หน้าแรก » บริการทันตกรรมเด็ก » อุดฟันน้ำนม: สำคัญยังไง? วิธีและวัสดุอุดฟันเด็กที่ปลอดภัย

อุดฟันน้ำนม: สำคัญยังไง? วิธีและวัสดุอุดฟันเด็กที่ปลอดภัย

อุดฟันน้ำนม หรือ อุดฟันเด็ก ถือเป็นกระบวนการรักษาทางทันตกรรมเด็ก ที่มีจุดประสงค์เพื่อให้ฟันน้ำนมที่ผุซี่นั้นๆ สามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติ โดยอาการฟันน้ำนมผุหรือฟันผุในเด็กเล็ก สามารถพบได้บ่อยตั้งแต่เด็กๆเริ่มมีฟันน้ำนมซึ่แรกขึ้นมาภายในช่องปาก ได้แก่ ช่วงอายุประมาณ 6 เดือน

อุดฟันน้ำนม หรือ อุดฟันเด็ก
การอุดฟันน้ำนม (Dental Filling)

โดยส่วนใหญ่แล้วจะพบว่า ฟันน้ำนมซี่หน้าบน จะมีโอกาสผุได้ง่ายกว่าฟันน้ำนมซี่หน้าด้านล่าง นอกจากนี้ยังพบว่า ฟันกรามด้านบดเคี้ยวก็เป็นอีกซี่หนึ่งที่มีโอกาสเกิดฟันผุได้ง่ายเช่นเดียวกัน เพราะเป็นฟันที่อยู่ด้านใน มักจะมีเศษอาหารติดตามร่องฟัน และเพิ่มโอกาสเกิดฟันผุในเด็กเล็กได้ค่ะ

การอุดฟันน้ำนม คืออะไร?

การอุดฟันน้ำนม คือ การซ่อมแซมเนื้อฟันที่มีรอยผุ เพื่อให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ โดยฟันที่จะสามารถทำอุดได้ ส่วนใหญ่จะเป็นฟันที่ยังไม่มีอาการปวดหรือบวม โดยส่วนมากแล้วฟันน้ำนมจะมีโอกาสผุง่ายกว่าฟันแท้ เพราะเนื้อฟันน้ำนมมีความหนาน้อยกว่าและขนาดที่เล็กกว่าฟันแท้มาก

แต่ทั้งนี้ ในเด็กที่มีอายุประมาณ 6-7 ปี จะพบว่า ฟันกรามแท้ซี่ในสุด จะมีโอกาสผุสูงเช่นกัน สำหรับการอุดฟันเด็กนั้น ฟันซี่ไหนเหมาะสมกับวัสดุอุดฟันประเภทใด จะแตกต่างกันไปในแต่ละกรณี ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของทันตแพทย์เด็กเป็นสำคัญค่ะ

หัวข้อที่น่าสนใจของการอุดฟันเด็ก

อุดฟันน้ำนม มีกี่ประเภท?

อุดฟันน้ำนม หรือ อุดฟันเด็กนั้น มีวัสดุที่นิยมใช้อยู่หลายประเภท ขึ้นอยู่กับลักษณะการผุของฟันซี่นั้นๆ ว่าเหมาะสมกับวัสดุอุดฟันประเภทใด โดยคุณหมอฟันเด็กจะเป็นผู้พิจารณาว่าควรใช้วัสดุชนิดใด ซึ่งวัสดุที่นิยมใช้จะมีด้วยกัน 3 ประเภท ได้แก่ การอุดฟันน้ำนม ด้วยวัสดุคอมโพสิตเรซิน วัสดุอมัลกัม และ วัสดุกลาสไอโอโนเมอร์ ซึ่งมีความแตกต่าง และ รายละเอียดดังต่อไปนี้

อุดฟันน้ำนม อุดฟันเด็ก ด้วยวัสดุอุดฟันแบบต่างๆ
การอุดฟันน้ำนม (Dental Filling) ด้วยวัสดุอุดฟันประเภทต่างๆ

1. อุดฟันน้ำนม ด้วยวัสดุคอมโพสิตเรซิน (Composite Resin)

การอุดฟันน้ำนมด้วยวัสดุคอมโพสิตเรซิน ซึ่งเป็นวัสดุโพลีเมอร์ที่มีสีเดียวกับเนื้อฟัน มีความแข็งแรงใกล้เคียงกับเนื้อฟัน นิยมใช้ในการอุดฟันหน้าที่ต้องการความสวยงาม หรืออุดฟันหลังที่ทันตแพทย์เด็ก สามารถควบคุมความชื้นจากน้ำลายในช่องปากได้

อุดฟันน้ำนม ด้วยวัสดุคอมโพสิตเรซิน (Composite Resin)
อุดฟันน้ำนม ด้วยวัสดุคอมโพสิตเรซิน (Composite Resin)

2. อุดฟันน้ำนม ด้วยวัสดุอมัลกัม (Amalgam)

การอุดฟันน้ำนมด้วยวัสดุอมัลกัม จะเป็นวัสดุอุดฟันสีเงินที่มีความแข็งแรงสูง เหมาะสำหรับอุดฟันกรามที่ต้องรับแรงบดเคี้ยว หรือในฟันที่ไม่สามารถกั้นน้ำลายได้ แต่จะไม่ใช้วัสดุชนิดนี้ในการอุดฟันบริเวณที่ต้องการความสวยงาม ทั้งนี้เนื่องจากสีของวัสดุมีสีเงินไม่สวยงามเหมือนกับสีของเนื้อฟันจริง

อุดฟันน้ำนม ด้วยวัสดุอมัลกัม (Amalgam)
อุดฟันน้ำนม ด้วยวัสดุอมัลกัม (Amalgam)

3. อุดฟันน้ำนม ด้วยกลาสไอโอโนเมอร์ (Glass Ionomer)

การอุดฟันน้ำนมด้วยกลาสไอโอโนเมอร์ จะเป็นวัสดุอุดฟันสีขาวที่มีความสามารถพิเศษในการปลดปล่อยฟลูออไรด์ ออกมาได้จากเนื้อวัสดุเอง แต่จะมีความแข็งแรงน้อยกว่าเนื้อฟัน วัสดุชนิดนี้ นิยมใช้ในกรณีที่ ฟันซี่ดังกล่าวอุดด้วยวัสดุตัวอื่นไปแล้วเสียวฟัน (เพราะฟลูออไรด์ที่ปล่อยออกมาจากวัสดุจะช่วยลดอาการเสียวฟันได้) หรือจะนิยมใช้ในผู้ที่มีฟันผุเยอะๆ ทั้งนี้ทันตแพทย์เด็กจะพิจารณาใช้วัสดุชนิดนี้ ในบริเวณที่ไม่ต้องรับแรงบดเคี้ยวมากๆ

อุดฟันน้ำนม ด้วยกลาสไอโอโนเมอร์ (Glass Ionomer)
อุดฟันน้ำนม ด้วยกลาสไอโอโนเมอร์ (Glass Ionomer)

การอุดฟันน้ำนม มีวิธีการอย่างไร?

สำหรับวิธีการอุดฟันน้ำนม หรือ อุดฟันเด็ก จะใช้วิธีเดียวกับในผู้ใหญ่ แต่จะแตกต่างกันที่ วิธีบริหารจัดการพฤติกรรม เพื่อให้เด็กยอมรับการอุดฟัน คุณหมอฟันเด็กอาจจะมีการใช้ ยาชาเฉพาะที่ เพื่อควบคุมความเจ็บ หรือป้องกันไม่ให้เด็กเสียวฟัน ขณะทำการกรอเนื้อฟันผุออก รวมทั้งอาจพิจารณาใช้ “แผ่นยางกันน้ำลาย” เพื่อช่วยลดปริมาณของน้ำ ไม่ให้ไหลลงคอเด็ก ซึ่งรายะเอียดของขั้นตนการอุดฟันน้ำนม มีดังนี้

1.ประเมินรอยผุ ว่าควรจะบูรณะฟันซี่นั้นๆด้วยวิธีไหน

ก่อนที่ทันตแพทย์เด็กจะทำการอุดฟัน จะต้องมีการประเมินขนาดและความลึกของรอยผุก่อน เนื่องจากการอุดฟันโดยเฉพาะฟันน้ำนมที่มีขนาดเล็กซึ่งอาจจะไม่ใช่ทุกกรณีที่จะสามารถอุดฟันซี่นั้นๆได้

ทันตแพทย์เด็กจะพิจารณาอุดฟัน หากรอยผุมีขนาดใหญ่ไม่เกินครึ่งหนึ่งของตัวฟัน และไม่ผุลงไปลึกจนถึงโพรประสาทฟันน้ำนม เนื่องจากหากรอยผุมีขนาดใหญ่เกินไป จะทำให้วัสดุอุดฟันไม่แข็งแรง แตกหัก และหลุดได้ง่าย

วิธี อุดฟันน้ำนม - 1.ประเมินรอยผุว่าควรรักษาด้วยวิธีไหน?
ขั้นตอนอุดฟันน้ำนม – 1.ประเมินรอยผุว่าควรรักษาด้วยวิธีไหน?

อีกทั้งหากรอยผุลุกลามลงไปจนถึงบริเวณโพรงประสาทฟัน ก็จะไม่สามารถรักษาได้ด้วยการอุดฟันเช่นเดียวกันค่ะ เนื่องจากหากอุดฟันซี่นั้นๆไป จะทำให้เกิดอาการปวดฟันตามมาอย่างแน่นอนค่ะ

ซึ่งขั้นตอนการตรวจประเมินนี้ ทันตแพทย์เด็กหรือหมอฟันเด็ก จะทำการตรวจทางช่องปาก ซึ่งจะมีการใช้เครื่องมือเขี่ยเอาเศษอาหารที่ติดอยู่ออกทั้งหมดก่อน และอาจจะต้องทำการขัดฟันเพื่อกำจัดคราบพลัคออก จะได้เห็นรอยผุได้ชัดเจนที่สุดค่ะ

2. ทำการถ่ายภาพรังสี

ในบางกรณี จะพบว่ารอยผุที่ตรวจพบในช่องปาก มีขนาดไม่ใหญ่ ไม่กว้าง แต่มีลักษณะที่ลึกลงไปในตัวฟัน ลักษณะรอยผุดังกล่าวนี้ จะสามารถวินิจฉัยได้โดยการถ่ายภาพรังสี หรือที่เรียกกันว่า ทำการ x-ray ฟัน

การถ่ายภาพรังสี จะช่วยให้ทันตแพทย์สามารถระบุความลึกของรอยผุได้ และยังทำให้สามารถตรวจพบรอยผุที่อยู่ตามซอกฟัน ที่อาจไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากการตรวจวินิจฉัยทางคลินิกค่ะ

ขั้นตอน อุดฟันน้ำนม - 2. ถ่ายภาพรังสี (X-Ray)
ขั้นตอนอุดฟันน้ำนม – 2. ถ่ายภาพรังสี (X-Ray)

ซึ่งวิธีการถ่ายภาพรังสี โดยเฉพาะในเด็ก ทันตแพทย์สำหรับเด็ก จะต้องทำการใส่เสื้อกันรังสีให้เด็กก่อน แล้วจึงนำเครื่องมือในการถ่ายภาพรังสี ซึ่งจะมีขนาดเล็กกว่าที่ใช้ในช่องปากผู้ใหญ่ และจะขอให้เด็กกัดเครื่องมือนั้นๆเอาไว้ จากนั้น ทันตแพทย์จะทำการแปลผลภาพรังสี โดยภาพถ่ายรังสี จะสามารถบอกได้ว่า รอยผุของฟันซี่นั้นๆ ไปถึงระดับไหนแล้ว ยังสามารถรักษาโดยการอุดได้หรือไม่ (หากผุไปจนถึงโพรงประสาทฟัน จะไม่สามารถอุดได้ค่ะ) และยังสามารถบอกได้อีกด้วยว่า ฟันซี่ดังกล่าว จะมีอายุอยู่ในช่องปากอีกกี่ปี เพราะถ้าหากฟันจะยังอยู่ในช่องปากน้อยกว่า 6 เดือน ทันตแพทย์ จะพิจารณาไม่อุดฟันน้ำนมซี่นั้นๆ เนื่องจากสามารถปล่อยให้หลุดไปเองได้ค่ะ

ปริมาณของรังสีที่ใช้ในการ X-Ray ฟันมีความเข้มน้อยมาก ซึ่งการถ่ายภาพรังสีในช่องปาก โดยมีการใส่เสื้อกันรังสีที่ถูกต้อง และปิดบริเวณลำคอ จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับเด็กๆค่ะ

3. ใส่ยาชา

ในขั้นตอนของการอุดฟัน หากทันตแพทย์สำหรับเด็กประเมินแล้วว่า ฟันที่จะต้องบูรณะ มีรอยผุที่ลึกถึงชั้นเนื้อฟัน ส่วนใหญ่ทันตแพทย์มักจะใส่ยาชา เพื่อไม่ให้เด็กรู้สึกเสียวฟันในระหว่างขั้นตอนการอุดฟัน

ผู้ปกครองหลายท่านอาจสงสัยว่า ทำไมต้องฉีดยาชา เพื่อทำการอุดฟัน คำตอบก็คือ ส่วนใหญ่แล้ว เด็กๆมักจะมีแนวโน้มไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการทำฟันอยู่แล้ว กระบวนการกรอฟัน จะทำให้เกิดความรู้สึกเสียวฟัน หรืออาจจะรู้สึกปวดฟันได้ในกรณีที่รอยผุลุกลามไปใกล้โพรงประสาทฟัน ดังนั้น ทันตแพทย์สำหรับเด็ก จึงจำเป็นต้องฉีดยาชา เพื่อระงับความรู้สึกเสียวและปวดที่อาจเกิดขึ้นได้ในขณะทำการอุดฟันค่ะ

ขั้นตอน อุดฟันน้ำนม 3. ใส่ยาชา
ขั้นตอนอุดฟันน้ำนม – 3. ใส่ยาชา

เทคนิคการฉีดยาชาสำหรับเด็กนั้น ทันตแพทย์จะมีการใช้ยาชาเฉพาะที่ป้ายไปยังบริเวณเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปาก จุดที่จะทำการฉีดยาชาลงไป และใช้เทคนิคทางจิตวิทยาต่างๆ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของเด็กก่อนการฉีดยาชา ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลใจเรื่องการฉีดยาชาเลยนะคะ คุณหมอฟันเด็ก จะมีวิธีการให้เด็กๆไม่กลัวและไม่เจ็บแน่นอนค่ะ

4. ใส่แผ่นยางกันน้ำลาย

กระบวนการกรอฟันที่ผุ จะมีการใช้หัวกรอ ที่มีน้ำฉีดออกมาเพื่อลดความร้อน ซึ่งถ้าไม่มีน้ำคอยมาหล่อเย็นบริเวณหัวกรอฟัน เนื้อเยื่อโพรงประสาทฟันอาจจะได้รับความเสียหายจากความร้อนที่เกิดขึ้นขณะกรอฟัน

ซึ่งน้ำที่เกิดขึ้นในระหว่างการกรอฟัน รวมถึงน้ำที่ต้องใช้ในกระบวนการอุดฟัน อาจจะทำให้เด็กบางคนเกิดสำลักน้ำ หรือเกิดความรู้สึกไม่ค่อยสบาย ที่มีน้ำอยู่ในลำคอ ถึงแม้ว่าจะมีการใช้ที่ดูดน้ำลาย คอยดูดน้ำส่วนเกินที่เกิดขึ้นออกอยู่ตลอดเวลา แต่เด็กหลายๆคน ก็ยังไม่ค่อยชอบที่มีน้ำอยู่ในช่องปาก

ขั้นตอน อุดฟันน้ำนม - 4. ใส่แผ่นยางกันน้ำลาย
ขั้นตอนอุดฟันน้ำนม – 4. ใส่แผ่นยางกันน้ำลาย

การใส่แผ่นยางกันน้ำลาย จะช่วยลดการเกิดปัญหาการสำลักน้ำดังกล่าวข้างต้นได้ เนื่องจากแผ่นยางนี้ จะทำหน้าที่เป็นตัวแยกฟันที่จะทำการรักษาออกจากส่วนอื่นๆในช่องปาก คุณหมอฟันเด็กหลายๆคน จะบอกกับเด็กๆว่า จะทำการกางร่ม หรือใส่เสื้อกันฝนให้กับฟันของเด็กๆ และเด็กๆ จะไม่รู้สึกว่ามีน้ำส่วนเกินอยู่ในช่องปากและลำคอ เด็กส่วนใหญ่จะรู้สึกสบาย และให้ความร่วมมือในการทำฟันมากขึ้นค่ะ

5. กำจัดเนื้อฟันส่วนที่ผุออก

จากนั้นทันตแพทย์สำหรับเด็กจะทำการกำจัดเนื้อฟันส่วนที่เสีย หรือส่วนที่ผุออกทั้งหมด เพื่อเป็นการหยุดยั้งกระบวนการเกิดฟันผุ เนื่องจากฟันผุจัดเป็นโรคติดเชื้อชนิดหนึ่ง หากเราไม่ทำการกำจัดเชื้อแบคทีเรียในฟัน ที่อาศัยอยู่ในฟันที่ผุออกจนหมด โรคฟันผุ จะยังคงสามารถเกิดผุต่อลุกลามไปได้ แม้ว่าจะอุดฟันซี่นั้นๆไปแล้วก็ตาม

ขั้นตอน อุดฟันน้ำนม-5.-กรอเนื้อฟันที่ผุออก
ขั้นตอนอุดฟันน้ำนม-5.-กรอเนื้อฟันที่ผุออก

การกำจัดเนื้อฟันที่ผุออก ทันตแพทย์อาจจะใช้ร่วมกันทั้งหัวกรอเร็ว (ที่มีน้ำเป็นตัวลดความร้อนขณะกรอฟัน) หัวกรอช้า (ที่อาจทำให้รู้สึกสั่นๆขณะกรอ) และใช้เครื่องมือในการขูดเอาเนื้อฟันที่มีรอยผุออก ซึ่งการเลือกใช้เครื่องมือชนิดใด จะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของทันตแพทย์เด็ก และขึ้นอยู่กับระยะของการผุค่ะ

6. ใส่วัสดุรองพื้น เพื่อป้องกันการเสียวฟัน

ภายหลังจากที่ทันตแพทย์ทำการกรอเอาเนื้อฟันส่วนที่มีรอยผุออกทั้งหมดแล้ว หากพบว่า เนื้อฟันสูญเสียไปมาก จนถึงระดับชั้นเนื้อฟัน (หรือชั้น dentin) ซึ่งฟันชั้นนี้ จะมีท่อเนื้อฟันอยู่เป็นจำนวนมาก และหากมีการกระตุ้นท่อเนื้อฟันเหล่านี้ ด้วยความเย็น ความร้อน หรือกระตุ้นด้วยของหวาน จะทำให้เกิดอาการเสียวฟันภายหลังการอุดฟันได้

ทันตแพทย์ มักจะทำการปิดชั้นเนื้อฟันนี้ ด้วยวัสดุที่มีคุณสมบัติในการลดการเสียวฟัน และสามารถปลดปล่อยฟลูออไรด์เพื่อช่วยในการสร้างเนื้อฟันมาปิดผนึกท่อฟันเหล่านี้ ซึ่งวัสดุที่นิยมใช้ในการรองพื้นเพื่อลดอาการระคายเคืองภายหลังการอุฟัน คือ กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ ที่มีคุณสมบัติเข้ากันได้ดีกับเนื้อเยื่อในร่างกาย และยังสามารถปลดปล่อยฟลูออไรด์ออกมาได้ในปริมาณมาก เพื่อให้เด็กรู้สึกสบายมากที่สุดภายหลังการอุดฟัน

ขั้นตอน อุดฟันน้ำนม-6.-ใส่วัสดุรองพื้นกันเสียวฟัน
ขั้นตอนอุดฟันน้ำนม-6.-ใส่วัสดุรองพื้นกันเสียวฟัน

บางกรณี ที่รอยผุใกล้จะทะลุไปถึงโพรงประสาทฟัน ทันตแพทย์อาจจะพิจารณาเหลือรอยผุในบริเวณที่ลึกมากๆเอาไว้ เนื่องจากถ้ากรอเอารอยผุบริเวณจุดที่ลึกมากๆออก อาจจะเกิดทะลุโพรงประสาทฟัน จนไม่สามารถรักษาฟันซี่นั้นๆด้วยการอุดฟันธรรมดาได้ (เนื่องจากต้องรักษารากฟันแทนค่ะ) ทันตแพทย์จะมีการนำเอาสารที่มีค่าความเป็นด่างที่สูง (เช่น แคลเซียมไฮดรอกไซด์) มาฉาบปิดเอาไว้ เพื่อยับยั้งแบคทีเรียที่ยังคงหลงเหลืออยู่นปริมาณน้อย ไม่ให้เกิดลุกลามเข้าไปในโพรงประสาทฟัน รวมทั้งยังมีฤทธิ์กระตุ้นให้เกิดชั้นเนื้อฟันขึ้น เพื่อลดอาการเสียวหรือปวดภายหลังการรักษาฟันที่ผุลึกๆอีกด้วยค่ะ

แต่ทั้งนี้ วัสดุอุดฟันบางประเภท เช่น วัสดุกลาสไอโอโนเมอร์แบบที่แข็งตัวด้วยแสง ที่มีการเสริมความแข็งแรง ให้รับแรงบดเคี้ยวได้มากเป็นพิเศษ สามารถนำมาใช้เป็นทั้งวัสดุรองพื้น และวัสดุอุดฟันได้ด้วยตัวของมันเองเลยค่ะ เนื่องจากตัวของวัสดุดังกล่าวนี้ จะสามารถปลดปล่อยฟลูออไรด์ออกมา ได้ตลอดอายุการใช้งานของวัสดุ จึงช่วยลดภาวะเสียวฟันหลังอุดฟันได้เป็นอย่างดีค่ะ

7. อุดฟันน้ำนม

ภายหลังจากทันตแพทย์กรอเอาเนื้อฟันที่ผุออกไป จะต้องมีการอุดฟัน เพื่อให้มีวัสดุมาทำหน้าที่ในการบดเคี้ยวอาหารแทนเนื้อฟันที่สูญเสียไป กระบวนการบูรณะฟันดังกล่าวนี้ เรียกว่า การอุดฟัน

วัสดุที่จะนำมาใช้ในการอุดฟัน มีด้วยกันหลากหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภท จะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ซึ่งทันตแพทย์สำหรับเด็ก จะทำการพิจารณาเลือกวัสดุชนิดที่เข้ากันได้ดีที่สุดกับลักษณะฟันที่เหลืออยู่ของเด็ก เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างเป็นธรรมชาติ อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงความสวยงาม และอายุการใช้งานของวัสดุ ก็จะต้องยืนยาวได้จนฟันน้ำนมดังกล่าวหมดอายุไป

ขั้นตอน อุดฟันน้ำนม-7.-อุดฟันน้ำนม
ขั้นตอนอุดฟันน้ำนม-7.-อุดฟันน้ำนม

ในฟันหลัง อาจจะเลือกใช้วัสดุสีขาวหรือสีเงิน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆเช่าน ถ้าเป็นบริเวณที่กั้นน้ำลายได้ยาก อาจพิจารณาใช้วัสดุสีเงิน ที่มีความอ่อนไหวต่อความชื้นน้อยกว่า หรือถ้าเด็กมีลักษณะการใช้งานฟันมากๆ (เช่น มีฟันสึก หรือเด็กเคี้ยวของแข็งมากๆ) วัสดุสีเงิน จะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า เนื่องจากมีความแข็งแรง และรับแรงบดเคี้ยวได้มากกว่าวัสดุสีขาวค่ะ แต่ถ้าเป็นฟันที่มีรอยผุขนาดเล็กๆ ที่มีเนื้อฟันส่วนที่ยังไม่ผุอยู่ด้วย ทันตแพทย์สำหรับเด็ก อาจพิจารณาอุดเป็นวัสดุสีขาว และเคลือบหลุมร่องฟันทับไปอีกชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้เนื้อฟันจุดที่ยังไม่ผุ เกิดปัญหาขึ้นมาค่ะ

แต่ถ้าเป็นฟันหน้า ทันตพทย์จะไม่เลือกวัสดุอุดฟันสีเงินในการอุดฟันให้กับเด็กๆค่ะ เนื่องจากเหตุผลด้านความสวยงาม เพราะคงไม่มีเด็กคนไหน หรือผู้ปกครองท่านใด อยากยิ้มออกมาเห็นวัสดุอุดฟันสีเงินในฟันหน้าแน่นอนค่ะ ซึ่งวัสดุสีขาว ก็จะต้องให้ทันตแพทย์พิจารณาปลีกย่อยลงไปอีก ว่าเนื้อฟันที่เหลืออยู่ เหมาะกับการอุดฟันด้วยวัสดุคอมโพสิต เรซิน หรือวัสดุกลาสไอโอโนเมอร์ มากกว่ากันค่ะ

8. ตรวจเช็คการสบฟัน และขัดแต่งวัสดุอุดฟัน

ภายหลังจากทันตแพทย์สำหรับเด็กอุดฟันเรียบร้อยแล้ว วัสดุอุดจะยังคงมีส่วนที่เกินหรือไม่เรียบอยู่บ้างบางส่วน ซึ่งจะทำให้เด็กรู้สึกว่าสากลิ้นหรือฟันมีส่วนที่แข็งยื่นเกินออกมา คุณหมอฟันเด็กจำเป็นจะต้องทำการขัดแต่งวัสดุอุดให้มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับฟันเดิมมากที่สุด โดยขั้นตอนการขัดแต่งวัสดุอุดฟัน จะไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวด หรืออาการเสียวฟันแต่อย่างใด

รวมถึงทันตแพทย์จะต้องทำการตรวจเช็คการสบฟันของเด็กด้วย โดยการอุดฟันที่ดี จะต้องไม่ทำให้การสบฟันของเด็กเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เด็กจะต้องไม่มีจุดที่ค้ำ หรือจุดที่สบสูง และไม่มีจุดที่กัดกระแทก เนื่องจากหากเกิดกรณีดังกล่าว อาจทำให้วัสดุอุดฟันแตก หรือหลุด รวมถึงอาจทำให้เกิดอาการปวดฟันหรือเสียวฟันหลังอุดได้ค่ะ

ขั้นตอน อุดฟันน้ำนม - 8. ตรวจเช็คการสบฟันและขัดแต่ง
ขั้นตอนอุดฟันน้ำนม – 8. ตรวจเช็คการสบฟันและขัดแต่ง

วิธีการขัดแต่งวัสดุอุดฟัน ทันตแพทย์อาจจะใช้หัวกรอแบบเร็ว (มีน้ำหล่อเย็น) หรือแบบช้าในการขัดแต่ง ซึ่งทันตแพทย์จะทำการขัดแต่งให้ได้รูปทรงที่สวยงามโดยที่ยังใส่แผ่นยางกันน้ำลายอยู่ เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กสำลักน้ำที่เกิดจากการใช้ด้ามกรอฟัน แต่ทั้งนี้ การตรวจเช็คการสบฟัน จะทำได้ก็ต่อเมื่อถอดแผ่นยางกันน้ำลายออก ดังนั้น อาจมีช่วงเวลาหลังอุดฟันที่ทันตแพทย์ต้องทำการกรอแต่งฟัน โดยไม่มีแผ่นยางกันน้ำลาย แต่จะเป็นเพียงแค่ช่วงเวลาสั้นๆเท่านั้นค่ะ

9. การให้คำแนะนำภายหลังการอุดฟัน

ส่วนใหญ่แล้วหากทันตแพทย์อุดฟันด้วยวัสดุอุดฟันสีขาว วัสดุมักจะแข็งตัวเรียบร้อยภายหลังการฉายแสง พร้อมใช้งานได้ทันที แต่ถ้าหากทันตแพทย์อุดฟันด้วยวัสดุอมัลกัม หรือวัสดุอุดฟันสีเงิน วัสดุดังกล่าว จะมีการแข็งตัวเต็มที่ใน 24 ชั่วโมง ดังนั้น เด็กควรจะหลีกเลี่ยงอย่าเพิ่งเคี้ยวด้านที่เพิ่งอุดไปเป็นเวลา 1 วัน แต่ในกรณีที่เด็กยังเล็ก อาจจะไม่สามารถหลีเลี่ยงการเคี้ยวในด้านที่เพิ่งอุดไปได้ ผู้ปกครอง ควรให้เด็กทานอาหารอ่อน หรืออาหารที่ไม่ต้องใช้แรงบดเคี้ยวเยอะ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือน จนกว่าวัสดุจะแข็งตัวเต็มที่ค่ะ

ขั้นตอน อุดฟันน้ำนม-9.-ให้คำแนะนำหลังการอุดฟัน
ขั้นตอนอุดฟันน้ำนม-9.-ให้คำแนะนำหลังการอุดฟัน

บางกรณี ทันตแพทย์สำหรับเด็กอาจเลือกใช้วัสดุอุดฟันสีขาวที่ต้องใช้ระยะเวลาในการแข็งตัว (เช่น วัสดุกลาสไอโอโนเมอร์บางประเภท ที่ไม่ได้แข็งตัวโดยการฉายแสง) ผู้ปกครอง ก็ควรจะให้เด็กหลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารที่แข็งและเหนียวเป็นเวลา 24 ชั่วโมงเช่นเดียวกันค่ะ

หากทันตแพทย์สำหรับเด็กทำการฉีดยาชาเพื่ออุดฟัน ผู้ปกครองจะต้องคอยดูแลไม่ให้เด็กกัดปาก ดูดปาก หรือหยิกริมฝีปาก แก้ม และลิ้นของตัวเอง เนื่องจากในขณะที่ยังชาอยู่ เด็กจะสามารถกัดเนื้อเยื่อเหล่านั้นจนเป็นแผล เนื่องจากเด็กไม่ได้รู้สึกว่าเจ็บ แต่ถ้ายาชาหมดฤทธิ์ไปแล้ว แผลที่เกิดจากการกัดปากตัวเอง จะสร้างความเจ็บปวดให้เด็กเป็นอย่างมาก และต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์ กว่าแผลจะกลับมาหายดีเป็นปกติ

การดูแลรักษาภายหลังการอุดฟันน้ำนม ให้ใช้งานได้ยาวนาน

เพื่อประสิทธิภาพและผลลัพธ์ของการอุดฟันที่ดีที่สุด การดูแลฟันที่อุดฟันอย่างถูกวิธี จะช่วยยืดอายุการใช้งานของวัสดุอุดฟัน และจะช่วยให้ฟันซี่ที่อุดนั้น สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพค่ะ

ซึ่งวิธีการดูแลรักษาวัสดุอุดฟันสามารถทำได้ดังนี้ คือ

1.ปฏิบัติตามคำแนะนำภายหลังการอุดฟันของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด

ในกรณีที่วัสดุอุดฟันแข็งตัวเรียบร้อยภายหลังการอุด เด็กก็จะสามารถรับประทานอาหารได้ทันที แต่ถ้าหากวัสดุอุดฟันยังไม่แข็งตัวเต็มที่ ผู้ปกครองควรพิจารณาเลือกอาหารอ่อนให้เด็กรับประทานในวันที่ทำการอุดฟัน หรือตามคำแนะนำของทันตแพทย์ เพื่อไม่ให้วัสดุที่ยังมีความแข็งแรงไม่มากพอเสียรูปทรง หรือหลุดออกมาจากฟันค่ะ

การดูแลหลัง อุดฟันน้ำนม - 1. ปฏิบัติตามคำแนะนำ
การดูแลหลังอุดฟันน้ำนม – 1. ปฏิบัติตามคำแนะนำ

2. ระมัดระวังไม่กัดของแข็ง หรือเหนียวโดยตรง

หากว่ามีการบูรณะฟันหน้า หรือทำการอุดฟันหน้าขนาดใหญ่ไป การกัดอาหารที่มีความแข็ง เหนียว โดยใช้ฟันหน้ากัด จะส่งผลให้วัสดุอุดฟันแตก หรือหลุดออกมาทั้งชิ้นได้ เนื่องจากฟันน้ำนมของเด็ก มีขนาดเล็ก พื้นที่ผิวของฟันในการยึดเกาะกับวัสดุอุด จึงมีพื้นที่น้อยตามไปด้วย ส่งผลให้การอุดฟันน้ำนมมีแนวโน้มที่จะหลุดง่ายกว่าในฟันแท้อยู่แล้ว

การโดนแรงกัด หรือแรงกระแทกโดยตรง จึงเป็นการกระตุ้นให้วัสดุอุดฟันหน้า แตกหรือบิ่นได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งโดยส่วนใหญ่ วัสดุมักจะไม่แตกหรือหลุดออกมาล้วนๆ เราพบว่า มักจะมีเนื้อฟันแตกออกมาเพิ่มทุกครั้งที่วัสดุอุดฟันหลุด ส่งผลให้การอุดฟันซ้ำๆในซี่เดิม จะเป็นการอุดฟันที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และถ้าหากกระบวนการนี้เกิดขึ้นซ้ำๆ ฟันซี่ดังกล่าว จะสูญเสียเนื้อฟันไปมากจนไม่สามารถบูรณะได้ด้วยการอุดฟัน (อาจจะต้องครอบฟันแทนค่ะ)

การดูแลหลัง อุดฟันน้ำนม-2.-ไม่กัดของแข็งหรือเหนียวโดยตรง
การดูแลหลังอุดฟันน้ำนม-2.-ไม่กัดของแข็งหรือเหนียวโดยตรง

ผู้ปกครองควรเน้นย้ำกับเด็ก เรื่องของการหลีกเลี่ยงการกัดอาหารหรือขนมโดยใช้ฟันหน้าโดยตรง รวมถึงช่วยหั่นอาหาร หรือผลไม้ให้เป็นชิ้นเล็กพอดีคำ เพื่อเด็กจะได้รับประทานได้โดยไม่ต้องกัดค่ะ

3. ดูแลทำความสะอาดฟันให้ดี

เพราะถ้ามีคราบจุลินทรีย์ หรือคราบพลัคสะสมมากๆ เนื้อฟันธรรมชาติที่อยู่ติดกับวัสดุอุดฟัน อาจเกิดการผุได้ และถ้าเนื้อฟันที่เป็นตัวยึดวัสดุผุ หรือสูญเสียแร่ธาตุไป จนเกิดรอยผุต่อตามขอบของวัสดุ ถ้าทิ้งเอาไว้ รอยผุ อาจลุกลามเข้าไปใต้พื้นวัสดุอุดฟัน และส่งผลให้วัสดุอุดฟันหลุดหรือแตกได้

การดูแลหลัง อุดฟันน้ำนม - 3. ดูแลทำความสะอาดฟันให้ดี
การดูแลหลังอุดฟันน้ำนม – 3. ดูแลทำความสะอาดฟันให้ดี

ในกรณีที่มีการอุดฟันบริเวณซอกฟัน หรือด้านประชิดของฟัน ผู้ปกครองควรหมั่นใช้ไหมขัดฟัน เพื่อกำจัดเศษอาหารและคราบจุลินทรีย์ที่ติดอยู่บริเวณซอกฟัน ที่ไม่สามารถกำจัดออกได้ด้วยการแปรงฟันค่ะ

โดยการเลือกแปรงสีฟันและยาสีฟัน ทันตแพทย์สำหรับเด็กส่วนใหญ่ จะแนะนำให้เลือกใช้ยาสีฟันสำหรับเด็กที่มีฟลูออไรด์ เพื่อช่วยในการป้องกันฟันผุ และควรเลือกใช้แปรงสีฟัน ที่มีขนาดพอเหมาะกับช่องปากของเด็ก เพื่อการทำความสะอาดช่องปากได้อย่างมีประสิทธิภาพค่ะ

4. หมั่นกลับมาตรวจเช็คตามที่ทันตแพทย์นัดหมาย

ส่วนใหญ่แล้ว ทันตแพทย์จะทำการนัดตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำ ทุกๆ 3 เดือน หรือ 6 เดือน แล้วแต่ระดับความเสี่ยงในการเกิดฟันผุ ผู้ปกครองควรจะพาเด็กๆมาตามที่ทันตแพทย์นัดหมาย เนื่องจากหากมีรอยผุในระยะเริ่มต้น หรือมีวัสดุที่แตกหัก หรือบิ่นไป จะได้ตรวจเจอตั้งแต่ในระยะแรก หากปล่อยทิ้งไว้เนิ่นนาน ปัญหาอาจลุกลามไปมากจนเกินแก้ไขได้

การดูแลหลัง อุดฟันน้ำนม-4.-กลับมาตรวจเช็คตามที่ทันตแพทย์นัดหมาย
การดูแลหลังอุดฟันน้ำนม-4.-กลับมาตรวจเช็คตามที่ทันตแพทย์นัดหมาย

การมาพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก3 หรือ 6 เดือน เด็กๆจะได้รับการทำความสะอาดฟันและเคลือบฟลูออไรด์ รวมถึงจะได้รับการกระตุ้นให้รักษาความสะอาดของช่องปาก ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการแปรงฟันที่ถูกวิธี และการเลือกชนิดของอาหารที่ไม่ก่อให้เกิดฟันผุค่ะ

อุดฟันเด็ก ราคาเท่าไหร่?

ค่าบริการ - อุดฟันน้ำนม ราคา เท่าไหร่
ราคาอุดฟันเด็ก

ราคาอุดฟันเด็กจะแบ่งตามวัสดุที่ใช้ในการอุดฟันและจำนวนของด้านที่มีรอยผุ โดยราคาอุดฟันน้ำนมแบบสีขาว สำหรับฟันน้ำนมที่มีรอยผุ 1 ด้านจะมีราคาซี่ละ 1,000 บาท ฟันน้ำนมที่มีรอยผุ 2 ด้าน ราคาซี่ละ 1,400 บาท และ ราคาอุดฟันน้ำนมแบบสีขาว ที่มีรอยผุ 3 ด้านขึ้นไป จะมีราคาซี่ละ 1,700 บาท

สำหรับการอุดฟันสีเงิน (Amalgum) จะมีราคาดังต่อไปนี้ ราค อุดฟันน้ำนมสีเงิน Amalgam 1 ด้าน ราคาซี่ละ 1000 บาท ราคา อุดฟันน้ำนม สีเงิน Amalgam 2 ด้าน ราคาซี่ละ 1,400 บาท และ ราคา อุดฟันน้ำนม สีเงิน Amalgam 3 ด้านขึ้นไป ราคาซี่ละ 1,700 บาท

สำหรับตารางสรุปราคาอุดฟันน้ำนม สามารถดูได้ในตารางด้านล่างนี้ค่ะ และสำหรับค่าบริการทางทันตกรรมเด็กอื่นๆ สามารถกดดูได้จากปุ่มด้านล่างตารางนะคะ

บริการทันตกรรมเด็กค่าบริการ (บาท) ต่อซี่
อุดฟันน้ำนม สีขาว 1 ด้าน1,000 บาท
อุดฟันน้ำนม สีขาว 2 ด้าน1,400 บาท
อุดฟันน้ำนม สีขาว 3 ด้านขึ้นไป1,700 บาท
อุดฟันน้ำนม สีเงิน Amalgam 1 ด้าน1,000 บาท
อุดฟันน้ำนม สีเงิน Amalgam 2 ด้าน1,400 บาท
อุดฟันน้ำนม สีเงิน Amalgam 3 ด้านขึ้นไป1,700 บาท
สรุปตาราง: ราคาอุดฟันน้ำนมสำหรับเด็ก

กรณีที่มีฟันน้ำนมผุจำเป็นต้อง ทำการอุดฟันเด็กหรือไม่?

สำหรับกรณีเด็กที่มีฟันน้ำนมผุ ทันตแพทย์สำหรับเด็กหรือหมอฟันเด็ก จะมีวิธีพิจารณาถึงความจำเป็นที่จะต้องทำการรักษาด้วย การอุดฟันน้ำนม หรือ การอุดฟันเด็ก ดังนี้

1. พิจารณาจากอายุของฟันซี่นั้นๆในช่องปาก

หากฟันน้ำนมมีอายุอยู่ในช่องปากเกินกว่า 6 เดือน (ฟันทุกซี่จะมีอายุในการขึ้นการหลุดที่แน่นอน โดยดูได้จากตารางการขึ้นการหลุดของฟันน้ำนม) ทันตแพทย์จะพิจารณาอุดฟันที่นั้นๆ ด้วยวัสดุอุดฟันแบบถาวร แต่ถ้าหากฟันน้ำนมมีอายุอยู่ในช่องปากน้อยกว่า 6 เดือน ทันตแพทย์อาจพิจารณาอุดฟันน้ำนมด้วยวัสดุอุดชั่วคราว (กรณีที่ป้องกันไม่ให้อาหารลงไป อัดติดในรูฟันผุ) หรืออาจจะปล่อยเอาไว้โดยไม่ต้องรักษาใดๆ

2. ดูจากระดับการผุของฟัน

ฟันน้ำนมมีระดับการผูกด้วยกัน 3 ระยะ ทันตแพทย์จะพิจารณาว่า ฟันผุในระดับใด สมควรทำการรักษาด้วยการ อุดฟันน้ำนม หรือทำการรักษาแบบใด ดังนี้

  • ฟันที่ผุในระยะเริ่มแรก: ฟันที่เริ่มจะผุเพียงในระยะเริ่มแรก คุณหมอฟันเด็กอาจพิจารณาไม่อุดฟัน หรือ ทำแค่การเคลือบหลุมร่องฟันควบคู่ไปกับการให้คำแนะนำเกี่ยวกับทันตกรรมป้องกัน ได้แก่ การปรับเปลี่ยนวิธีการแปรงฟัน การใช้ยาสีฟันที่มีปริมาณฟลูออไรด์ 1,000 ppm การให้คำแนะนำเรื่องการรับประทานอาหาร การยับยั้งรอยผุด้วยการเคลือบฟลูออไรด์ความเข้มข้นสูง และ การเลิกขวดนม เป็นต้น
  • ฟันที่ผุในระยะปานกลาง: ฟันที่ผุในระยะนี้ ตัวฟันที่ผุมักจะแสดงอาการเสียว หรือ ปวด เมื่อเวลามีเศษอาหารติด แต่พอเอาเศษอาหารออกก็หายปวด โดยฟันที่มีลักษณะอาการเหล่านี้ ทันตแพทย์มักจะพิจารณาทำการรักษาด้วยการ อุดฟันน้ำนม โดยการกรอเอารอยผุออกก่อนแล้วจึงใช้วัสดุอุดฟันถาวร เพื่อหยุดยั้งรอยผุไม่ให้ลุกลามลงไปจนถึงรากฟัน แต่ในบางกรณี หากฟันผุเป็นรูใหญ่มากๆไม่สามารถที่จะ อุดฟันน้ำนม ซี่นั้นๆได้ ทันตแพทย์อาจใช้วิธีการครอบฟันน้ำนมหรือการครอบฟันเด็กเพื่อบูรณะฟันซี่นั้นๆแทน
  • ฟันที่ผุในระยะลุกลาม: คือฟันที่มีอาการปวดขึ้นมาได้เอง โดยที่ไม่มีสิ่งกระตุ้นใดๆ หรือฟันที่ปวดเวลามีเศษอาหารติด แต่เมื่อเอาเศษอาหารออกแล้ว ก็ยังไม่หายปวด โดยฟันลักษณะดังกล่าว จะไม่สามารถบูรณะด้วยการอุดฟันได้ เนื่องจาก รอยผุ ได้รุกรานเข้าไปในโพรงประสาทฟันเรียบร้อยแล้ว ต้องให้การรักษาโดย การรักษารากฟันหรือถอนฟัน

3. พิจารณาจากความเสี่ยงในการเกิดฟันผุ

สำหรับในกรณีเด็กที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดฟันผุ เช่น เด็กพิเศษ หรือ เด็กที่กินขนมจุบจิบระหว่างมื้อในปริมาณมาก ในเด็กกลุ่มนี้ แม้จะเป็นรอยผุในระยะเริ่มแรก ทันตแพทย์เด็กหรือคุณหมอฟันเด็กก็มักจะพิจารณาให้การรักษาด้วยการ อุดฟันน้ำนม ซี่นั้นๆที่เริ่มผุ แต่ถ้าหากเป็นเด็กที่มีความเสี่ยงในการเกิดฟันผุต่ำ คุณหมอฟันเด็กอาจเพียงแค่ให้คำแนะนำในเรื่องของทันตกรรมป้องกันเท่านั้น หรือ ช่วยเคลือบฟลูออไรด์เพื่อให้สามารถปกป้องฟันและช่วยป้องกันฟันผุได้ดียิ่งขึ้น

4. ในกลุ่มเด็กที่มีความเสี่ยงในการเกิดฟันผุไม่เท่ากัน วัสดุอุดฟันที่เลือกใช้ ก็จะแตกต่างกันด้วย

เด็กที่มีความเสี่ยงในการเกิดฟันผุสูง ทันตแพทย์อาจพิจารณาใช้ กลาสไอโอโนเมอร์ ซึ่งเป็นวัสดุที่สามารถ ปลดปล่อยฟลูออไรด์ได้ แทนการใช้คอมโพสิตเรซิน

5. ในเด็กเล็กมากๆ หรือเด็กที่ไม่ให้ความร่วมมือในการทำฟัน

ทันตแพทย์อาจพิจารณาอุดฟันด้วยวัสดุอุดฟันชั่วคราวไปก่อน เพื่อชะลอรอยผุให้ดำเนินไปอย่างช้าๆ หรือในบางกรณี ทันตแพทย์อาจใช้สารบางชนิด ทาที่รอยผุเพื่อหยุดยั้งการผุของฟัน ข้อพิจารณาดังกล่าว ทันตแพทย์เด็กมักจะใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจว่า ฟันน้ำนมซี่นั้นๆที่ผุ สมควรได้รับการอุดหรือไม่ หรือสมควรได้รับการบูรณะด้วยวิธีแบบไหนค่ะ

อุดฟันน้ำนม กับ ระยะต่างๆของการเกิดฟันผุ

ฟันผุมีด้วยกัน 3 ระยะ ซึ่งแต่ละระยะจะมีวิธีการในการรักษา แตกต่างกันออกไป สามารถอธิบายได้ดังนี้

1. รอยผุในระยะเริ่มต้น

ฟันจะมีลักษณะเป็นสีขาวขุ่น หรือเป็นคราบๆ โดยมากเนื้อฟันจะยังไม่มีการแตกหรือเป็นรู รวมถึงยังไม่มีอาการปวดหรือเสียวใดๆ

2. ฟันผุระยะปานกลาง

เนื้อฟันจะเริ่มมีการเปลี่ยนสี เป็นสีดำหรือสีน้ำตาล ฟันจะเริ่มมีรูหรือมีการแตกหัก เศษอาหารมักจะเข้าไปติดในร่องหรือช่องดังกล่าว ฟันมักจะยังไม่มีอาการปวด แต่อาจมีอาการเสียวฟันได้บ้าง บางกรณี เด็กอาจมาด้วยอาการเจ็บปวดฟันเวลามีเศษอาหารติดในรูฟันที่ผุ แต่เมื่อเอาเศษอาหารออก อาการปวดจะหายไปทันที

3. ฟันที่ผุในระยะลุกลาม

รอยผุจะดำเนินไปจนถึงในโพรงประสาทฟัน เนื้อฟันจะมีสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม บริเวณที่ผุเด็กมักจะมีอาการเสียวฟันหรือปวดฟัน อาการจะเป็นมากขึ้ในเวลากลางคืน บางกรณีอาจพบมีตุ่มหนอง หรือมีอาการบวมบริเวณเหงือกของฟันซี่ที่มีรอยผูกด้วย

ในฟันที่ผุระยะที่แตกต่างกัน วิธีการในการรักษาอาจจะมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งทันตแพทย์จะใช้มาประกอบกัน เพื่อพิจารณาวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการบูรณะฟันน้ำนมที่มีรอยผุค่ะ

บทสรุป

สุดท้ายนี้ ในการอุดฟันน้ำนม หรือ อุดฟันเด็ก ให้ได้ผลดี ต้องอาศัยความร่วมมือของเด็กอย่างมาก เพราะวัสดุอุดฟันหลายๆชนิด จะมีคุณสมบัติด้อยลง เมื่อถูกน้ำลายปนเปื้อน คุณหมอฟันเด็กจะมีการใช้หลักจิตวิทยา เพื่อช่วยให้เด็กยอมรับการทำฟันเด็ก ได้แก่ การอุดฟันได้ง่ายขึ้น โดยคุณหมอฟันเด็กอาจบอกกับเด็กว่า จะทำการล้างฟัน หรือ ติดดาวให้ฟัน รวมถึงให้เด็กดูกระจกขณะที่ทำการกรอฟัน เพื่อให้เด็กลดความกังวล จากเสียงดังของเครื่องกรอฟัน

บทสรุป-อุดฟันน้ำนม อุดฟันเด็ก
บทสรุปการอุดฟันเด็ก

รีวิวจากลูกค้าที่มาใช้บริการ

อ่านรีวิวจากลูกค้าที่มาใช้บริการด้านล่างนี้ได้เลยนะคะ

รีวิวจากลูกค้า คุณ Aom Bunpatananon

คุณหมอใจดีมากค่ะ ลูกสาวเคยไปคลินิกอื่น ร้องไห้และกลัวมากๆ เลยเปลี่ยนมาเป็นที่นี่ คุณหมอใจดีมีเทคนิคหลายๆอย่างทำให้เด็กไม่กลัวค่ะ ประทับใจมากค่ะ

Aom Bunpatananon / Facebook
รีวิวจากลูกค้า คุณ Patcharin
คุณหมอโบว์ใจดีมากๆและใจเย็นสุดๆค่ะ
แนะนำเลยคร้า
Patcharin Promsuwan / Facebook
รีวิวจากคุณพ่อคุณแม่-11

ถ้ายังตัดสินใจที่จะพาลูกหลาน ไปคลีนิคที่ไหนดีแม่แนะนำที่นี่ ที่เดียวเลยค่ะ ทุกอย่าง ทุกเรื่อง คือดีมาก ถ้าจะให้บรรยายคงยาวมาก เอาเป็นว่า”เข้ามาใช้บริการ แล้วประทับใจมากๆ จะเลือกมาที่นี่เป็นที่แรก และที่เดียวค่ะ

Joy Fully Khanthip / Facebook
รีวิวจากคุณพ่อคุณแม่-12
คุณหมอใจดีมากค่ะ พาลูกมาถอนฟัน น้ำนมทั้ง 2 คน ถอนทีเดียวคนละ 2 ซี่ ไม่ร้องเลย
Zap Ao Channapa / Facebook
Review 3

คุณหมอใจดีมากค่ะ น้องเชื่อฟังคุณหมอมาก ชอบมาหาคุณหมอฟันที่นี่ที่สุด

Kan Srinate / Facebook
รีวิวจากลูกค้า ที่มาใช้บริการที่คลินิกทันตกรรม SmileDC - คุณ Piyaporn

คุณหมอใจดี มือเบา น้องเน็กซ์ยังไม่เคยร้องเลย

Piyaporn Kullathamnate / Facebook
คุณหมอและพี่ๆน่ารักมากๆค่ะ
ตัดสินใจถูกมากค่ะที่มาที่นี่
นารินทร์ วงศ์สวัสดิ์ / Facebook
Review 6

คุณหมอโบว์ ใจดี ใจเย็น
มีของเล่นกลับบ้านด้วย
ลูกชาย 3ขวบ ไม่ร้องไห้เลย
นอนคุยกับหมอสบายไป

Prae Thunthita / Facebook
Review 7

พี่ๆทุกคน พูดจาเพราะ ยิ้มแย้ม คุณหมอแนะนำดี สถานที่สะอาด สวย ชอบค่าาา..

Maytinee Yamlamai / Facebook
รีวิวจากคุณพ่อคุณแม่-002
คุณหมอน่ารักมากกก มีวิธีพูดคุยไม่ให้เด็กกลัว ไม่เคยทำที่ไหนแล้วรู้สึกโอเคเท่าที่นี่เลยค่ะ
Noo'ya Dalee / Facebook
รีวิวจากคุณพ่อคุณแม่-19

คุณหมอใจดีมากๆค่ะ ให้คำแนะนำ การดูแลอย่างดีค่ะ

Parichart Mungfoiklang / Facebook
รีวิวจากคุณพ่อคุณแม่-20
ทำฟันที่นี่คุณหมอน่ารักมากๆค่ะ เด็กๆ ไม่กลัวเลย ทำฟันแล้วมีของเล่นให้เด็กอีกด้วยค่ะ
Yok Panyaphonpiya / Facebook

เวลาทำการของคลินิกทันตกรรม SmileDC

จันทร์-เสาร์10:00 – 19:00 น.
อาทิตย์10:00 – 12:00 น.

สอบถามนัดหมาย

ในกรณีที่คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการอุดฟันน้ำนมในเด็กเล็ก สามารถติดต่อสอบถามหรือทำนัดหมายได้ทางช่องทาง ดังต่อไปนี้ค่ะ

โทร 096-942-0057 คลินิกทันตกรรม SmileDC
ไลน์แชทหาเรา คลินิกทันตกรรม SmileDC

อ่านบทความอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการอุดฟันน้ำนม

ลิ้นเป็นฝ้าเกิดได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

รู้จักสาเหตุ และวิธีการป้องกันอาการลิ้นเป็นฝ้าในเด็ก

ลิ้นเป็นฝ้าในเด็ก มักเกิดขึ้นจากการละเลยการรักษาความสะอาดช่องปาก ฟัน และลิ้นอย่างถูกวิธี มาดูกันเลยว่าจะป้องกันได้อย่างไร และฝ้าบนลิ้นแบบไหนที่ควรไปพบแพทย์
อ่านเพิ่มเติม
วิธีแปรงฟันเด็กให้สะอาด

เทคนิคดี ๆ ที่พ่อแม่ควรรู้ สอนเด็กแปรงฟันอย่างไรให้สะอาด

ฟันเป็นอวัยวะที่ใช้ในการบดเคี้ยวอาหาร จึงมีความสำคัญต่อเด็กวัยกำลังโต พ่อแม่ควรสอนเด็กแปรงฟันให้สะอาด เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดี ซึ่งเรามีวิธีมาบอกกัน
อ่านเพิ่มเติม
การจัดฟันน้ำนมในเด็ก สามารถเริ่มทำการ จัดฟันเด็ก ได้เมื่ออายุเท่าไหร่?

จัดฟันเด็ก เริ่มทำได้เมื่อไหร่ พร้อมเหตุผลทำไมต้องจัดฟันน้ำนม?

จัดฟันน้ำนม เป็นหนึ่งในคำถามที่มีคุณพ่อคุณแม่สนใจสอบถามเข้ามามาก ซึ่งมีหลายๆคำถามเกี่ยวกับการจัดฟันน้ำนมในเด็กที่น่าสนใจ เช่น เด็กๆสามารถจะเริ่มจัดฟันได้ตั้งแต่อายุเท่าไหร่? ลูกมีฟันซ้อนเกหรือฟันล้มเอียงสามารถจัดฟันเด็กช่วยได้มั๊ย? ควรรอให้ฟันน้ำนมหลุดออกหมดและมีฟันแท้ขึ้นครบก่อนค่อยจัดฟันเด็กหรือไม่? การจัดฟันน้ำนมในเด็กช่วยแก้ปัญหาฟันแบบไหนได้บ้าง?…
อ่านเพิ่มเติม
ครอบฟันเด็ก ช่วยหยุดการเกิดฟันน้ำนมผุในเด็กได้อย่างไร?

ครอบฟันเด็ก ช่วยหยุดฟันน้ำนมผุในเด็กได้อย่างไร?

ครอบฟันเด็กกับบทบาทที่ช่วยหยุดการเกิดฟันน้ำนมผุในเด็ก – ฟันน้ำนมผุหรือที่เรียกกันทั่วไปว่าฟันผุเป็นหนึ่งในโรคที่พบบ่อยที่สุดในวัยเด็ก เด็กบางคนจะไวต่อปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดฟันผุได้ง่าย สําหรับเด็กๆเหล่านี้การเลือกทำการรักษาด้วยการทำครอบฟันเด็กโดยเฉพาะสำหรับ…
อ่านเพิ่มเติม
เด็กดูดนิ้ว เกิดจากอะไร มีผลเสียหรือไม่ มีวิธีช่วยให้เลิกดูดนิ้วมั๊ย?

วิธีช่วยเด็กเลิกดูดนิ้ว – แนวทางแก้ไขสำหรับพ่อแม่

เด็กดูดนิ้ว ถือเป็นเรื่องปกติ และเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาการของเด็ก การดูดนิ้ว หรือการอมนิ้ว มีบทบาทที่สำคัญในการสร้างความรู้สึกอบอุ่นและความรู้สึกปลอดภัยในเด็ก นอกจากนี้ยังเป็น…
อ่านเพิ่มเติม
ลูกมีฟันน้ำนมผุมาก ถ้าไม่ครอบฟันน้ำนม มีทางเลือกอื่นมั๊ยนะ

ลูกมีฟันน้ำนมผุ ทางเลือกการรักษานอกจากครอบฟันเด็ก มีหรือไม่?

ครอบฟันน้ำนม กับทางเลือกในการรักษา สำหรับเด็กๆที่มีฟันน้ำนมผุมาก ถ้าไม่รักษาด้วยการครอบฟันน้ำนม ยังมีทางเลือกอื่นอีกมั๊ยนะ? (อ่านเพิ่มเติม)
อ่านเพิ่มเติม
ครอบฟันเด็ก ทำอย่างไรให้เด็กๆ รู้สึกผ่อนคลาย

การเตรียมใจเด็กๆ สำหรับการทำครอบฟันน้ำนมอย่างสบายใจ

สําหรับเด็กหลายคนความคิดที่จะไปพบทันตแพทย์เด็กอาจเป็นเรื่องที่น่ากลัว นี่เป็นเรื่องจริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งสําหรับขั้นตอนการครอบฟันน้ำนมที่มี…
อ่านเพิ่มเติม
ครอบฟันเด็ก กับ อุดฟันน้ำนม - Pediatric Dental Crown vs Filling

ครอบฟันเด็ก กับ อุดฟันน้ำนม เลือกรักษาแบบไหนดีนะ?

ครอบฟันน้ำนม กับ อุดฟันน้ำนม เลือกรักษาแบบไหนดีนะ!? เป็นคำถามที่ผู้ปกครองหลายท่านสงสัย มาหาคำตอบ ข้อดีและข้อจำกัดของแต่ละทางเลือกกันได้เลยค่ะ…
อ่านเพิ่มเติม
How Pediatric Dental Crown help Boost Confidence - ครอบฟันเด็กช่วยสร้างความมั่นใจ ได้อย่างไร

ครอบฟันเด็ก ช่วยเสริมสร้างบุลคลิกและความมั่นใจได้จริงหรือ?

ครอบฟันเด็ก เป็นเครื่องมือสำคัญในการรักษาสุขภาพช่องปากของเด็ก ใช้เพื่อซ่อมแซมและปกป้องฟันที่เสียหายหรือผุมากจนอาจจะต้อง…
อ่านเพิ่มเติม
อาหารที่ดีต่อสุขภาพฟันของลูก - How good food benefits your kids health

อาหารที่ดีช่วยดูแลสุขภาพฟันลูกได้อย่างไร?

อาหารที่ดีต่อสุขภาพฟันของลูกเป็นสิ่งสำคัญ!! ในฐานะพ่อแม่เราทุกคนต้องการให้ลูกๆ มีรอยยิ้มที่มีสุขภาพดีและมีความสุข แต่รู้หรือไม่ว่าอาหารที่ดี มีบทบาทสําคัญในการ…
อ่านเพิ่มเติม
Preventive Dentistry ทันตกรรมเชิงป้องกันสำหรับเด็ก

ทันตกรรมเชิงป้องกันสำหรับเด็ก คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร?

ทันตกรรมเชิงป้องกันสำหรับเด็ก (Preventive Dentistry) คือ เป็นวิธีการป้องกันปัญหาฟันผุและโรคในช่องปากของเด็กๆ ตั้งแต่เริ่มมีฟันน้ำนมซี่แรกขึ้นมาในช่องปาก (อายุประมาณ 8…
อ่านเพิ่มเติม
ฟันน้ำนมผุ คืออะไร เด็กมีฟันผุ รักษาอย่างไร

ฟันน้ำนมผุ เกิดจากอะไร? เด็กที่มีฟันน้ำนมผุ รักษาอย่างไร?

ฟันน้ำนมผุ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การทำความสะอาดไม่ทั่วถึง รวมถึงการกินอาหารหรือขนมที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ หรืออาจเกิดจากเนื้อฟันที่…
อ่านเพิ่มเติม
5 เคล็ดลับเลือกยาสีฟันให้ลูก

5 เคล็ดลับ ช่วยเลือก”ยาสีฟันสำหรับเด็ก”ให้ลูกน้อย

ยาสีฟันเด็ก คือผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นในการดูแลสุขภาพช่องปาก เนื่องจาก ยาสีฟัน จะช่วยในการกำจัดคราบจุลินทรีย์ที่เกาะอยู่บนตัวฟัน รวมถึงทางผู้ผลิต อาจมีการผสมสารที่มีประโยชน์หลายๆอย่างเข้าไปด้วย เพื่อช่วยให้ยาสีฟันมีประสิทธิภาพในการทำความสะอาดที่ดี…
อ่านเพิ่มเติม
ฟลูออไรด์เม็ด จำเป็นไหม

ฟลูออไรด์เม็ด จำเป็นไหม??

ฟันผุ คือ ภาวะของเนื้อฟันที่มีโครงสร้างเปลี่ยนแปลงไป ฟันผุ เกิดจาก การสูญเสียแร่ธาตุที่มีลักษณะแข็งของตัวฟัน มีสาเหตุหลักมาจากเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในช่องปาก ย่อยเศษอาหารและปลดปล่อยกรดออกมาทำลายเนื้อฟัน…
อ่านเพิ่มเติม