Post Views: 1,788
ตรวจสุขภาพฟันเด็ก
ตรวจสุขภาพฟันเด็ก คืออะไร?
ตรวจสุขภาพฟันเด็ก หรือ ตรวจฟันเด็ก เป็นกระบวนการที่สำคัญในการประเมินสภาพฟัน เหงือก ลิ้น เนื้อเยื่อภายในช่องปากและสุขภาพฟันของเด็กๆ ซึ่งหมอฟันเด็กสามารถประเมินความเสี่ยงในการเกิดฟันน้ำนมผุของเด็กแต่ละคนได้ และให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับเด็กแต่ละรายกับคุณพ่อคุณแม่อย่างเหมาะสมต่อไป
การตรวจสุขภาพฟันเด็กทั่วไปแนะนำให้มาตรวจทุก 6 เดือน แต่ในกรณีที่เด็กมีความเสี่ยงในการเกิดฟันผุสูง คุณหมอฟันเด็กอาจจะแนะนำให้นัดหมายตรวจสุขภาพฟันบ่อยขึ้น เช่น ทุก 3 เดือน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาฟันผุหรือเหงือกอักเสบที่ลุกลามมากไปจนทำให้กระบวนในการรักษาซับซ้อนยิ่งขึ้น
การตรวจสุขภาพฟันเด็ก มีประโยชน์อย่างมากในการช่วยตรวจจับปัญหาสุขภาพฟันและช่องปากของเด็กๆตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และส่งเสริมให้เด็กมีการดูแลฟันอย่างถูกต้องตั้งแต่วัยเยาว์ นอกจากนี้คุณหมอฟันเด็กยังสามารถให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปากเพื่อป้องกันฟันผุ และส่งเสริมให้ฟันของเด็กๆแข็งแรงในระยะยาว
บริการ ตรวจสุขภาพฟันเด็ก
สำหรับบริการทันตกรรมเด็ก ที่คลินิกทันตกรรม SmileDC ซึ่งเป็นคลินิกทันตกรรมเด็กเฉพาะทาง มีให้บริการดังต่อไปนี้ค่ะ
คือ การใช้ฟลูออไรด์ความเข้มข้นสูง ในรูปแบบของเจลหรือแบบวานิชมาเคลือบไว้ที่ผิวฟัน โดยทันตแพทย์เด็กจะทำการขัดฟันหรือแปรงฟันให้สะอาด เพื่อช่วยให้ฟลูออไรด์สามารถสัมผัสกับผิวฟันได้อย่างเต็มที่ ซึ่งการเคลือบฟลูออไรด์เป็นประจำตามคำแนะนำของทันตแพทย์เด็ก จะช่วยป้องกันการเกิดฟันน้ำนมผุได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คือ การขจัดคราบหินปูนที่เกาะอยู่บริเวณฟันและซอกฟันให้หลุดออก โดยการใช้เครื่องมือทางทันตกรรม เพื่อคงไว้ซึ่งสุขภาพฟันและช่องปากที่แข็งแรง และช่วยป้องกันโรคเหงือกและฟันที่อาจเกิดขึ้นได้จากสะสมของคราบหินปูนในปริมาณมากๆ
คือ การซ่อมแซมเนื้อฟันที่มีรอยผุ เพื่อให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ โดยฟันที่จะสามารถทำอุดได้ ส่วนใหญ่จะเป็นฟันที่ยังไม่มีอาการปวดหรือบวม โดยส่วนมากแล้วฟันน้ำนมจะมีโอกาสผุง่ายกว่าฟันแท้ เพราะเนื้อฟันน้ำนมมีความหนาน้อยกว่าและขนาดที่เล็กกว่าฟันแท้มาก
แต่ทั้งนี้ ในเด็กที่มีอายุประมาณ 6-7 ปี จะพบว่า ฟันกรามแท้ซี่ในสุด จะมีโอกาสผุสูงเช่นกัน สำหรับการอุดฟันน้ำนม หรือการอุดฟันเด็กนั้น ฟันซี่ไหนเหมาะสมกับวัสดุอุดฟันประเภทใด จะแตกต่างกันไปในแต่ละกรณี ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของทันตแพทย์เด็กเป็นสำคัญค่ะ
คือ กระบวนการรักษาที่คุณหมอฟันเด็กจะวางแผนการรักษาเป็นทางเลือกสุดท้าย สำหรับกรณีที่ไม่สามารถเก็บฟันน้ำนมซี่นั้นๆไว้ได้ เช่น ฟันที่ผุมากๆ จนถึงโพรงประสาทรากฟัน และไม่สามารถรักษารากฟันเพื่อเก็บฟันซี่นั้นไว้ได้ หรือมีความจำเป็น ต้องทำการรักษาด้วยการ ถอนฟันเด็ก ในซี่นั้นๆออก เช่น กรณีที่ฟันน้ำนม ยังไม่ยอมหลุดออก และ ฟันแท้เริ่มขึ้นมาแล้ว ทำให้ไม่มีที่เพียงพอ สำหรับให้ฟันแท้ ขึ้นมาได้อย่างปกติ
สำหรับหนึ่งในคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการถอนฟันเด็ก คือ ฟันน้ำนมซี่นั้นๆ สมควรจะถอนออกเพื่อให้ฟันแท้ขึ้นมาในช่องปากได้หรือยัง ซึ่งคำตอบของคำถามนี้ ทันตแพทย์เด็กจะเป็นผู้พิจารณาว่า ฟันน้ำนมซี่นั้นๆยังสามารถเก็บอยู่ในช่องปากได้หรือไม่
คือ การผนึกหลุมและร่องของฟันที่ลึกด้วยเรซิน เพื่อทำให้ลักษณะของหลุมร่องที่ลึกนั้นตื้นขึ้น ทำให้ง่ายต่อการทำความสะอาดฟันซี่นั้นๆ ปกติแล้วหมอฟันเด็กจะแนะนำให้ทำในฟันกรามแท้ซี่แรก (first molar) ที่ขึ้นมาในช่องปาก ตอนอายุประมาณ 6 ขวบ เนื่องจากผู้ปกครอง มักไม่ทราบว่าฟันที่ขึ้นนั้นเป็นฟันแท้ เนื่องจากไม่ได้มีฟันน้ำนมซี่ไหนหลุดไป และเด็กๆมักจะทำความสะอาดไม่ถึง
คือ การรักษาทางทันตกรรมเด็ก สำหรับในกรณีที่ฟันน้ำนมมีการผุลึกจนถึงโพรงประสาทฟัน ทำให้ หมอฟันเด็กไม่สามารถทำการรักษาได้ โดยวิธีการอุดฟันแบบปกติ เนื่องจากเชื้อโรคได้ลุกลามเข้าไปสู่ส่วนของโพรงรากฟันแล้ว จึงจำเป็นที่จะต้องทำการรักษารากฟันน้ำนมเพื่อทำการเก็บฟันซี่นั้นๆไว้ค่ะ
คือ วิธีการบูรณะฟันที่ทันตแพทย์เด็กใช้ ในกรณีฟันน้ำนมที่ผุมากจนไม่สามารถรักษาได้ด้วยการอุดฟันน้ำนมและไม่ต้องการถอนฟันน้ำนมซี่นั้นๆออก ครอบฟันน้ำนมโดยทั่วไป จะมีอยู่ 3 แบบด้วยกัน คือ ครอบฟันน้ำนมสีเงิน ที่ทำจาก Stainless Steel , ครอบฟันน้ำนมสีขาวที่ทำจากวัสดุอุดฟัน และ ครอบฟันน้ำนมสีขาวที่ทำจากเซรามิก
คือ เครื่องมือที่ช่วยป้องกัน ไม่ให้ฟันข้างเคียงของฟันที่ถูกถอนไป ล้มลงมาในช่องว่างที่เกิดจากการถอนฟัน เนื่องจากฟันน้ำนมมีหน้าที่เป็นตัวกันที่ เพื่อให้ฟันแท้สามารถขึ้นมาในช่องปากเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม การไม่ใส่เครื่องมือกันฟันล้มแล้วถอนฟัน อาจส่งผลให้ฟันแท้ที่ขึ้นมาไม่ถูกตำแหน่ง หรือขึ้นไม่ได้และเกิดเป็นฟันคุดในที่สุด
คือ การให้การรักษาทางทันตกรรมเฉพาะทางสำหรับ เด็กพิเศษ ซึ่งจะมีขั้นตอนที่แตกต่างจากการให้การรักษาทางทันตกรรมเด็กทั่วๆไป ทั้งนี้เนื่องจาก เด็กพิเศษ คือ เด็กที่มีความต้องการพิเศษ ในด้านต่างๆ เช่นต้องการความช่วยเหลือในการเรียนรู้ (เช่น เด็กที่มีภาวะปัญญาอ่อน) หรือ ต้องการความช่วยเหลือในการเข้าสังคม (เช่น เด็กที่มีภาวะออทิสติก) ซึ่งเด็กเหล่านี้ จะต้องการความพิเศษในการดูแล เรื่องการทำฟันก็เช่นเดียวกัน เนื่องจากหมอฟันทั่วๆไป อาจไม่มีวิธีบริหารจัดการให้เด็กพิเศษเหล่านี้ยอมรับการทำฟันได้ แม้กระทั่งหมอฟันเด็กเอง ก็อาจจะไม่สามารถใช้วิธีปกติในการทำฟันเด็กกลุ่มนี้ได้
คลินิกทันตกรรมสมายล์ ให้บริการทันตกรรมเด็กโดยทีมทันตแพทย์เฉพาะทางสำหรับเด็กหรือคุณหมอฟันเด็ก ที่มีประสบการณ์สูง มีจิตวิทยาในการโน้มน้าวให้เด็กยอมรับการทำฟันและไม่กลัวในการมาพบหมอฟันเด็ก นอกจากนี้ทางคลินิกฯ ได้จัดให้มีมุมของเล่นเด็กที่หลากหลาย เพื่อให้เด็กๆ ได้รู้สึกผ่อนคลาย เพื่อเป้าหมายสูงสุดของเรา คือ “สร้างรอยยิ้มให้ทุกคน” ค่ะ
รีวิวจากผู้ปกครองที่มาใช้บริการ ตรวจสุขภาพฟันเด็ก
อ่านรีวิวจากลูกค้าที่มาใช้บริการด้านล่างนี้ได้เลยนะคะ
คุณหมอใจดีมากค่ะ ลูกสาวเคยไปคลินิกอื่น ร้องไห้และกลัวมากๆ เลยเปลี่ยนมาเป็นที่นี่ คุณหมอใจดีมีเทคนิคหลายๆอย่างทำให้เด็กไม่กลัวค่ะ ประทับใจมากค่ะ
Aom Bunpatananon
/ Facebook
คุณหมอโบว์ใจดีมากๆและใจเย็นสุดๆค่ะ
แนะนำเลยคร้า
Patcharin Promsuwan
/ Facebook
ถ้ายังตัดสินใจที่จะพาลูกหลาน ไปคลีนิคที่ไหนดีแม่แนะนำที่นี่ ที่เดียวเลยค่ะ ทุกอย่าง ทุกเรื่อง คือดีมาก ถ้าจะให้บรรยายคงยาวมาก เอาเป็นว่า”เข้ามาใช้บริการ แล้วประทับใจมากๆ จะเลือกมาที่นี่เป็นที่แรก และที่เดียวค่ะ
Joy Fully Khanthip
/ Facebook
คุณหมอใจดีมากค่ะ พาลูกมาถอนฟัน น้ำนมทั้ง 2 คน ถอนทีเดียวคนละ 2 ซี่ ไม่ร้องเลย
Zap Ao Channapa
/ Facebook
คุณหมอใจดีมากค่ะ น้องเชื่อฟังคุณหมอมาก ชอบมาหาคุณหมอฟันที่นี่ที่สุด
Kan Srinate
/ Facebook
คุณหมอใจดี มือเบา น้องเน็กซ์ยังไม่เคยร้องเลย
Piyaporn Kullathamnate
/ Facebook
คุณหมอและพี่ๆน่ารักมากๆค่ะ
ตัดสินใจถูกมากค่ะที่มาที่นี่
นารินทร์ วงศ์สวัสดิ์
/ Facebook
คุณหมอโบว์ ใจดี ใจเย็น
มีของเล่นกลับบ้านด้วย
ลูกชาย 3ขวบ ไม่ร้องไห้เลย
นอนคุยกับหมอสบายไป
Prae Thunthita
/ Facebook
พี่ๆทุกคน พูดจาเพราะ ยิ้มแย้ม คุณหมอแนะนำดี สถานที่สะอาด สวย ชอบค่าาา..
Maytinee Yamlamai
/ Facebook
คุณหมอน่ารักมากกก มีวิธีพูดคุยไม่ให้เด็กกลัว ไม่เคยทำที่ไหนแล้วรู้สึกโอเคเท่าที่นี่เลยค่ะ
Noo'ya Dalee
/ Facebook
คุณหมอใจดีมากๆค่ะ ให้คำแนะนำ การดูแลอย่างดีค่ะ
Parichart Mungfoiklang
/ Facebook
ทำฟันที่นี่คุณหมอน่ารักมากๆค่ะ เด็กๆ ไม่กลัวเลย ทำฟันแล้วมีของเล่นให้เด็กอีกด้วยค่ะ
Yok Panyaphonpiya
/ Facebook
ค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับ การตรวจฟันเด็ก
สำหรับอัตราค่าบริการทันตกรรมเด็ก หรือ ทำฟันเด็ก ที่คลินิกทันตกรรม SmileDC คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองสามารถตรวจสอบได้โดยกดปุ่มด้านล่างนี้ค่ะ
รูปเด็กๆที่มาหาหมอฟันเด็ก
ขอขอบพระคุณ คุณพ่อคุณแม่สำหรับความไว้วางใจให้ Smile DC คลินิกทันตกรรมสมายล์ดูแลสุขภาพฟันของน้องๆนะคะ
คุณหมอฟันเด็กที่ให้บริการทำฟันเด็กของเรา
ทีมคุณหมอฟันเด็กเฉพาะทางที่ คลินิกทันตกรรม SmileDC
เป็นทีมคุณหมอฟันเด็ก ผู้เชี่ยวชาญที่จบสาขา ทันตกรรมเฉพาะด้านทันตกรรมเด็ก และมีประสบการณ์เฉพาะทางด้านการตรวจ รักษาฟันเด็ก อุ่นใจด้วยบริการทำฟันเด็ก หรือทันตกรรมเด็ก ในทุกด้านแบบครบวงจร (One-Stop Service)
คุณหมอฟันเด็กของเรา เป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการตรวจและรักษาฟันของเด็กๆ มีจิตวิทยาในการโน้มน้าวให้เด็กยอมรับการทำฟัน และไม่กลัวในการมาพบหมอฟันเด็ก คุณหมอฟันเด็กใจดี มือเบา เด็กๆรัก และมีของเล่นกลับบ้าน ให้กับเด็กๆ ทุกคนค่ะ
ผศ.ทพญ.อาวีพรรณ โกวิทย์สมบูรณ์
(หมอโบว์)
ทพ. เพิ่มพูน เจริญทำนุกิจ
(หมอเจ)
เวลาออกตรวจ
- ทุกวันจันทร์
- วันพุธสัปดาห์ที่ 1 และ 3 ของเดือน
ทพญ. อัญชนา อารีธรรมศิริกุล
(หมอโบว์)
เวลาออกตรวจ
- ทุกวันอังคาร
- วันศุกร์สัปดาห์ที่ 1, 3 และ 5 ของเดือน
- วันเสาร์สัปดาห์ที่ 3 และ 4 ของเดือน
ทพญ. วราภา เหรียญพิทักษ์กุล
(หมอกุ๊ก)
ทพญ. พรรณี กลลดาเรืองไกร
(หมอซัง)
เวลาออกตรวจ
- ทุกวันพฤหัส
- วันพุธสัปดาห์ที่ 2 และ 4 ของเดือน
- วันเสาร์สัปดาห์ที่ 1, 3 และ 5 ของเดือน
อ.ดร.ทพญ.ศิวาพร หอโสภณพงษ์
(หมอยุ้ย)
ทพญ.นวพรรณ รัตนภักดีกุล
(หมอพิม)
เวลาออกตรวจ
- วันเสาร์สัปดาห์ที่ 1, 2 และ 3 ของเดือน
- ทุกวันอาทิตย์
ทพญ.ศรัณย์พร เลื่องชัยเชวง
(หมอแอน)
ทพญ.ณัฐณิชา นามพิมพ์
(หมอจูเนียร์)
เวลาออกตรวจ
- ทุกวันศุกร์สัปดาห์ที่ 2 และ 4 ของเดือน
- ทุกวันเสาร์สัปดาห์ที่ 3 ของเดือน
ทพญ.ปาลิตา โลกโบว์
(หมอจ๊ะโอ๋)
เวลาออกตรวจ
- ทุกวันเสาร์สัปดาห์ที่ 1 และ 4 ของเดือน
- ทุกวันอาทิตย์สัปดาห์ที่ 1, 3 และ 4 ของเดือน
ทพญ.วันวิสาข์ เล็กอาราม
(หมอการ์ตูน)
เวลาออกตรวจ
- ทุกวันเสาร์สัปดาห์ที่ 3 ของเดือน
- ทุกวันอาทิตย์
ทพญ.ดนุธิดา สาเขตร์
(หมอต๋าว)
เวลาทำการ
จันทร์-เสาร์ 10:00 – 19:00 น.
อาทิตย์ 10:00 – 12:00 น.
อ่านบทความทันตกรรมเด็ก