ร้อนใน แผลในช่องปากที่ทำให้เกิดความระคายเคือง

ลดความรำคาญใจ แนะนำเคล็ดลับการแก้ร้อนในให้หายเร็วขึ้น!

แก้ไขล่าสุด 04/06/2024

หัวข้อที่น่าสนใจเกี่ยวกับ “เคล็ดลับการแก้ร้อนในให้หายเร็วขึ้น!”

หลายคนคงเคยประสบปัญหาการเกิดแผลที่ดูคล้ายกับตุ่มขนาดเล็กในช่องปากจาก ‘ร้อนใน’ ที่ทำให้เกิดความระคายเคือง ขัดขวางการกินและการใช้ชีวิต ซึ่งแม้ตามปกติแล้วร้อนในจะสามารถหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่การที่ไม่สามารถกินอาหารได้สะดวกดังใจก็ไม่ใช่สิ่งที่หลายคนอยากทนรอ บทความนี้จึงจะพามาแนะนำเคล็ดลับการแก้ร้อนในให้หายเร็วขึ้นมาแนะนำกัน!

รู้จักให้ชัด ร้อนในคืออะไร

ร้อนใน คือแผลเปิดภายในช่องปากที่เกิดจากการแตกของเยื่อเมือก ซึ่งเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยมีลักษณะเป็นตุ่มแผลขนาดเล็ก เป็นวงกลม สีขาว หรือเหลือง และมีขอบสีแดง มักพบบริเวณริมฝีปาก เพดานปาก กระพุ้งแก้ม หรือลิ้น ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย ติดเชื้อไวรัส ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมถึงจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตไม่ว่าจะเป็นการขาดสารอาหาร ความเครียด หรือแม้แต่การเผลอกัดปากจนเป็นแผล ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วแผลร้อนในจะหายได้เองในระยะเวลาไม่เกิน 2 สัปดาห์ แต่อาจสร้างความรำคาญใจ ไม่สะดวกต่อการใช้ชีวิต จึงควรศึกษาการรักษาแก้ร้อนในไว้ด้วย

เปิดเคล็ดลับแก้ร้อนในให้หายไว

หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นการอักเสบ

วิธีแก้ร้อนในที่ได้ผลดี ไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองเพิ่ม คือการหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นการอักเสบ ซึ่งอาจทำให้แผลร้อนในหายช้าลงหรือรุนแรงขึ้นได้ สิ่งกระตุ้นการอักเสบที่พบบ่อย ได้แก่

  • อาหารรสจัด เช่น อาหารประเภทแกงเผ็ด อาหารทะเลรสจัด อาหารที่มีเครื่องเทศเยอะ อาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด
  • เครื่องดื่มบางชนิด โดยเฉพาะเครื่องดื่มร้อนไม่ว่าจะเป็นชา กาแฟ หรือแม้แต่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็ออกฤทธิ์ทำให้รู้สึกแสบร้อนกระตุ้นร้อนในเช่นกัน
  • อาหารมัน เช่น อาหารทอด อาหารผัด อาหารที่มีน้ำมันเยอะ
  • อาหารที่มีกรดสูง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผลไม้ตระกูลส้ม มะเขือเทศ มะนาว

ซึ่งอาหารรสจัดและเครื่องดื่มร้อนอาจทำให้เยื่อบุในช่องปากระคายเคืองและเกิดการอักเสบ ส่วนอาหารมันและอาหารที่มีกรดสูงก็อาจทำให้แผลร้อนในเจ็บปวดมากขึ้นกว่าเดิม จึงควรหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นเหล่านี้ในขณะที่เป็นร้อนใน

ดื่มน้ำชะล้างเชื้อโรค แก้ร้อนใน

ดื่มน้ำให้มาก

การดื่มน้ำนับว่าเป็นวิธีแก้ร้อนในที่ทำได้ง่าย โดยน้ำจะช่วยชะล้างเชื้อโรคและสารพิษที่เป็นต้นเหตุของการเกิดร้อนใน นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับเยื่อบุในช่องปาก อีกทั้งยังช่วยลดอาการแสบร้อนระคายเคืองได้อีกด้วย ซึ่งควรดื่มหรือจิบน้ำในอุณหภูมิปกติบ่อย ๆ ตลอดทั้งวัน เพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำเปล่าอย่างเพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว หรือประมาณ 2 ลิตร

นอกจากการดื่มน้ำเปล่าแล้ว ยังสามารถดื่มน้ำผลไม้หรือเครื่องดื่มสมุนไพรที่ช่วยแก้ร้อนในได้ เช่น

  • น้ำมะนาว มีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อน จึงสามารถฆ่าเชื้อโรคและบรรเทาอาการเจ็บปวดได้
  • น้ำเก๊กฮวย มีสรรพคุณในการแก้ร้อนใน อีกทั้งยังลดกระหาย แก้ไอ
  • น้ำใบบัวบก ช่วยแก้ช้ำใน บรรเทาอาการเจ็บปวด
  • น้ำจับเลี้ยง ที่สามารถแก้ร้อนใน รวมถึงดับกระหาย แก้อาการไอและเจ็บคอ

ใช้สารจากธรรมชาติ

นอกจากการใช้ยารักษาแล้ว สารจากธรรมชาติบางชนิดก็มีสรรพคุณที่สามารถช่วยบรรเทาอาการร้อนในได้เช่นกัน โดยสามารถใช้ทาแผลร้อนในโดยตรง หรือนำมาอมไว้ในปากก็สามารถลดอาการได้เช่นกัน ซึ่งมีสารจากธรรมชาติที่แนะนำสำหรับการแก้ร้อนใน ได้แก่

  • น้ำผึ้งแท้ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและต้านเชื้อแบคทีเรีย ช่วยปกป้องเยื่อบุในช่องปากและบรรเทาอาการเจ็บปวด
  • น้ำมันมะพร้าว มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและต้านเชื้อแบคทีเรียเหมือนกับน้ำผึ้งแท้ รวมถึงมีสรรพคุณเพิ่มในด้านการต้านเชื้อรา

ผสมน้ำยากลั้วปากด้วยตัวเอง

อีกหนึ่งวิธีแก้ร้อนในที่สามารถทำได้ง่าย คือการผสมน้ำยากลั้วปากด้วยตนเองจากสิ่งที่มีในบ้าน โดยใช้เกลือ 1 ช้อนชาและน้ำอุ่น 1/2 ถ้วย มาผสมกัน แล้วนำมากลั้วปากเป็นเวลา 30 วินาที โดยสามารถทำได้วันละ 3-4 ครั้ง เพื่อทำความสะอาดช่องปาก ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และบรรเทาอาการเจ็บปวด

นอกจากปัญหาร้อนในแล้ว สุขภาพปากโดยรวมก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม ถ้าอยากดูแลให้สมบูรณ์แข็งแรง ต้องปรึกษาทันตแพทย์เฉพาะทางที่คลินิกทันตกรรม SmileDC ที่ให้บริการดูแลรักษาตั้งแต่รากฟัน เพื่อลดความเสี่ยงที่ต้องสูญเสียฟัน ด้วยทีมทันตแพทย์เฉพาะทางที่พร้อมตรวจ ให้คำปรึกษา อธิบายขั้นตอน วิธีรักษารากฟัน แจ้งค่าบริการให้แก่ลูกค้าที่มาใช้บริการอย่างละเอียด ด้วยความมั่นใจในมาตรฐานเครื่องมือที่ทันสมัยและระบบปลอดเชื้อมาตรฐานโรงพยาบาล หากสนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือจองคิวนัดหมายล่วงหน้าได้ที่ โทร. 096-942-0057

ข้อมูลอ้างอิง:

  1. 8 วิธีแก้ร้อนใน ปัญหากวนใจในช่องปาก. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2567 จาก https://www.pobpad.com/8-วิธีแก้ร้อนในปัญหากวนใ
  2. ร้อนใน แผลในช่องปากที่ควรระวัง. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2567 จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/ร้อนใน-แผลในช่องปากที่ค/