกติแล้วทันตแพทย์จะแนะนำให้ขูดหินปูน เพื่อทำความสะอาดคราบหินปูนสะสมในทุกๆ 6 เดือน
2. สิทธิการอุดฟัน ประกันสังคม
คือ สิทธิสำหรับผู้ประกันตน ในการรับการรักษาทางทันตกรรม สำหรับการอุดฟัน ได้แก่ การบูรณะหรือการซ่อมแซมเนื้อฟันที่มีรอยผุ โดยทันตแพทย์เพื่อให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ โดยฟันที่ยังสามารถอุดได้ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นฟันที่ยังไม่มีอาการปวด หรือบวมอักเสบ ซึ่งโดยส่วนมากแล้ว วัสดุที่ทันตแพทย์ใช้ในการอุดฟันจะมีอยู่ 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่ วัสดุอุดฟันสีขาวหรือคอมโพสิตเรซิน (Composite Resin) และ วัสดุอุดฟันสีเงินหรืออมัลกัม (Amalgam)
3. สิทธิถอนฟัน ประกันสังคม
คือ สิทธิประกันสังคมทางทันตกรรม ที่ผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิถอนฟันในกรณีฟันที่ผุมาก เช่น ฟันที่ผุจนทะลุถึงโพรงประสาทรากฟัน หรือมีฟันที่ผุมากจนเหลือแต่ตอและมีอาการที่ปวดฟันมากร่วมด้วย และผู้ประกันตนไม่ประสงค์ที่จะทำการรักษารากฟันและครอบฟันเพื่อเก็บฟันซี่นั้นไว้ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ซึ่งการรักษารากฟันและครอบฟันนี้จะไม่ครอบคลุมอยู่ในสิทธิทำฟันประกันสังคม ซึ่งในกรณีนี้ ผู้ประกันตนสามารถตัดสินใจใช้สิทธิถอนฟันประกันสังคมได้เช่นเดียวกัน
4. สิทธิถอนฟันคุด หรือผ่าฟันคุด ประกันสังคม
เป็นสิทธิที่ผู้ประกันตนที่สามารถใช้สิทธิทำฟันประกันสังคม สำหรับการผ่าฟันคุดหรือถอนฟันคุดซึ่งได้แก่ การรักษาทางทันตกรรมเพื่อเอาฟันกรามซี่ที่ 3 ซึ่งเป็นซี่สุดท้ายในขากรรไกรที่ไม่สามารถโผล่ขึ้นมาในช่องปากได้ออก โดยฟันซี่ดังกล่าวอาจฝังตัวอยู่ในกระดูกขากรรไกรหรืออยู่ในเหงือก ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่างๆ เช่น ปวดหรือบวมได้ และถ้าเกิดอาการเหล่านี้ขึ้น ฟันซี่นั้นๆ ก็จำเป็นต้องได้รับการเอาออกโดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
โดยแต่ละปีที่ผู้ประกันตนมาใช้สิทธิรับการรักษาทางทันตกรรม จะมีวงเงินให้ปีละ 900 บาท ถ้าหากว่า การใช้สิทธิทำฟันประกันสังคม มีค่าใช้จ่ายมากเกินกว่า 900 บาท ผู้ประกันตนจะต้องสำรองจ่ายส่วนต่างเองค่ะ
สิทธิการทำฟันปลอม ประกันสังคม
นอกเหนือจากสิทธิทำฟันประกันสังคม ในการขูดหินปูน, อุดฟัน, ถอนฟัน และผ่าฟันคุดแล้ว ประกันสังคมยังให้สิทธิผู้ประกันตนในการเบิกค่ารักษา ฟันปลอม ภายในเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ใส่ฟันปลอม โดยรายละเอียดของฟันปลอม จะแยกเป็น 2 กรณี ดังนี้
1. ฟันปลอมชนิดถอดได้บางส่วน
- ฟันปลอมจำนวน 1-5 ซี่ เบิกได้เท่ากับที่จ่ายจริง ในวงเงินไม่เกิน 1,300 บาท
- ฟันปลอมจำนวน 5 ซี่ เบิกได้เท่ากับที่จ่ายจริง ในวงเงินไม่เกิน 1,500 บาท
2. ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปาก
- ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปาก บนหรือล่าง เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ในวงเงินไม่เกิน 2,400 บาท ในระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ใส่ฟันปลอม
- ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปาก บนและล่าง เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ในวงเงินไม่เกิน 4,400 บาท ในระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ใส่ฟันปลอม
ประกันสังคม ทำฟันที่ไหนได้บ้าง?
ผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิในการรักษาฟันได้ทั้ง โรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชน และคลินิกทันตกรรม แต่จะต้องเป็นสถานพยาบาลที่ได้ทำสัญญาไว้กับทางสำนักงานประกันสังคม
โดยสถานพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ มักจะมีป้ายประชาสัมพันธ์ หรือมีสติกเกอร์ของทางสำนักงานประกันสังคมแจ้งติดเอาไว้หน้าคลินิกว่า “สถานพยาบาลแห่งนี้ให้บริการผู้ประกันตน กรณีทันตกรรม ‘ทำฟัน’ ไม่ต้องสำรองจ่าย” ซึ่งจะเป็นคลินิกทันตกรรมที่เป็นคู่สัญญากับสำนักงานประกันสังคม และสามารถให้ผู้ประกันตนเข้าใช้สิทธิทำฟันประกันสังคม ได้โดยไม่จำเป็นต้องสำรองจ่ายล่วงหน้า
ทางคลินิกทันตกรรม SmileDC ให้บริการทำฟันประกันสังคม โดยผู้ประกันตนในมาตรา 33 และมาตรา 39 ไม่ต้องสำรองจ่าย 900 บาท/ปี เหลือจ่ายแค่ส่วนที่เกินจากสิทธิที่ได้รับเท่านั้นค่ะ รวมถึงในกรณีของการใส่ฟันปลอม ทางคลินิกทันตกรรม SmileDC สามารถให้การรักษาใส่ฟันปลอม และออกใบเสร็จและใบรับรองแพทย์ เพื่อให้ผู้ประกันตนสามารถไปเบิกค่ารักษาพยาบาลคืนจากทางสำนักงานประกันสังคมได้เช่นเดียวกันค่ะ
เลือกคลินิกทำฟันประกันสังคมใกล้ฉัน ที่ไหนดี?
หากคุณเป็นหนึ่งในผู้ประกันตน ที่ยังไม่ได้ใช้สิทธิในการรักษาทางทันตกรรม คุณสามารถติดต่อไปยังคลินิกทันตกรรม ที่มีสัญลักษณ์ “ทำฟัน ประกันสังคม ไม่ต้องสำรองจ่าย” ที่คุณสะดวก เพื่อเช็คสิทธิคงเหลือของคุณ ว่ายังเหลือวงเงินในการทำฟันอยู่ที่เท่าไหร่ โดยวิธีการในการเช็คสิทธิก็ไม่ยุ่งยาก เพียงคุณเตรียมบัตรประชาชนไปเท่านั้น ทางสถานพยาบาลจะสามารถเช็คสิทธิคงเหลือของคุณได้ทันที
คุณสามารถนัดหมายทำฟันประกันสังคม ได้ที่คลินิกทันตกรรม SmileDC ที่มีมาตรฐาน มีทันตแพทย์เฉพาะทางที่พร้อมให้คำแนะนำในการรักษาฟันให้คุณ และมีการฆ่าเชื้อเครื่องมืออย่างถูกต้อง ตามที่กระทรวงสาธารณสุขให้การรับรอง เพื่อให้มั่นใจว่าจะได้รับการรักษาที่มีคุณภาพ และปลอดภัยค่ะ
การเบิกค่าทำฟันปลอม ประกันสังคม ทำอย่างไร?
สำหรับ เอกสารที่ใช้ในการยื่น เพื่อใช้เบิกค่าทำ ฟันปลอม ประกันสังคม มีดังนี้
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีทันตกรรม (สปส.2-16)
- ใบรับรองแพทย์
- ใบเสร็จรับเงิน
- เวชระเบียนของแพทย์ผู้รักษา (ที่บันทึกการรักษา กรณีทำฟันปลอมถอดได้)
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี ของผู้ประกันตน โดยมีธนาคารที่คุณสามารถรับค่ารักษาคืนได้อยู่ 10 แห่ง ดังนี้
ธนาคารที่ผู้ประกันตนสามารถรับค่ารักษาคืนได้:
- ธนาคารกรุงไทย
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
- ธนาคารกรุงเทพ
- ธนาคารกสิกรไทย
- ธนาคารไทยพานิชย์
- ธนาคารทีทีบี
- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
- ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย
- ธนาคารออมสิน
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
โดยนำเอกสารทั้งหมด ยื่นต่อสาขาสำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ ภายในระยะเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่เข้ารับบริการ ที่ระบุเอาไว้ในใบรับรองแพทย์ เพียงเท่านี้ คุณก็สามารถขอรับสิทธิค่าทำฟันปลอม ได้จากสำนักงานประกันสังคมแล้วค่ะ
ใครสามารถทำฟันประกันสังคม แบบไม่ต้องสำรองจ่ายได้บ้าง?
ผู้ที่จะสามารถใช้สิทธิในการรักษาทาง ทันตกรรม ประกันสังคม ได้นั้น จะต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และ 39 เท่านั้น (ผู้ประกันตนตามมตรา 40 จะไม่มีสิทธิในข้อนี้) โดยผู้ประกันตน จะต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนที่จะถึงเดือนที่ผู้ประกันตนจะมาใช้บริการ ทำฟันประกันสังคม แต่ในกรณีที่ผู้ประกันตนลาออกจากงาน หลังจากที่ส่งเงินสมทบครบ 3 เดือนแล้ว ผู้ประกันตนจะยังมีสิทธิทำฟันต่อไปได้อีก 6 เดือน นับจากวันที่ผู้ประกันตนลาออก ดังนั้นผู้ประกันตนสามารถนัดหมายเข้ารับการรักษาได้อย่างไม่ต้องกังวลนะคะ
บทสรุป – การทำฟันประกันสังคม
หากคุณเป็นคนหนึ่ง ที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม คุณจะมีสิทธิในการเข้ารับการรักษาทางทันตกรรม โดยไม่ต้องสำรองจ่ายได้ 900 บาท/ปี ดังนั้น คุณสามารถรักษาสิทธิของตัวคุณเองได้ โดยการทำนัดหมายเข้ารับการตรวจรักษา ไม่ว่าจะเป็นการใช้สิทธิสำหรับการขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน ผ่าฟันคุด หรือแม้แต่การทำฟันปลอมได้แล้ววันนี้ ที่คลินิกทันตกรรมที่มีสัญลักษณ์ของการทำฟัน ประกันสังคม โดยไม่ต้องสำรองจ่ายค่ะ
สอบถามนัดหมาย – ใช้สิทธิทำฟันประกันสังคม
กรณีมีคำถามเพิ่มเติม ตรวจสอบค่าบริการทันตกรรม หรือต้องการนัดหมายการใช้ สิทธิทำฟันประกันสังคม สามารถติดต่อได้ตามช่องทางด้านนี้เลยนะคะ ยินดีให้บริการค่ะ
เวลาทำการ-นัดหมายทำฟันประกันสังคม
จันทร์-เสาร์ | 10:00 – 19:00 น. |
อาทิตย์ | 10:00 – 12:00 น. |
เวลาทำการของคลินิกทันตกรรม SmileDC
แผนที่
คลินิกทันตกรรม SmileDC ตั้งอยู่ในโครงการดิไอเฟล บนถนนคู่ขนานกาญจนาภิเษก เขตสะพานสูง/รามคำแหง ฝั่งตรงข้ามวัดลาดบัวขาว ใกล้กับสุเหร่าซีรอ (ซอยมิสทีน รามคำแหง) นะคะ สามารถดูแผนที่ และกดปุ่มด้านล่างเพื่อนำทางด้วย Google Maps มายังคลินิกของเราได้เลยค่ะ