เด็กดูดนิ้ว เกิดจากอะไร มีผลเสียหรือไม่ มีวิธีช่วยให้เลิกดูดนิ้วมั๊ย?

วิธีช่วยเด็กเลิกดูดนิ้ว – แนวทางแก้ไขสำหรับพ่อแม่

แก้ไขล่าสุด 31/05/2024

เด็กดูดนิ้ว มีผลเสียหรือไม่? ทำอย่างไรให้ลูกเลิกดูดนิ้ว?

เด็กดูดนิ้ว (Thumb Sucking) โดยเฉพาะในเด็กทารกและเด็กเล็กถือเป็นเรื่องปกติ และเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาการของเด็ก การดูดนิ้ว หรือการอมนิ้ว มีบทบาทที่สำคัญในการสร้างความรู้สึกอบอุ่นและความรู้สึกปลอดภัยในเด็ก นอกจากนี้ยังเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการสัมผัสและเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ตัวอย่างเช่น การเรียนรู้รูปร่างและลักษณะของวัตถุ และความรู้สึกที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ

รูปเด็กดูดนิ้ว (Thumb Sucking) หรือ อมมือ
เด็กดูดนิ้ว (Thumb Sucking)

ในบทความนี้จะพูดถึงว่า ทำไมเด็กๆถึงชอบดูดนิ้วหรืออมมือ ผลเสียของการดูดนิ้ว และเคล็ดลับที่จะช่วยให้น้องๆเลิกนิสัยติดการดูดนิ้วได้ มาติดตามไปพร้อมๆกันได้เลยค่ะ

ลูกดูดนิ้ว มีผลเสียหรือไม่?

ลูกดูดนิ้ว มีผลเสียหรือไม่?
ลูกดูดนิ้ว มีผลเสียหรือไม่?

เมื่อพูดถึงนิสัยการดูดนิ้วในเด็กเล็ก เราควรเข้าใจถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพโดยรวมในช่วงเวลาที่สำคัญของพัฒนาการเติบโตของเด็กๆ การที่ลูกชอบดูดนิ้ว จะมีผลกระทบทางด้านพัฒนาของเด็กๆดังต่อไปนี้

1. การเรียงตัวของฟันผิดรูป

การดูดนิ้วอย่างนานนั้นอาจมีแรงกดที่ฟันและกรามที่ยังเติบโตอยู่ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหากับฟัน เช่น ฟันบิด หรือฟันหน้ายื่นออกมามาก การเข้าไปแก้ไขในช่วงแรกๆ จะช่วยป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ค่ะ

ดูดนิ้ว อาจทำให้การเรียงตัวของฟันผิดรูป
ดูดนิ้ว อาจทำให้การเรียงตัวของฟันผิดรูป

2. การพัฒนาการด้านการพูด

การดูดนิ้วอาจส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการในการพูดของลูกด้วย แรงกดที่รอบๆ กระดูกเพดานอาจมีผลต่อตำแหน่งของลิ้น ทำให้เด็กๆพูดหรือออกเสียงบางคำได้ยากขึ้น การแก้ไขตั้งแต่เนิ่นๆ สามารถส่งเสริมการพัฒนาการในการพูดอย่างถูกต้อง

ดูดนิ้ว อาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาด้านการพูด
ดูดนิ้ว อาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาด้านการพูด

3. แผลในปากและการติดเชื้อ

การดูดนิ้วบ่อยครั้งอาจทำให้นิ้วมืออักเสบ เกิดการระคายเคือง ซึ่งอาจทำให้เกิดแผลในปากและเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ นอกจากนี้การมีแผลที่นิ้วในช่องปากระหว่างการดูดนิ้ว อาจเพิ่มโอกาสในการสะสมเชื้อโรคในปากของเด็กๆได้ด้วยเช่นกัน

ดูดนิ้ว มีผลต่อแผลในปากและการติดเชื้อ
ดูดนิ้ว มีผลต่อแผลในปากและการติดเชื้อ

4. ผลกระทบต่อพัฒนาการทางสังคม

เมื่อเด็กๆโตขึ้น การดูดนิ้วอาจมีผลต่อการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เค้าอาจรู้สึกไม่มั่นใจหรือถูกเพื่อนล้อ การช่วยเลิกนิสัยติดการดูดนิ้ว จะช่วยส่งเสริมความมั่นใจและสุขภาพช่องปากที่ดีของน้องๆได้ค่ะ

ดูดนิ้ว ผลกระทบต่อพัฒนาการทางสังคม
ดูดนิ้ว ผลกระทบต่อพัฒนาการทางสังคม

การดูดนิ้วมือในเด็ก มีสาเหตุมาจากอะไร?

เด็กทารกในวัย 0-1 ปี จะอยู่ในช่วงพัฒนาช่วงที่เรียกว่า “Oral Stage” ซึ่งเป็นขั้นตอนในกระบวนการพัฒนาทางจิตวิทยาของเด็ก ในช่วงเวลานี้เด็กจะมีความสุขในการดูดนิ้ว การได้รับความสนใจและความอบอุ่นจากพ่อแม่ การที่เด็กดูดนิ้วมือก็อาจมีหลายเหตุผล ซึ่งอาจจะไม่ได้เกิดจากเหตุผลใดเหตุผลหนึ่งที่เฉพาะเจาะจง

ทำไมเด็กถึงชอบดูดนิ้ว? การดูดนิ้วหรืออมนิ้วในเด็กมีสาเหตุมาจากอะไร?
ทำไมเด็กถึงชอบดูดนิ้ว? – การดูดนิ้วหรืออมนิ้วในเด็กมีสาเหตุมาจากอะไร?

หลายๆครั้งอาจมีสาเหตุที่แตกต่างกัน เช่น เป็นการสำรวจร่างกายของตนเอง หรืออาจเกิดจากอาการคันเหงือกเนื่องจากฟันที่กำลังจะขึ้น บางครั้งอาจใช้การดูดนิ้วเป็นวิธีการแสดงออกถึงความรู้สึกของเด็ก และในบางกรณีอาจใช้การดูดนิ้วหรืออมมือเพื่อเป็นการสื่อสารว่า “หนูหิวแล้ว” เป็นต้น โดยสามารถสรุปสาเหตุหลักๆของการดูดนิ้วในเด็ก ได้ดังต่อไปนี้:

  1. เป็นการสำรวจนิ้วมือของตัวเอง: เด็กในช่วงอายุนี้กำลังสำรวจและค้นพบร่างกายของตนเอง การดูดนิ้วมือเป็นสิ่งที่น่าสนใจและเป็นทางเลือกในการสำรวจส่วนต่างๆ ของร่างกายเพื่อให้เข้าใจและรู้จักตนเองในวิธีต่างๆ
    ใช้การดูดนิ้ว เพื่อสำรวจนิ้วมือของตัวเอง
    ใช้การดูดนิ้ว เพื่อสำรวจนิ้วมือของตัวเอง
  2. อาการคันเหงือกจากฟันที่กำลังจะขึ้น: เมื่อฟันน้ำนมกำลังพัฒนาและเตรียมพร้อมในการขึ้นมาในช่องปาก อาจทำให้เกิดอาการคันเหงือก การดูดนิ้วมืออาจเป็นวิธีหนึ่งที่เด็กใช้ในการลดอาการคันและความไม่สบายในช่องปาก
    ใช้การดูดนิ้ว เมื่อมีอาการคันเหงือกจากฟันที่กำลังจะขึ้น
    ใช้การดูดนิ้ว เมื่อมีอาการคันเหงือกจากฟันที่กำลังจะขึ้น
  3. เป็นการปลอบใจ: การดูดนิ้วมืออาจเป็นทางเลือกในการปลอบใจตนเองในช่วงเวลาที่เด็กรู้สึกเหนื่อยหรือตึงเครียด การดูดนิ้วมือช่วยให้เด็กรู้สึกสบายใจและมีความรู้สึกอบอุ่นกับตนเอง

    ใช้การดูดนิ้ว เพื่อปลอบใจตัวเอง
    ใช้การดูดนิ้ว เพื่อปลอบใจตัวเอง
  4. เมื่อลูกมีอาการไม่สบายตัว: เด็กบางครั้งอาจมีอาการไม่สบายหรือรู้สึกไม่พอใจ การดูดนิ้วมือเป็นวิธีที่ลูกใช้ในการกล่อมตัวเองและลดอาการไม่สบายได้
    ใช้การดูดนิ้ว เมื่อรู้สักไม่สบายตัว
    ใช้การดูดนิ้ว เมื่อรู้สักไม่สบายตัว
  5. เป็นการสื่อสารเมื่อมีอาการหิว: เด็กส่วนใหญ่ยังไม่สามารถใช้ภาษาในการสื่อสารได้เต็มที่ การดูดนิ้วมืออาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกต้องการอาหารหรือรู้สึกหิว

    ใช้การดูดนิ้ว เพื่อสื่อสารว่าหิว
    ใช้การดูดนิ้ว เพื่อสื่อสารว่าหิว
  6. เป็นการกล่อมตัวเองเมื่อง่วง: ในช่วงเวลาที่ลูกง่วงนอนหรือรู้สึกง่วงง่าย การดูดนิ้วมืออาจเป็นวิธีที่ลูกใช้ในการกล่อมตัวเองและสร้างความสงบสุขก่อนที่จะเข้าสู่สถานะนอนหลับ
    ใช้การดูดนิ้ว เพื่อกล่อมตัวเองให้ง่วง
    ใช้การดูดนิ้ว เพื่อกล่อมตัวเองให้ง่วง

ในเด็กบางคน พฤติกรรมการดูดนิ้วอาจเกิดขึ้นมาตั้งแต่ช่วงทารกในครรภ์ เด็กบางคนดูดนิ้วเพื่อความเพลิดเพลินและความสบายใจ บางครั้งอาจใช้เพื่อสร้างความสนุกสนานในเด็ก ในบางกรณีเด็กอาจดูดนิ้วเมื่อรู้สึกเหงาและต้องการได้รับความสนใจจากพ่อแม่ การดูดนิ้วเป็นวิธีการที่เด็กใช้ในการสื่อสารและติดต่อสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัว ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่อาจต้องสังเกตและทำความเข้าใจความหมายที่อยู่เบื้องหลังการดูดนิ้วของลูกด้วยนะคะ

พฤติกรรมการดูดนิ้วตั้งแต่ช่วงทารกในครรภ์
พฤติกรรมการดูดนิ้วตั้งแต่ช่วงทารกในครรภ์

การดูดนิ้วและพัฒนาการในเด็ก

การดูดนิ้วและพัฒนาการในเด็ก
การดูดนิ้วและพัฒนาการในเด็ก

การดูดนิ้วในเด็กในช่วงขวบปีแรกถือว่าเป็นเรื่องปกติ ซึ่งจะค่อยๆลดลงเองในช่วงอายุ 2-4 ปี เนื่องจากเด็กจะเริ่มใช้วิธีการสื่อสารและติดต่อสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัวในลักษณะอื่นๆ บางครั้งการดูดนิ้วนี้อาจทำให้เกิดฟันยื่นเหยินหรือเกิดการสบฟันผิดปกติในเด็ก หากเด็กติดดูดนิ้วไปจนอายุเกินกว่า 4 ปี ควรให้ความสำคัญในการติดตามและสังเกตพฤติกรรมดังกล่าวและพยายามส่งเสริมให้ลูกเลิกนิสัยดูดนิ้วเมื่อถึงเวลา นอกจากนี้ การให้ความสนใจและความรับรู้ความรู้สึกของลูก รวมถึงการใช้วิธีการสื่อสารที่เหมาะสมอาจช่วยให้ลูกสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมในลักษณะที่เหมาะสมที่สุด การเล่นเกมและกิจกรรมที่น่าสนุกและน่าสนใจสามารถช่วยในกระบวนการเลิกนิสัยดูดนิ้วได้ดีค่ะ

วิธีช่วยให้ลูกเลิกนิสัยดูดนิ้ว

การจัดการนิสัยดูดนิ้วมือสำหรับเด็กในช่วงอายุนี้เป็นสิ่งสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการที่เหมาะสมของลูก นอกจากนี้ ทันตแพทย์และผู้ปกครองสามารถนำความรู้จากหนังสือ “การจัดการนิสัยดูดนิ้วสำหรับทันตแพทย์” ที่เขียนโดย รศ.ทพญ. ประภาศรี ริรัตนพงษ์ คณะทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดลมามาเพื่อใช้เป็นแนวทางดังนี้:

1. ผู้ปกครองมีส่วช่วยลดการดูดนิ้ว

ในช่วงอายุต่ำกว่า 4 ปี เมื่อเด็กยังคงมีนิสัยดูดนิ้วอยู่ ผู้ปกครองสามารถช่วยลดการดูดนิ้วโดยการแสดงความรักและความเข้าใจต่อลูก อาจใช้การโอบกอด ให้ความมั่นใจ และเลิกสนใจเกี่ยวกับการดูดนิ้ว การให้กิจกรรมที่ต้องใช้มือหรือปากให้เด็กเข้าร่วมก็เป็นทางเลือกที่ดี

การโอบกอด ให้ความรักความมั่นใจ และเลิกสนใจเกี่ยวกับการดูดนิ้ว ช่วยลดพฤติกรรมการดูดนิ้วของลูกได้
การโอบกอด ให้ความมั่นใจ และเลิกสนใจเกี่ยวกับการดูดนิ้ว

2. กำหนดตารางกิจกรรมให้กับลูก

หากลูกชอบดูดนิ้วก่อนนอน เพื่อช่วยเด็กเลิกนิสัยดูดนิ้ว ผู้ปกครองควรให้ลูกทำกิจกรรมในช่วงบ่ายให้เหนื่อย และพาเข้านอนตอนที่ง่วงพอสมควร การทำกิจกรรมในช่วงบ่ายจะช่วยให้ลูกหลับง่ายขึ้นในช่วงเย็น

กำหนดตารางกิจกรรมให้กับลูก เพื่อลดนิสัยดูดนิ้วก่อนนอน
กำหนดตารางกิจกรรมให้กับลูก เพื่อลดนิสัยดูดนิ้วก่อนนอน

3. การให้รางวัลและคำช่วยเตือน

การให้รางวัลเมื่อลูกเลิกดูดนิ้วได้ผลดีกว่าการลงโทษหรือตำหนิ ผู้ปกครองอาจให้คะแนนหรือดาวเมื่อลูกเลิกดูดนิ้วได้บ้าง หรือถ้าลูกไม่ดูดนิ้วเลยก็ควรให้ดาวเป็นรางวัล เมื่อสะสมดาวครบตามกำหนด อาจให้รางวัลชิ้นเล็กๆ ที่ลูกต้องการ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้เด็กพยายามเลิกดูดนิ้ว

การให้รางวัลและคำช่วยเตือน
การให้รางวัลและคำช่วยเตือน

4. อุปกรณ์ตัวช่วยให้ลูกไม่เอานิ้วเข้าปาก

การใส่ถุงมือผ้า หรือเทปพันที่นิ้ว หรือการดัดแปลงชุดนอนให้แขนเสื้อยาวเกินปกติ เป็นวิธีที่ช่วยให้เด็กลดนิสัยดูดนิ้วและไม่เผลอเอานิ้วเข้าปาก โดยเฉพาะในเวลาที่เด็กมีนิสัยดูดนิ้วมากในช่วงการนอนหลับ

อุปกรณ์ตัวช่วยให้ลูกไม่เอานิ้วเข้าปาก
อุปกรณ์ตัวช่วยให้ลูกไม่เอานิ้วเข้าปาก

บทสรุป

การดูดนิ้วในเด็กเป็นเรื่องปกติตามกระบวนการพัฒนาทางจิตวิทยาของเด็ก แต่หากเด็กยังคงมีนิสัยดูดนิ้วเมื่อเข้าสู่ช่วงอายุที่เหมาะสมที่ควรจะต้องลดพฤติกรรมการดูดนิ้วลงแล้ว ให้ลองสังเกตและพยายามส่งเสริมนิสัยเชิงบวก เสริมสร้างพัฒนาการที่ดีให้กับลูกในทางที่เหมาะสม สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูก และการให้ความสำคัญกับการรับรู้ความรู้สึกของลูกเพื่อตอบสนองได้อย่างเหมาะสม จะช่วยให้เค้าเลิกนิสัยดูดนิ้ว อมมือหรือดูดจุกนมหลอกได้ค่ะ

รอยยิ้มที่สดใสของเด็กๆ-เมื่อเลิกการดูดนิ้วได้
รอยยิ้มที่สดใสของเด็กๆ

อย่าลืมให้ความสำคัญในการติดตามและสังเกตพฤติกรรมของลูก หากคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองมีข้อกังวลหรือต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม สามารถนัดหมายกับหมอฟันเด็กเพื่อปรึกษาขอคำแนะนำที่เหมาะสมในการช่วยลูกเลิกดูดนิ้วอย่างเหมาะสมต่อไปค่ะ

แชร์บทความนี้

เพราะการแบ่งปันคือความห่วงใยที่เรามีให้กัน…(เลือกแชร์บทความให้เพื่อนได้โดยกดปุ่มด้านล่างนี้เลยค่ะ)

บทความที่น่าสนใจ

No post found!