หน้าแรก » ทันตกรรมเฉพาะทางสำหรับผู้ใหญ่ » รักษารากฟัน คืออะไร มีประโยชน์ และความสำคัญอย่างไร?

รักษารากฟัน คืออะไร มีประโยชน์ และความสำคัญอย่างไร?

รักษารากฟัน คืออะไร?

รักษารากฟัน (Root Canal Treatment) คือ การกำจัดเนื้อเยื่อและเส้นประสาทที่มีการติดเชื้อในโพรงประสาทฟัน จากนั้นจึงทำความสะอาดภายในรากฟันให้สะอาดปราศจากเชื้อ แล้วจึงทำการอุดปิดรากฟันและบูรณะตัวฟัน เพื่อให้ฟันซี่ที่ได้รับการรักษารากฟันนี้มีความแข็งแรงเหมือนฟันตามธรรมชาติ โดยการรักษารากฟันนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้สามารถเก็บรักษาฟันไว้ได้ไดยไม่จำเป็นต้องถอนฟันซี่นั้นออกไป

รักษารากฟัน คืออะไร
ภาพประกอบ: รักษารากฟัน คืออะไร?

กระบวนการรักษารากฟัน ด้วยการทำความสะอาดและกำจัดเชื้อจุลชีพ ทันตแพทย์จะใช้วิธีหลายๆอย่างร่วมกัน ทั้งการใส่ยาที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อการทำความสะอาด โดยวิธีขูดเอาเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อออก และ การล้างโพรงประสาทฟัน ด้วยน้ำยา ที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ ภายหลังกระบวนการรักษารากฟันเสร็จสิ้น ทันตแพทย์จะแนะนำให้ทำการบูรณะฟันซี่นั้นๆ ด้วยการปักเดือยฟัน และทำการครอบฟันเพื่อป้องกันไม่ให้ฟันซี่นั้น แตกภายหลังการรักษารากฟันเสร็จสมบูรณ์

การรักษารากฟันนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้สามารถเก็บรักษาฟันไว้ได้ไดยไม่จำเป็นต้องถอนฟันซี่นั้นออกไป

คลินิกทันตกรรม SmileDC

รักษารากฟัน เป็นกระบวนการรักษาฟันที่มีการผุลุกลาม เข้าไปจนถึงโพรงประสาทฟัน ซึ่งไม่สามารถรักษาได้ด้วยการอุดฟันธรรมดา โดยสาเหตุหลักๆ ของการผุจนเข้าไปถึงโพรงประสาทฟันและภายในคลองรากฟัน คือ การปล่อยปละละเลยฟันที่ผุในระยะเริ่มต้น โดยไม่ทำการรักษาใดๆจนเกิดการผุลุกลามไปจนถึงการติดเชื้อที่ โพรงประสาทฟัน หรือ เกิดหนองที่ปลายรากฟัน

รักษารากฟัน
ภาพประกอบ: การรักษารากฟัน

ดังนั้นด้วยสาเหตุเหล่านี้จึงส่งผลให้เกิดการปวดฟัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการปวดฟันตอนกลางคืน หรืออาการปวดฟันเวลารับประทานอาหาร โดยจะปวดต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน

มาเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ การรักษารากฟัน คืออะไร? ราคาเท่าไหร่? รวมถึงสาเหตุ วิธีการรักษา และข้อควรปฎิบัติภายหลังการรักษารากฟันไปพร้อมๆกันในบทความนี้ได้เลยนะคะ

หัวข้อที่น่าสนใจ – รักษารากฟัน

เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจด้านล่างได้เลยค่ะ

โครงสร้างของฟันและรากฟัน

โครงสร้างฟัน และ รากฟัน สำหรับการ รักษารากฟัน
ภาพประกอบ: โครงสร้างฟัน และ รากฟัน

ก่อนอื่นเรามาดูโครงสร้างส่วนประกอบของฟัน และ รากฟัน ว่าประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ดังต่อไปนี้ค่ะ

1. เคลือบฟัน (Enamel)

ชั้นเคลือบฟัน เป็นผิวฟันชั้นที่อยู่นอกสุด และเป็นชั้นที่แข็งที่สุดด้วยค่ะ มีหน้าที่ในการรับแรงบดเคี้ยว มีโครงสร้างเป็นผลึก ไม่มีทั้งเส้นประสาทและเส้นเลือด ดังนั้นเวลาเราเริ่มมีฟันผุที่ชั้นเคลือบฟันนี้ จึงยังไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดใดๆค่ะ ชั้นเคลือบฟันนี้ จะช่วยปกป้องตัวฟันทั้งหมดจากการเกิดฟันผุ และเนื่องจากชั้นเคลือบฟันนี้จะไม่มีการสร้างทดแทนขึ้นมาใหม่ ดังนั้นชั้นเคลือบฟันจึงประกอบด้วยสสารที่แข็งที่สุดของร่างกายเรา เพื่อช่วยทนทานจากการกันกร่อนของกรดจากการย่อยอาหารของแบคทีเรีย และทำให้ชั้นเคลือบฟันสามารถอยู่กับเราไปได้นานๆนั่นเองค่ะ

2. เนื้อฟัน (Dentine)

ชั้นเนื้อฟันนี้ จะเป็นชั้นที่อยู่ถัดมากจากชั้นเคลือบฟัน โดยโครงสร้างในเนื้อฟันนี้ จะประกอบด้วยรูของท่อเนื้อฟันขนาดเล็กๆจำนวนมาก ซึ่งเป็นที่รวมของเส้นประสาทรับความรู้สึก ดังนั้นเมื่อมีฟันผุถึงชั้นนี้ เราจะเริ่มมีอาการเสียวฟันนั่นเองค่ะ โดยชั้นเนื้อฟันนี้จะเป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างชั้นเคลือบฟัน และ โพรงประสาทฟัน

3. โพรงประสาทฟัน (Pulp Chamber)

โพรงประสาทฟัน เป็นช่องว่างที่เป็นเนื้อเยื่ออ่อน ซึ่งประกอบด้วย เส้นเลือด เส้นประสาท และระบบน้ำเหลือง

4. เหงือก (Gum)

เหงือก เป็นส่วนเนื้อเยื่อที่ช่วยห่อหุ้มตัวฟัน และกระดูกขากรรไกรเอาไว้ รวมถึงเนื้อเยื่ออ่อนที่ปกคลุมกระดูกเบ้ารากฟัน

5. กระดูกเบ้าฟัน (Alveolar Bone)

กระดูกเบ้าฟัน เป็นกระดูกขากรรไกรที่รากฟันฝังอยู่ มีลักษณะเป็นกระดูกพรุนที่มีความโค้งเว้า ทำหน้าที่ในการรองรับรากฟันแต่ละซี่

ทั้งนี้ส่วนของเคลือบฟันและเนื้อฟันที่โผล่ออกมาด้านบนของเหงือกจะรวม เรียกว่า ตัวฟัน (Crown) ส่วนถัดลงมา จะเรียกว่า คอฟัน (Neck) ซึ่งก็คือ บริเวณรอยต่อระหว่างตัวฟันกับรากฟัน หรือบริเวณขอบเหงือกนั่นเอง และส่วนสุดท้าย รากฟัน (Root) เป็นส่วนของฟันที่อยู่ใต้เหงือกลึกลงไปในเบ้าฟัน

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง: เหงือกบวม เหงือกอักเสบ สาเหตุและวิธีรักษา

รากฟัน คืออะไร?

รากฟัน คืออะไร?
ภาพประกอบ: รากฟัน คืออะไร?

รากฟัน คือ ส่วนของฟันที่อยู่ใต้เหงือกลึกลงไปในเบ้าฟัน รากฟัน จะฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรและถูกคลุมทับด้วยเหงือก ประกอบด้วย เคลือบรากฟัน (Cementum) ที่มีสีเหลืองอ่อนเป็นส่วนชั้นนอกสุดของรากฟัน หุ้มรากฟันไว้ ซึ่งทำหน้าที่เป็นที่ยึดให้รากฟันติดกับกระดูก โดยเคลือบรากฟันนี้ จะมีความแข็งน้อยกว่าเคลือบฟัน

จำนวน รากฟัน
จำนวน รากฟันของฟันแต่ละซี่

ภายในรากฟันนี้จะประกอบด้วย โพรงประสาทฟัน ที่อยู่ชั้นในสุดของฟันและเป็นศูนย์รวมของทั้งเส้นเลือดและเส้นประสาทฟัน ดังนั้นหากมีการผุจนทะลุถึงโพรงประสาทฟัน เราจะรู้สึกปวดฟันซี่นั้นๆนั่นเอง นอกจากนี้จำนวนรากฟันในฟันแต่ละซี่จะมีจำนวนไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและขนาดของฟัน เช่น ฟันหน้า จะมีรากฟัน 1 ราก ส่วนฟันกราม จะมีรากฟันจำนวน 2 – 4 ราก

ทำไมต้องทำการรักษารากฟัน?

ทำไมต้องทำ การรักษารากฟัน หรือ รักษาคลองรากฟัน
ทำไมต้องรักษารากฟัน?

สำหรับคำถามที่ว่า “ทำไมต้องรักษารากฟัน?” เป็นคำถามที่พบได้บ่อยและมีคนสังสัยเป็นจำนวนมาก และสาเหตุที่จำเป็นต้องทำการรักษารากฟันนั้น เพราะปัญหาของฟันที่มีการผุจนทะลุถึงชั้นโพรงประสาทฟัน และต้องจำต้องทำการรักษารากฟันนั้นเอง

เมื่อยังไม่ได้รับการรักษารากฟัน มักทำให้เกิดอาการปวดฟันอย่างรุนแรงได้ บางคนอาจพบอาการปวดซ้ำๆ หรือปวดรุนแรงจนส่งผลต่อปัญหาสุขภาพอื่นๆ ผู้ป่วยไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติ มักมีอาการเสียวฟันเมื่อดื่มเครื่องดื่มร้อนหรือเย็น มีอาการปวดฟันเวลาเคี้ยว และทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง นอกจากนี้ในบางครั้งอาจมีอาการอักเสบ ตุ่มหนอง เหงือกบวม ฝีหรือถุงน้ำที่ปลายรากฟัน และยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคอีกด้วย เมื่อมีอาการเหล่านี้และไม่ได้รับการรักษารากฟัน อาจนำไปสู่การถอนฟันและสูญเสียฟันแท้ได้ในที่สุด

เมื่อมีอาการเหล่านี้และไม่ได้รับการรักษารากฟัน อาจนำไปสู่การถอนฟันและสูญเสียฟันแท้ได้ในที่สุด

คลินิกทันตกรรม SmileDC

ดังนั้นจึงควรตัดสินใจเข้ารับการรักษารากฟัน ด้วยการนัดพบกับทันตแพทย์รักษารากฟันเฉพาะทางแต่เนิ่นๆ และไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นานจนเกินไป จะช่วยลดความเสี่ยงจากการที่ฟันผุทะลุถึงโพรงประสาทฟัน และมีการอักเสบรุนแรงจนไม่สามารถรักษาฟันเพื่อเก็บฟันซี่นั้นๆไว้ได้ และจำเป็นต้องถอนฟันซี่นั้นออกไป ซึ่งจะเป็นที่น่าเสียดายมาก

ขั้นตอนการรักษารากฟัน คุณหมอจะทำการกำจัดเอาแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดการอักเสบออก ทำความสะอาดรากฟัน หรือ คลองรากฟัน ด้วยการใส่ยาลดการอักเสบ เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายติดเชื้อไปยังบริเวณใกล้เคียง และที่สำคัญคือ ช่วยลดโอกาสการถอนฟันแท้ออกไป ทำให้เรายังสามารถเก็บฟันแท้ซึ่นั้นๆ เอาไว้ได้นั่นเอง

สัญญาณเตือนของฟันที่จำเป็นต้อง “รักษารากฟัน”

สำหรับฟันที่มีความจำเป็นต้องทำการรักษารากฟันนี้ มักจะมีข้อบ่งชี้ที่เป็นสัญญาณเตือนให้เรารู้ว่า ถึงเวลาที่เราจำเป็นจะต้องไปพบทันแพทย์รักษารากฟันเฉพาะทางเพื่อทำการรักษารากฟันแล้ว โดยสัญญาณเตือนของฟันที่จำเป็นต้องทำการรักษารากฟัน มีดังต่อไปนี้

  1. ฟันที่ผุมาก ผุลึก หรือ ผุต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานาน

กรณี ฟันที่ผุมาก มีการผุลึก หรือ ผุต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานาน จนทำให้รอยผุลุกลามไปยังโพรงประสาทฟัน และไม่สามารถทำการอุดฟันด้วยวิธีการปกติได้

ฟันที่ผุมาก ผุลึก หรือผุต่อเนื่อง
ภาพประกอบ: ฟันที่ผุมาก ผุลึก หรือผุต่อเนื่อง
  1. กรณีฟันที่ได้รับอุบัติเหตุ

ฟันที่ได้รับอุบัติเหตุ เกิดการกระทบกระแทกบริเวณตัวฟัน จนทำให้ฟันซี่นั้นๆตาย ซึ่งเราสามารถสังเกตได้จากสีของตัวฟัน ที่จะมีสีเปลี่ยนไปจากสีของเนื้อฟันปกติเป็นสีดำคล้ำ

ฟันที่ได้รับอุบัติเหตุ
ภาพประกอบ: ฟันที่ได้รับอุบัติเหตุ
  1. เกิดฟันแตก

ฟันแตก เป็นข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนถึงเหตุผลที่ว่า ทำไมจึงต้องรักษารากฟัน โดยกรณีที่มีฟันแตกในลักษะนี้ มักจะมีสาเหตุหลักมาจาก การมีของแข็งมากระแทกที่ตัวฟัน หรือมีลักษณะการเคี้ยวที่รุนแรง หรือนิสัยการชอบกัดอาหารแข็ง เช่น น้ำแข็ง หรือ กระดูกอ่อน เป็นต้น

ฟันแตก
ภาพประกอบ: ฟันแตก
  1. ฟันที่ต้องได้รับการรักษารากฟัน เนื่องจากการครอบฟัน

ในบางกรณี ทันตแพทย์อาจพิจารณาส่งรักษารากฟัน ก่อนการครอบฟัน ไม่ว่าจะเป็นการทำครอบฟันแท้สำหรับผู้ใหญ่ หรือการทำครอบฟันน้ำนมในเด็กเล็ก เนื่องจากในกระบวนการกรอแต่งฟันก่อนการครอบฟัน อาจต้องมีการกรอเนื้อฟันออกมาก จนมีโอกาสโดนถูกโพรงประสาทฟัน ทันตแพทย์เฉพาะทางด้านครอบฟัน จึงมีความจำเป็นต้องรักษารากฟันในฟันที่ดังกล่าว

ฟันที่ต้องรักษารากฟันเพื่อการครอบฟัน
ภาพประกอบ: ฟันที่ต้องรักษารากฟันเพื่อการครอบฟัน
  1. ฟันร้าว

ฟันร้าว เป็นอีกหนึ่งข้อบ่งชี้ที่ว่าทำไมต้องรักษารากฟัน ซึ่งสามารถสังเหตุเห็นได้ แต่อาจจะไม่ชัดเจนเท่ากับกรณีของฟันแตก ฟันร้าวนี้มักเกิดขึ้นเนื่องพฤติกรรมชอบกัดของแข็ง หรือใช้ฟันอย่างรุนแรง จนอาจทำให้เนื้อฟันเกิดเป็นรอยแยกหรือเกิดการร้าวได้ โดยรอยร้าวดังกล่าว จะเป็นช่องว่างให้เชื้อโรคจากภายนอก ซึมเข้าสู่ตัวฟัน และเกิดการติดเชื้อบริเวณโพรงประสาทฟัน ทำให้ฟันซี่นั้นๆเกิดการปวดในที่สุด

ฟันร้าว
ภาพประกอบ: ฟันร้าว
  1. ฟันที่เป็นโรคเหงือก

ในผู้ที่มีอาการของโรคเหงือกที่ไม่ได้รับการรักษา อาจพบการติดเชื้อ ย้อนจากบริเวณร่องเหงือกเข้าสู่ปลายรากฟัน ส่งผลให้เกิดการอักเสบของรากฟัน ซึ่งนำไปสู่การรักษารากฟันที่สุด

ฟันที่เป็นโรคเหงือก
ภาพประกอบ: ฟันที่เป็นโรคเหงือก

สาเหตุดังกล่าวเหล่านี้ จะส่งผลให้เกิดการอักเสบ ของโพรงประสาทฟัน และ เกิดการติดเชื้อ นำไปสู่การปวดทรมาน และ เป็นสัญญาณบอกเหตุว่า ฟันซี่นั้นๆ สมควรต้องได้รับการรักษารากฟันแล้วค่ะ

5 ข้อดีของการรักษารากฟัน

หลังจากที่เราได้รู้ถึงสาเหตุสำคัญว่า ทำไมต้องรักษารากฟันกันแล้ว ต่อไปนี้เรามาดูข้อดีของการรักษารากฟัน ที่เราสามารถใช้ประกอบการตัดสินใจในการทำการรักษารากฟัน ดังต่อไปนี้ค่ะ

  1. การรักษารากฟันสามารถช่วยเก็บฟันที่ผุไว้ได้ โดยไม่ต้องถอน

การรักษารากฟันมีเป้าหมายเพื่อทำการรักษาและเก็บฟันที่ผุถึงโพรงประสาทรากฟันที่อาจต้องถอนออกหากไม่ได้รับ การรักษาฟัน เมื่อต้องตัดสินใจรักษาฟันที่เสียหายอย่างหนักจากการผุถึงโพรงประสาทรากฟัน การรักษารากฟันเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการถอนฟัน นอกจากนี้การรักษารากฟัน โดยทันตแพทย์เฉพาะทางรักษารากฟัน ก็มีโอกาสประสบความสำเร็จในการรักษาที่สูงมากค่ะ และเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพื่อเก็บฟันแท้ของเราเองไว้ให้แข็งแรง และสามารถใช้สำหรับเคี้ยวอาหารได้ต่อไป โดยไม่จำเป็นต้องใส่ฟันปลอมนั่นเองค่ะ

รักษารากฟัน เพื่อเก็บฟันไว้
ภาพประกอบ: รักษารากฟันเพื่อช่วยเก็บฟันไว้
  1. การรักษารากฟันและการครอบฟัน สามารถเสริมบุคคลิกภาพได้

เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนของการรักษารากฟัน และมีการครอบฟันหรืออุดฟันโดยใช้วัสดุที่มีสีเหมือนเนื้อฟันจริง ก็จะทำให้เราไม่จำเป็นต้องถอนฟันและเปลี่ยนไปใส่ฟันปลอม ซึ่งอาจจะมีวิธีการดูแลรักษาที่ยากกว่าฟันจริงที่อยู่ในช่องปาก นอกจากนี้ การรักษารากฟันและครอบฟัน ยังมีส่วนช่วยเสริมบุคคลิกภาพสำหรับการสร้างรอยยิ้มที่ขาวสดใส และยิ้มได้อย่างมั่นใจค่ะ

รักษารากฟันเพื่อเสริมบุคลิกภาพ
ภาพประกอบ: รักษารากฟันและครอบฟัน สามารถช่วยเสริมบุคลิกภาพได้
  1. รักษารากฟันช่วยลดการเสื่อมของกระดูกขากรรไกรและรูปหน้าที่เปลี่ยนได้

รักษารากฟันสามารถช่วยป้องกันกระดูกขากรรไกรเสื่อมได้ โดยการรักษารากฟันนี้ จะช่วยให้กระดูกขากรรไกรในช่องปากของเรา ยังคงรูปอยู่ได้ดี ทั้งนี้เนื่องจากหากมีการถอนฟันแท้ออกไปโดยที่เราไม่มีฟันแล้ว กระดูกขากรรไกรจะมีความสูงและความหนาแน่นน้อยลงเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งอาจนำไปสู่ผลกระทบ เช่น โหนกแก้มที่ยุบลง และอาจจะทำให้มีรูปใบหน้าที่เปลี่ยนไปได้

รักษารากฟันช่วยลดการเสื่อมของกระดูกขากรรไกร
ภาพประกอบ: รักษารากฟันช่วยลดการเสื่อมของ กระดูกขากรรไกรและคงรูปหน้าไว้ได้
  1. การรักษารากฟันช่วยหยุดการแพร่กระจายของการติดเชื้อจากแบคทีเรียไปยังฟันซี่ใกล้เคียง

การติดเชื้อในช่องฟันทำให้เกิดอาการปวดฟันหรือฟันผุ แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อจะถูกลบออกในระหว่าง การรักษารากฟัน ซึ่งเป็นวิธีการทางทันตกรรมทั่วไปที่สามารถฟื้นฟูฟันให้กลับสู่สภาพเดิมได้ ต่อจากนี้ ฟันจะถูกทำความสะอาดและฆ่าเชื้อหลังจากที่แบคทีเรียถูกกำจัดออกไปแล้ว ยับยั้งต้นเหตุของอาการปวดฟันหรือฟันผุ ดังนั้นจึงไม่มีที่สำหรับให้แบคทีเรียแพร่กระจายเมื่อทำการรักษาฟันที่ได้รับผลกระทบ

รักษารากฟันช่วยหยุดการแพร่กระจายของแบคทีเรีย
ภาพประกอบ: รักษารากฟันช่วยหยุดการแพร่กระจายของแบคทีเรีย
  1. รักษารากฟันสามารถช่วยปรับปรุงสุขภาพช่องปากและสุขภาพโดยรวมของคุณได้

ผู้ที่มีฟันผุอาจมีความเสี่ยงที่จะมีอาการแทรกซ้อนทางสุขภาพมากขึ้น เช่น ภาวะสมองเสื่อม การติดเชื้อทางเดินหายใจ เบาหวาน การติดเชื้อในทางเดินอาหาร โรคหัวใจ และปัญหาด้านสุขภาพอื่นๆ หากคุณมีฟันผุที่มีการติดเชื้อในโพรงประสาทรากฟัน และได้รับการตรวจโดยคุณหมอฟันเฉพาะทางแล้วว่า มีความจำเป็นต้องทำ การรักษารากฟัน ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพของคุณอย่างมาก หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องโดยเร็ว ดังนั้นเราขอแนะนำให้คุณ ไปพบทันตแพทย์เฉพาะทาง เพื่อดูแลปัญหาดังกล่าว ซึ่งจะช่วยปรับปรุงสุขภาพช่องปากของคุณ และส่งเสริมสุขภาพทั่วไปของคุณเช่นกันในระยะยาว

รักษารากฟัน สามารถช่วยปรับปรุงสุขภาพช่องปากและสุขภาพโดยรวม
ภาพประกอบ: รักษารากฟันช่วยปรับปรุงสุขภาพช่องปากและสุขภาพโดยรวมได้

วิธีรักษารากฟัน

สำหรับ วิธีรักษารากฟัน โดยทันตแพทย์รักษารากฟันเฉพาะทาง นั้น จะมีขั้นตอน หรือ วิธีรักษารากฟัน ดังต่อไปนี้

วิธีรักษารากฟัน ขั้นตอนการรักษารากฟัน วิธีการรักษารากฟัน ขั้นตอนรักษารากฟัน
ภาพประกอบ: วิธีรักษารากฟัน
  1. ทันตแพทย์เฉพาะทางรักษารากฟัน จะทำการซักประวัติสุขภาพอย่างละเอียด

ในขั้นตอนแรกของ วิธีรักษารากฟัน นี้ ทันตแพทย์จะทำการ ซักประวัติสุขภาพอย่างละเอียด เพื่อดูว่ามีข้อห้ามทางสุขภาพใดๆที่เกี่ยวข้องกับการรักษารากฟันหรือไม่? หรือมีการใช้ยาชนิดใดที่มีผลต่อการรักษารากฟันบ้างไหม? หากมีข้อห้ามหรือข้อบ่งชี้ดังกล่าว ทันตแพทย์มักจะส่งตัวเพื่อไปปรึกษาคุณหมอประจำตัวก่อน ทั้งนี้เพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อม สำหรับกระบวนการรักษารากฟันต่อไป

  1. ทำการ X-Ray หรือ ถ่ายภาพรังสี

ขั้นตอนถัดมาสำหรับ วิธีรักษารากฟัน คือ ทันตแพทย์จะทำการ X-Ray หรือ ถ่ายภาพรังสี เพื่อใช้ประกอบการวินิจฉัยใน การรักษารากฟัน โดยภาพ X-Ray จะสามารถบอกถึง ลักษณะของรากฟัน ว่ามีกี่ราก? มีความยาวรากเท่าไหร่? รวมถึง มีรอยผุที่ลุกลามไปจนถึงโพรงประสาทฟันจริงหรือไม่? ในบางกรณีพบว่า ในฟันที่ผุลึก บางครั้งอาจยังไม่ถึงโรงรากฟัน ฟันซี่นั้นๆก็จะสามารถรักษาโดยวิธีอื่น เช่น อุดฟัน หรือ ครอบฟันได้

  1. ทันตแพทย์จะทำการวัดความดัน และ ตรวจดูความพร้อมสำหรับการฉีดยาชาเฉพาะที่

วิธีรักษารากฟัน ขั้นตอนที่ 3 นี้ ทันตแพทย์จะทำการวัดความดัน และ ตรวจดูความพร้อมสำหรับการฉีดยาชาเฉพาะที่ ซึ่งในผู้ที่มีความดันสูงมากๆ อาจจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อทำการลดความดันให้เข้าสู่ภาวะปกติ ก่อนทำการฉีดยาชา

  1. ฉีดยาชาเฉพาะที่ และทำการเช็คอาการชา

จนมั่นใจว่า มีอาการชาลึกพอที่จะทำการรักษารากฟันได้ โดยทั่วไปยาชาจะออกฤทธิ์ชาเต็มที่ ภายหลังการฉีดประมาณ 5 – 15 นาที ซึ่งจะขึ้นอยยู่กับแต่ละบุคคล

  1. จากนั้น ทันตแพทย์เฉพาะทางรักษารากฟัน จะทำการใส่แผ่นยางกันน้ำลาย

เพื่อให้ฟันซี่ที่จะต้องทำการรักษารากฟันแยกออกจากบริเวณอื่นในช่องปาก เนื่องจากในกระบวนการรักษารากฟัน ทันตแพทย์จะมีจุดประสงค์เพื่อทำให้โครงประสาทฟัน กลับเข้าสู่ภาวะปลอดเชื้อจากจุลชีพ ถ้าหากมีน้ำลายรั่วซึมเข้ามาระหว่างกระบวนการรักษา ก็อาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำได้ รวมถึง ทำให้การฆ่าเชื้อ ในโพรงประสาทฟัน ยุ่งยากมากยิ่งขึ้น

  1. ทันตแพทย์จะทำการกำจัดรอยผุออกจนหมด

และตรวจดูว่ามีรอยทะลุเข้าสู่ประสาทฟันที่บริเวณใด กว้างขนาดไหน สาเหตุ ที่ต้องกำจัดรอยผุ ออกจนหมด เนื่องจากหากปล่อยให้มีรอยผุทิ้งไว้ในฟันที่ต้องทำ การรักษารากฟัน หากมีการติดเชื้อซ้ำ เชื้อจุลชีพ ที่อยู่ภายในรอยผุ ของฟันได้

กรอรอยผุออก ในขั้นตอน รักษารากฟัน
ภาพประกอบ: วิธีรักษารากฟัน – การกรอรอยผุออก
  1. ทันตแพทย์เฉพาะทางรักษารากฟัน จะทำการเปิดโพรงฟัน ให้กว้างพอที่จะเข้าทำงาน

แต่ต้องไม่กว้างมากเกินไปจนทำให้ เนื้อฟันที่เหลืออ่อนแอ

  1. ทำการวัดความยาวของ รากฟัน

โดยทั่วไปจะมีวิธีวัดความยาวของ รากฟัน อยู่ 2 แบบ คือ การวัดด้วยเครื่องวัดความยาวรากฟัน และการวัดโดยตรงจาก ฟิล์มเอกซเรย์ ซึ่งทั้ง 2 วิธีจะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

  • 8.1 วัดความยาวรากฟันด้วยเครื่องวัดความยาว รากฟัน

มีข้อดี คือ มีความแม่นยำสูง แต่ต้องใช้ความชำนาญ ของทันตแพทย์ในการแปลผล และตัวเครื่องมีราคาค่อนข้างสูง

  • 8.2 วัดความยาว รากฟัน ด้วยฟิล์มเอกซเรย์

มีข้อดี คือ ไม่ต้องใช้เครื่องมือเสริมราคาแพง แต่ข้อด้อยหลักๆ คือ ในบางกรณี ฟิล์มจะมีการบิดเบี้ยว ส่งผลให้ความยาวของ รากฟัน ในฟิล์มเอกซเรย์ ไม่ตรงกับความยาว รากฟัน ที่แท้จริง

ด้วยความยาวของรากฟัน จะเป็นข้อมูลที่สำคัญ ในการบอกกับทันตแพทย์ว่า จะต้องทำความสะอาดรากฟัน และ อุดปลายรากฟัน โดยใช้เครื่องมือยาวเท่าไหร่ เพื่อไม่ให้เป็นการผลักเชื้อจุลชีพออกจากรากฟัน ไปยังกระดูกรอบๆ ปลายรากฟัน

  1. ทำความสะอาดบริเวณ โพรงประสาทฟัน และปลายรากฟัน ทั้งจาก
  • การล้างด้วยน้ำยาที่มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อจุลชีพ
  • การใส่ยาที่มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรคลงในคลองรากฟัน โดยทันตแพทย์จะทำความสะอาดจนมั่นใจว่าปลอดเชื้อจริงๆ จึงเป็นอันจบกระบวนการทำความสะอาดรากฟัน
ทำความสะอาด คลองรากฟัน
ภาพประกอบ: วิธีรักษารากฟัน – การทำความสะอาดคลองรากฟัน
  1. ทำการอุดฟันด้วยวัสดุกัตตาเปอร์ชา

ซึ่งมีคุณสมบัติไม่ระคายเคืองกับร่างกายและสามารถอยู่ในฟันได้เป็นระยะเวลานาน

  1. อุดฟันด้วยวัสดุอุดฟันชั่วคราว

ในขั้นตอนสุดท้ายของ วิธีรักษารากฟัน คือ การอุดฟันด้วยวัสดุอุดฟันชั่วคราว โดยมีจุดประสงค์ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการรั่วซึมของน้ำลาย หรือมีการติดเชื้อซ้ำซ้อน

ทั้งนี้ในกระบวนการ วิธีรักษารากฟัน ข้างต้น เคสส่วนใหญ่จะไม่สามารถทำให้เสร็จได้ภายใน การรักษารากฟัน กับคุณหมอเพียงครั้งเดียว ซึ่งจำเป็นต้องใช้เวลาหลายครั้งในการทำความสะอาดและใส่ยาจนมั่นใจว่า ไม่มีการติดเชื้อหรือการอักเสบหลงเหลืออยู่

และภายหลังจาก การรักษารากฟัน เสร็จสิ้นแล้ว ทันตแพทย์มักจะแนะนำให้ทำเดือยฟันและครอบฟัน เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันที่รักษา รากฟัน แล้ว เปราะ แตก หรือ หักไป

การรักษารากฟัน มีกี่แบบ?

หลังจากที่เราได้เรียนรู้ วิธีรักษารากฟัน แล้ว เรามาดูกันต่อนะคะว่า การรักษารากฟัน นั้นมีด้วยกันทั้งหมดกี่แบบ? ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว การรักษารากฟัน จะสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ

  1. การรักษารากฟัน โดยวิธีปกติ

สำหรับ การรักษารากฟัน โดยวิธีปกตินั้น จะมีวิธีการรักษาตามกระบวนการที่กล่าวไว้ข้างต้น โดยส่วนใหญ่ของการ รักษารากฟัน จะใช้วิธีตามปกตินี้ ก็เพียงพอที่จะกำจัดการติดเชื้อ รวมถึงรักษารอยโรคที่ปลาย รากฟัน และถุงหนองต่างๆได้

  1. รักษารากฟัน ด้วยการผ่าตัดปลายราก

ใช้วิธีนี้ ในกรณีที่การรักษาโรค ด้วยวิธีปกติแล้วไม่ได้ผลสำเร็จ โดยวิธีดังกล่าวนี้ จะต้องมีการใช้กล้องจุลโทรทัศน์ กล้อง Microscope เพื่อเพิ่มกำลังขยายในการมองเห็น ทันตแพทย์อาจต้องมีการผ่าตัดเอาปลายราก ส่วนที่มีการติดเชื้อมากๆออกบางส่วน จากนั้นจะใช้วัสดุที่มีความปลอดภัยต่อ เนื้อเยื่อรอบรากฟัน อุดย้อนเข้าไป เพื่อผนึกไม่ให้เชื้อจุลชีพย้อนเข้าสู่รากฟันได้ วิธี ดังกล่าวนี้ จำเป็นต้องอาศัยความชำนาญเฉพาะของ ทันตแพทย์เฉพาะทางรักษารากฟัน เพื่อเพื่มอัตราความสำเร็จในการผ่าตัดรักษาปลายรากฟัน

ผลข้างเคียงภายหลังการ รักษารากฟัน

ผลข้างเคียงของการ รักษารากฟัน
ภาพประกอบ: ผลข้างเคียงของการ รักษารากฟัน

ผลข้างเคียงภายหลังการรักษารากฟัน – ภายหลังจาก การรักษารากฟัน อาจมีอาการปวดฟันได้บ้าง ใน 2-3 วันแรก และในบางกรณี อาจมี เหงือกบวม หรือ อักเสบได้บ้างเล็กน้อย ซึ่งอาการปวดหรือบวมดังกล่าวนี้ จะสามารถหายไปได้เองในเวลาไม่นาน ในกรณีที่มีอาการปวดและบวมมาก สามารถใช้ยาแก้ปวดช่วยให้อาการทุเลาลงได้

แต่ในบางกรณีที่ อาการปวดไม่ทุเลาลง แม้กระทั่งกระบวนการ รักษารากฟัน เสร็จสิ้นลงแล้ว อาจมีสาเหตุมาจาก การทำความสะอาดไม่เพียงพอ ในกรณีเช่นนี้ จำเป็นต้องได้รับการขยายและ ทำความสะอาด คลองรากฟัน ใหม่ซ้ำอีกรอบ เพื่อกำจัดเชื้อจุลชีพ ที่อาจยังหลงเหลือ อยู่ออกให้หมด

รักษารากฟันราคา เท่าไหร่?

รักษารากฟัน ราคาเท่าไหร่?
ภาพประกอบ: รักษารากฟันราคา เท่าไหร่?

รักษารากฟันราคา เท่าไหร่? – นี่อาจจะเป็นอีก 1 คำถามที่หลายๆคน อยากรู้ว่าจริงๆแล้วการ “รักษารากฟันราคา เท่าไหร่?” มาพบกับคำตอบสำหรับคำถามนี้ไปพร้อมๆกันได้เลยค่ะ

ราคารักษารากฟัน จะมีความแตกต่างกัน โดย รักษารากฟันราคา เท่าไหร่ นั้น จะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของซี่ฟัน ว่าเป็นฟันหน้า ฟันกรามน้อย หรือ ฟันกรามใหญ่ รวมถึงความความรุนแรงของการอักเสบและความยากง่ายในแต่ละเคส ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ฟันหน้า จะมี ราคารักษารากฟัน ถูกที่สุด และ ฟันกรามใหญ่ที่อาจพบโพรงประสาทฟัน และคลองรากฟันได้ 3-4 ราก ก็จะมี ราคารักษารากฟัน ที่แพงกว่า ฟันหน้า และ ฟันกรามน้อย นอกจากนี้ รักษารากฟันราคา เท่าไหร่นั้น จะมีความแตกต่างกันในแต่ละคลินิกหรือโรงพยาบาล สามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ของแต่ละแห่งหรือปรึกษาค่าใช้จ่ายกับทางทันตแพทย์เฉพาะทางได้ก่อนตัดสินใจทำการ รักษารากฟัน ค่ะ

รักษารากฟันราคา ที่คลินิกทันตกรรม SmileDC จะมีความแตกต่างกันในแต่ละซี่ฟัน ซึ่งสามารถดูได้จากตารางด้านล่างนี้นะคะ

ราคารักษารากฟัน ค่าบริการ (บาท)
ราคา รักษารากฟันหน้า 5,000 – 7,000
ราคา รักษารากฟันกรามน้อย8,000 – 10,000
ราคา รักษารากฟันกรามใหญ่11,000 – 13,000
ตาราง: สรุป ราคา รักษารากฟัน

หลังจากที่เราทราบว่า รักษารากฟันราคา เท่าไหร่ แล้ว เมื่อตัดสินใจทำการรักษารากฟัน และภายหลังการรักษารากฟัน เสร็จเรียบร้อยแล้ว อาจจะจำเป็นต้องทำเดือยฟันและครอบฟันร่วมด้วย โดยราคาของเดือยฟันสามารถดูได้จากตารางด้านล่างนี้นะคะ

บริการทันตกรรมเฉพาะทาง ค่าบริการ (บาท)
เดือยฟัน (Fiber Post)4,000
ตาราง: เดือยฟัน (Fiber Post) ราคา

แม้ว่า การรักษารากฟัน จะไม่ได้ครอบคลุมสำหรับสิทธิทำฟันประกันสังคม แต่ลูกค้ายังคงสามารถใช้สิทธิประกันสังคม-ทันตกรรมเพื่อทำฟันได้ฟรี 900 บาทต่อปี สำหรับการขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน และการผ่าฟันคุด โดยไม่ต้องสำรองจ่าย เพียงแค่พกบัตรประชาชนเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการตรวจสอบสิทธิยืนยันการใช้สิทธิประกันสังคมได้เลยนะคะ และเพื่อความสะดวกในการใช้บริการ สามารถจองคิวนัดหมายล่วงหน้าได้ที่ โทร 096-9420057 ขอบพระคุณมากค่ะ

รักษารากฟันเจ็บไหม?

รักษารากฟันเจ็บไหม? – น่าจะเป็นคำถามที่หลายๆคนสงสัยและตั้งคำถาม เพราะอยากจะรู้จริงๆสำหรับคำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ เรามาดูคำตอบสำหรับคำถามที่ว่า “รักษารากฟัน เจ็บไหม” ได้พร้อมๆกันเลยค่ะ

รักษารากฟัน ไม่เจ็บอย่างที่คุณคิด! เพราะในขั้นตอนของ การรักษารากฟัน จะมีการใช้ยาชาเฉพาะที่ เพื่อควบคุมความเจ็บปวด เมื่อยาชาออกฤทธิ์แล้ว เราก็จะไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดใดๆค่ะ สำหรับในฟันทั่วไปที่มีการอักเสบไม่มาก ยาชาเฉพาะที่จะทำให้ไม่รู้สึกเจ็บระหว่างการรักษา รากฟัน แต่มีบางกรณี เช่น ในฟันที่มีการอักเสบอยู่มากก่อน การรักษารากฟัน จะทำให้การออกฤทธิ์ของยาชาไม่เต็ม 100% จึงอาจมีอาการเจ็บระหว่างการรักษา รากฟัน ได้ ทั้งนี้ทันตแพทย์จะคอยสอบถามเสมอว่ามีอาการเจ็บหรือไม่ หากยังมีอาการเจ็บแม้จะฉีดยาชาไปแล้ว ทันตแพทย์สามารถเติมยาชาเข้าไปช่วยระงับการเจ็บได้ โดยการฉีดยาโดยตรงเข้าไปในบริเวณโพรงประสาทฟัน ซึ่งจะช่วยหยุดการเจ็บปวดได้ทันที

รักษารากฟัน เจ็บไหม?
ภาพประกอบ: รักษารากฟันเจ็บไหม?

จะเห็นได้ว่า ในระหว่างขั้นตอนการรักษารากฟัน คุณหมอจำเป็นจะต้องมีการฉีดยาชาเฉพาะที่ก่อน หลังจากนั้นคุณหมอจะทำการทดสอบอาการชา และเมื่อมีอาการชาแล้วคุณหมอถึงจะเริ่มทำการรักษาต่อไป และในระหว่างการรักษารากฟัน คุณหมอจะมีการสอบถามเป็นระยะเพื่อเช็คว่า ยาชายังออกฤทธิ์ได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นไม่ต้องกังวลนะคะ เพราะเมื่อยาชาออกฤทธิ์แล้ว เราก็จะไม่มีความรู้สึกเจ็บเลยค่ะ นอกจากนี้แล้ว อาการเจ็บในระหว่างการรักษาที่มียาชาออกฤทธิ์อยู่นี้ เทียบไม่ได้กับความเจ็บปวดแบบทุรนทุรายจากอาการปวดของรากฟันอักเสบเลยนะคะ หวังว่าช่วยให้หลายๆคนคลายความกังวลใจจากสำหรับคำถามที่ว่า “รักษารากฟันเจ็บไหม?” ไปได้นะคะ และน่าจะช่วยให้ความมั่นใจและความสบายใจใน การรักษารากฟัน ต่อไปค่ะ

รู้อย่างนี้แล้วก็อย่ามัวลังเลยเพราะความกลัวหรือกังวลอยู่เลยนะคะ ถ้ามีฟันที่อักเสบและจำเป็นต้องรักษารากฟัน ก็ควรจะทำนัดหมายกับคุณหมอแต่เนิ่นๆที่ยังไม่มีอาการปวดนะคะ เพราะถ้ามีอาการปะทุขึ้นมาโดยเฉพาะในเวลากลางคืนและคลินิกหรือโรงพยาบาลไม่มีคุณหมอรักษารากฟันเฉพาะทางประจำอยู่ ก็จะทำให้เจ็บปวดแบบทรมานมากๆค่ะ

สอบถามนัดหมาย – รักษารากฟัน

โทร 096-942-0057 คลินิกทันตกรรม SmileDC
ไลน์แชทหาเรา คลินิกทันตกรรม SmileDC

รักษารากฟัน ที่ไหนดี?

รักษารากฟัน ที่ไหนดี?
ภาพประกอบ: รักษารากฟันที่ไหนดี?

รักษารากฟันที่ไหนดี? – เป็นอีกหนึ่งคำถามที่หลายคนสงสัย และอยากจะรู้ว่าคลินิกทันตกรรมที่ไหนที่ดี และให้บริการ รักษารากฟัน ที่ได้มาตรฐานเพื่อความมั่นใจการตัดสินใจทำการ รักษารากฟัน เนื่องจาก การรักษารากฟัน เป็นวิธีการรักษาที่มีความละเอียด ซับซ้อน ดั้งนั้นสิ่งสำคัญ สำหรับการพิจารณาเพื่อเลือกว่าควร รักษารากฟันที่ไหนดี มีข้อที่ความพิจารณา ดังต่อไปนี้ คือ

1. พิจาณาจากประสบการณ์และความชำนาญของทันตแพทย์รักษารากฟันเฉพาะทางที่ทำการรักษา

ปัจจัยแรก ควรจะพิจาณาจากประสบการณ์และความชำนาญของ ทันตแพทย์รักษารากฟันเฉพาะทาง ที่ทำการรักษา โดยสามารถตรวจสอบประวัติของทันตแพทย์ เพื่อความมั่นใจในการ รักษารากฟัน และลดโอกาสเกิดความเสี่ยงจากผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้

2. ต้องเป็นคลินิกทันตกรรมที่ได้มาตรฐาน

มีความสะอาด เครื่องมือทุกชิ้นต้องผ่านการทำให้ปลอดเชื้อและการควบคุมการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงมีเครื่องมือสำหรับ การรักษารากฟัน และเครื่องเอ็กซ์เรย์แบบ Digital ครบครันในการให้บริการ

3. ทันตแพทย์ที่รักษารากฟันที่คลินิกทันตกรรมนั้นๆควรสามารถให้คำปรึกษาและตอบคำถามที่เราสงสัยได้

ก่อน การรักษารักษาฟัน ควรสอบถามกับทางคลินิก และ ทันตแพทย์รักษารากฟันเฉพาะทาง ถึงข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ วิธีรักษารากฟัน รักษารากฟันราคา เท่าไหร่? ให้ชัดเจน นอกจากนี้ควรคำนึงถึงการเดินทางด้วย เนื่องจากการ รักษารากฟัน จำเป็นต้องใช้เวลาในการไปมาพบทันตแพทย์อย่างน้อย 2-4 ครั้ง ก่อนจะเสร็จสิ้นกระบวนการรักษา ด้วยเหตุนี้ควรพิจารณาเลือกคลินิกทันตกรรมที่มี ทันตแพทย์รักษารากฟันเฉพาะทาง ใกล้บ้านหรือใกล้ที่ทำงาน และสามารถปรึกษาขอคำแนะนำหรือนัดหมายล่วงหน้าได้

คลินิกทันตกรรม SmileDC มีความพร้อมให้บริการ รักษารากฟัน อุ่นใจกับบุคลากรทันตแพทย์ที่จบสาขา รักษารากฟันเฉพาะทาง และมีความชำนาญใน การรักษารากฟัน รวมถึงเครื่องมือที่ทันสมัยทั้งเครื่องเอ็กซ์เรย์ดิจิตอลแบบเฉพาะซี่ฟันและแบบทั้งช่องปาก กล้องส่องและเครื่องวัดระยะรากฟันแบบดิจิตอล รวมถึงเครื่องวัดความมีชีวิตของรากฟัน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะมีผลอย่างมากต่อความสำเร็จของการรักษา รากฟัน นอกจากนี้แล้วทางคลินิกยังใช้มาตรฐานในการทำความสะอาดเครืองแบบเดียวกับมาตรฐานโรงพยาบาล โดยเครื่องมือทุกชิ้นต้องผ่านการทำให้ปลอดเชื้อด้วยความร้อนสูง (Sterilization) และการควบคุมการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าทุกท่านค่ะ

รักษารากฟัน นานไหม?

รักษารากฟัน นานไหม?
ภาพประกอบ: รักษารากฟัน นานไหม?

รักษารากฟันนานไหม? – ระยะเวลาโดยรวมตลอดการรักษารากฟัน ปกติจะอยู่ที่ประมาณ 3-6 สัปดาห์ แต่จะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละเคส ทั้งนี้เพราะ การรักษารากฟัน เป็นขั้นตอนในการกำจัดเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อภายใน รากฟัน ที่ความซับซ้อน ส่งผลให้เวลาที่ใช้ในขั้นตอนการรักษาจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ความซับซ้อนและความยากง่ายของแต่เคส สถานะสุขภาพช่องปาก และภาวะสุขภาพโดยทั่วไปของแต่ละคน

ทั้งนี้ระยะเวลาที่คุณหมอใช้ในการรักษาแต่ละครั้งจะอยู่ที่ประมาณ 1.5-2 ชั่วโมง/ครั้ง ซึ่งโดยปกติแล้วเคสส่วนใหญ่จะใช้เวลา 2 ครั้งในการมาพบทันตแพทย์รักษารากฟันเฉพาะทาง และมีระยะเวลาในการนัดรักษาต่อห่างกันประมาณ 1-2 สัปดาห์ เฉพาะกรณีที่เชื้อโรคยังไม่ลงไปในบริเวณปลายรากมากนัก อาจจะสามารถรักษารากฟันเสร็จได้ภายในวันเดียว ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพของการติดเชื้อในโพรงประสาทฟันของฟันซี่นั้นๆด้วย ว่ามีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด ในบางกรณีมีการติดเชื้อและอักเสบมากหรือมีหนองที่ราก ก็อาจจำเป็นต้องใช้เวลาในการรักษาที่มากขึ้น โดยสรุประยะเวลารวมที่ใช้ในการรักษารากฟัน สำหรับเคสทั่วไปก็จะอยู่ที่ประมาณ 3-6 สัปดาห์ค่ะ

ทันตแพทย์รักษารากฟันเฉพาะทาง

แนะนำทันตแพทย์รักษารากฟัน ประจำคลินิก:

ทันตแพทย์เฉพาะทาง รักษารากฟัน ของเรา ได้แก่ คุณหมอแนน (ทพญ.ณัฐธิดา ตั้งสุขสมบูรณ์) และ คุณหมอเบญ (ทพญ. เบญจพร สมิทธิเศรษฐ์) ซึ่งเป็นทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการรักษารากฟันประจำคลินิก

คุณหมอรักษารากฟันทั้ง 2 ท่าน ใจดี มือเบา ให้บริการตรวจ ให้คำปรึกษา อธิบายขั้นตอน วิธีรักษารากฟัน แจ้งค่าบริการ ราคา รักษารากฟัน ให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการ เพื่อให้ลูกค้าได้มีข้อมูลอย่างครบถ้วนสำหรับการตัดสินใจก่อนทำการรักษารากฟัน ด้วยความมั่นใจในมาตรฐานเครื่องมือที่ทันสมัย ระบบปลอดเชื้อมาตรฐานโรงพยาบาล และอุ่นใจกับทีมทันตแพทย์เฉพาะทางรักษารากฟัน ที่คลินิกทันตกรรม SmileDC ของเราค่ะ

หมอแนน-ทพญ.ณัฐธิดา ตั้งสุขสมบูรณ์

ทพญ.ณัฐธิดา ตั้งสุขสมบูรณ์
(หมอแนน)

สาขา วิทยาเอนโดดอนต์ (รักษารากฟัน)

 

เวลาออกตรวจ

ทุกวันเสาร์ที่ 1 3 และ 5 ของเดือน 

เวลา 10:00 – 19:00

 

หมอเบญ

ทพญ. เบญจพร สมิทธิเศรษฐ์
(หมอเบญ)

สาขา วิทยาเอนโดดอนต์ (รักษารากฟัน)

 

เวลาออกตรวจ

ทุกวันพุธที่ 2 ของเดือน
ทุกวันพฤหัสที่ 1 3 และ 5 ของเดือน 

เวลา 10:00 – 19:00

 

สอบถามนัดหมาย – การรักษารากฟัน

โทร 096-942-0057 คลินิกทันตกรรม SmileDC
ไลน์แชทหาเรา คลินิกทันตกรรม SmileDC

ข้อควรปฏิบัติภายหลัง การรักษารากฟัน

ภายหลังการรักษารากฟัน ทันตแพทย์มักจะแนะนำให้ผู้ที่ได้รับการรักษารากฟันปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้

  1. ควรเพิ่มความระมัดระวังในการใช้งานกับฟันที่พึ่งทำ การรักษารากฟัน เสร็จมาใหม่ๆ

เนื่องจากฟันที่ได้รับการ รักษาคลองรากฟัน จะมีความเปราะแตกหักง่ายกว่าฟันปกติ อีกทั้งระหว่าง การรักษารากฟัน ทันตแพทย์จะทำการกรอเนื้อฟันออกบางส่วน ทำให้ฟันที่เหลือมีความแข็งแรงน้อยกว่าฟันปกติ จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้งานในช่วงแรกก่อน

  1. หากมีอาการปวดหรือบวมภายหลังการรักษา อาจพิจารณาทานยาแก้ปวด

เพื่อบรรเทาอาการได้ เนื่องจากฟันที่พึ่งจะได้รับการรักษารากฟัน เสร็จใหม่ๆ อาจยังหลงเหลือการอักเสบ หรือการติดเชื้อภายในโพรงประสาทฟันอยู่ การทานยาแก้ปวดจะช่วยลดอาการเจ็บปวดได้ และ ทำให้รู้สึกสบายขึ้น

  1. วัสดุอุดฟันชั่วคราว ถ้าหากหลุดออกระหว่างที่ยังรักษารากฟัน ไม่เสร็จสิ้น ควรรีบกลับมาพบทันตแพทย์

ในระหว่างที่ยัง รักษาคลองรากฟัน ไม่เสร็จสิ้น หากวัสดุอุดฟันชั่วคราวหลุดออกมา ควรรีบกลับมาพบทันตแพทย์ เพราะถ้าหาก มีการรั่วซึมของน้ำลายเข้าไป ในระหว่าง การรักษารากฟัน จะทำให้กระบวนการรักษาเป็นไปด้วยความยุ่งยากมากขึ้น

  1. ควรมาพบทันตแพทย์ตามนัดหมาย

เนื่องจากการรักษารากฟัน หรือรักษาคลองรากฟัน เป็นกระบวนการที่จะต้องทำอย่างต่อเนื่องมากกว่า 1 ครั้ง การมาพบทันตแพทย์ตามนัด จะช่วยให้กระบวนการรักษาเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และเกิดผลลัพธ์ในการรักษาที่ดีที่สุด รวมถึงอัตราความสำเร็จในการรักษารากฟันก็จะสูงขึ้นด้วยเช่นกัน

  1. หากเนื้อฟันเหลือไม่เพียงพอที่จะทำการบูรณะด้วยการอุดฟัน ทันตแพทย์มักจะแนะนำให้กลับมาปักเดือยฟันและครอบฟัน

ภายหลังการรักษารากฟันเสร็จสิ้นแล้ว หากเนื้อฟันเหลือไม่เพียงพอที่จะทำการบูรณะด้วยการอุดฟัน ทันตแพทย์มักจะแนะนำให้กลับมาปักเดือยฟันและครอบฟัน เพื่อให้ฟันซี่นั้นๆ สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ รวมถึงป้องกันการแตกหักของฟันภายหลังการรักษารากฟันอีกด้วย

อาการปวดภายหลังการรักษารากฟัน จะต้องทำอย่างไร?

อาการข้างเคียงของ การรักษารากฟัน ที่อาจเกิดขึ้นได้เป็นลำดับต้นๆ คือ การปวดฟัน ซึ่งอาการปวดฟัน จะสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1. อาการปวดฟันระหว่างการรักษารากฟัน

ส่วนใหญ่มักจะพบภายหลังจากการ รักษารากฟัน ครั้งแรก และบางกรณีอาจพบมีการบวมอักเสบ ของเหงือกร่วมด้วย ซึ่งอาการปวดภายหลังจากการรักษารากฟัน ครั้งแรกนี้ จะพบได้บ่อยในฟันที่มีอาการปวด หรือการอักเสบมาก่อนการ รักษารากฟัน ทั้งนี้ไม่ค่อยพบว่ามีอาการปวด ในฟันที่ตายไปแล้ว หรือฟันที่มีตุ่มหนองแล้ว

ในการเปิดรักษารากฟันครั้งแรก ทันตแพทย์รักษารากฟันเฉพาะทาง มักจะใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ ในการกำจัดเนื้อเยื่อ โพรงประสาทฟัน ที่ติดเชื้อออกจนหมด ร่วมไปกับการใส่ยาบรรเทาอาการปวดลงใน โพรงประสาทฟัน และล้าง โพรงประสาทฟัน ด้วยน้ำยาที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรค

แต่ในบางกรณีที่มีการอักเสบหรือการติดเชื้อมาก่อนการรักษารากฟันเป็นระยะเวลานาน หรือมีอาการปวดนำมาก่อนมากๆ การกำจัดเนื้อเยื่อโพรงประสาทที่ติดเชื้อออกจนหมด อาจเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก ทันตแพทย์รักษารากฟันเฉพาะทาง อาจพิจารณาเปิดโพรงประสาทฟันไว้ เพื่อให้เกิดการระบายของความดัน จะได้ไม่เกิดการปวด แต่การทำเช่นนี้ จะทำให้การ รักษารากฟัน ในครั้งต่อๆไป ยุ่งยากมากขึ้น

ทั้งนี้เนื่องจากมีการปนเปื้อนของน้ำลายเข้าไปใน “รากฟัน” ส่วนใหญ่แล้ว ดังนั้นถ้าไม่มีความจำเป็นแล้ว ทันตแพทย์เฉพาะทางรักษารากฟัน จะพยายามหลีกเลี่ยงวิธีดังกล่าวนี้ ในกรณีที่มีการปวดในลักษณะนี้ ทันตแพทย์รักษารากฟัน จะทำการเปิดล้างคลองรากฟัน หรือ รากฟัน ซ้ำอีกครั้ง และจะพยายามทำความสะอาดกำจัดเอาเนื้อเยื่อ โพรงประสาทฟัน ออกเพิ่มเติม รวมไปกับการให้ยาแก้อักเสบ เพื่อลดอาการเจ็บปวดลงให้มากที่สุด

2. อาการปวดภายหลังจาก การรักษารากฟัน เสร็จแล้ว

สำหรับอาการปวดภายหลังจากการรักษารากฟันเสร็จแล้ว มีสาเหตุได้หลายประการ ดังต่อไปนี้

  • 2.1 ทำการขยายคลองรากฟันยังไม่สะอาด แต่ทำการอุดรากฟันไปแล้ว

หากเกิดการปวดเพราะกรณีดังกล่าวนี้ ทันตแพทย์จำเป็นที่จะต้องรื้อวัสดุอุดรากฟันออก แล้วทำการรักษารากฟันซ้ำใหม่ จึงจะทำให้หายปวดได้

  • 2.2 ฟันแตก หรือฟันร้าว

ทำให้มีการรั่วซึม ของเชื้อจุลชีพ เข้าไปใน โพรงรากฟัน ได้อีก ในกรณีนี้ อาจต้องมีการผ่าตัดปลายรากฟัน เพื่ออุดปิดบริเวณจุดที่ร้าว หรือ อาจต้องถอนฟันซี่ดังกล่าวออก หากไม่สามารถซ่อมแซม จุดที่ร้าวหรือแตกหักได้

  • 2.3 มีอาการของ โรคเหงือกร่วมด้วย

หากยังไม่ได้รับการรักษาโรคเหงือกก่อน เชื้อโรคจากร่องเหงือกอาจมีการย้อนทางเข้าไป ทำให้ติดเชื้อซ้ำในฟันที่รักษารากฟันเสร็จแล้ว

เปรียบเทียบระหว่าง รักษารากฟัน กับถอนฟัน มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร?

เพื่อช่วยเปรียบเทียบและเป็นข้อมูลสำหรับการตัดสินใจระหว่างทำการรักษาด้วย วิธีรักษารากฟัน กับวิธีถอนฟันและใส่ฟันปลอม มาดูข้อดี และข้อเสีย ของแต่ละวิธีได้ดังต่อไปนี้ค่ะ

1. รักษารากฟัน

ข้อดี

  • เก็บรักษาฟันเอาไว้ได้
  • เบ้ากระดูกฟันไม่ยุบตัว
  • ได้ความสวยงามตามธรรมชาติมากกว่าการใส่ฟันปลอม
  • สะดวกสบายกว่าการใส่ฟันปลอม

ข้อเสีย

  • ราคาสูงกว่าการถอนฟัน
  • ใช้เวลานานกว่า

2. ถอนฟันและใส่ฟันปลอม

ข้อดี

  • ใช้ระยะเวลาสั้นกว่า
  • ราคาถูกกว่า

ข้อเสีย

  • สูญเสียฟันแท้ตามธรรมชาติไป
  • อาจเกิดการยุบตัวของกระดูกเบ้าฟัน
  • ความสะดวกสบายและความสวยงามของฟันปลอม จะไม่เหมือนฟันแท้ตามธรรมชาติ

ทั้งนี้ในฟันแต่ละซี่ อาจไม่สามารถมีแผนการรักษาเหมือนกันได้ทั้งหมด ฟันบางซี่อาจไม่สามารถเก็บรักษาโดยการรักษารากฟันได้ แต่ถ้าหากฟันซี่ดังกล่าวสามารถรักษารากฟันเพื่อเก็บฟันเอาไว้ได้ ก็จะเป็นวิธีที่ดีกว่าการถอนฟันและใส่ฟันปลอมนั่นเองค่ะ

คำถามที่พบบ่อยของการรักษารากฟัน

คำถามที่พบบ่อยของการ รักษารากฟัน
คำถามที่พบบ่อยของการรักษารากฟัน

รักษารากฟัน คืออะไร?

รักษารากฟัน คือ การกระบวนการกำจัดการติดเชื้อในบริเวณ โพรงประสาทรากฟัน หรือ คลองรากฟัน ที่ปกติจะเป็นจุดที่สะอาดที่สุดของฟัน เนื่องจากมีเนื้อเยื่อฟันที่แข็งแรง ล้อมรอบบริเวณรากฟันเอาไว้ โดยกระบวน การรักษารากฟัน จะมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้ บริเวณโพรงประสาทฟัน กลับเข้าสู่สภาวะปลอดเชื้อ เหมือนในฟันปกติ


การรักษารากฟัน เจ็บไหม?

ในขั้นตอนของการรักษารากฟัน จะมีการใช้ยาชาเฉพาะที่ เพื่อควบคุมความเจ็บปวด ในฟันที่มีการอักเสบอยู่มาก ก่อนการรักษารากฟัน จะทำให้การออกฤทธิ์ของยาชาไม่เต็ม 100% จึงอาจมีอาการเจ็บระหว่างการรักษารากฟัน ได้ แต่ในฟันที่มีการอักเสบไม่มาก ยาชาเฉพาะที่จะทำให้ไม่รู้สึกเจ็บระหว่างการรักษารากฟัน ทั้งนี้ทันตแพทย์จะคอยสอบถามเสมอว่ามีอาการเจ็บหรือไม่ หากยังมีอาการเจ็บแม้จะฉีดยาชาไปแล้ว ทันตแพทย์สามารถเติมยาชาเข้าไปช่วยระงับการเจ็บได้ โดยการฉีดยาโดยตรงเข้าไปในบริเวณโพรงประสาทฟัน ซึ่งจะช่วยหยุดการเจ็บปวดได้ทันที


ไม่มีอาการปวดฟันแต่ทำไมต้องรักษารากฟัน?

ในบางกรณี ฟันที่ผุจนถึงรากฟัน หรือแตกทะลุโพรงประสาทฟัน จะมีการดำเนินของ รอยโรคแบบที่ไม่ทำให้เกิดอาการปวด แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่มีปัญหา เนื่องจากฟันลักษณะดังกล่าวนี้ จะเป็นเสมือนกับระเบิดเวลา ที่รอเวลาปวด ดังนั้นถึงแม้ฟันที่ไม่มีอาการปวด หากมีการตรวจพบและ X-Ray เจอว่าต้องรักษา รากฟัน ก็ควรจะรีบรักษาทันที ก่อนจะเกิดการสูญเสียฟันไปในที่สุด


ทำไมต้องครอบฟันภายหลังจาก รักษารากฟัน?

เนื่องจากฟันที่รักษารากฟัน จะมีลักษณะเปราะและแตกหักได้ง่ายมากกว่าฟันปกติ ในการบดเคี้ยวฟันที่มีความแข็งแรงไม่มากพอ อาจเกิดการแตกหักได้ ทันตแพทย์จึงมักจะแนะนำให้ทำเดือยฟันและครอบฟันภายหลัง การรักษารากฟัน เพื่อเสริมความแข็งแรง คงทนจากการบดเคี้ยว ให้กับฟันที่รักษา รากฟัน เสร็จแล้ว ซึ่งครอบฟันจะมีให้เลือกหลายประเภท ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการใช้งานฟันซี่นานๆ


ภายหลังการ รักษารากฟัน เสร็จแล้ว จะอยู่ได้นานแค่ไหน?

ฟันที่ผ่านการรักษา รากฟัน มาแล้ว จะมีความสำเร็จในการรักษาแตกต่างกันไปตามสภาวะเดิมของฟันก่อนการ รักษารากฟัน แต่ส่วนมากแล้วพบว่า จะมีอัตราความสำเร็จสูงประมาณ 80 – 90% จึง แปลว่า ฟันซี่ที่ รักษารากฟัน มาแล้ว อาจอยู่ได้นานถึงตลอดชีวิต ถ้ากระบวนการรักษา รากฟัน สำเร็จลุล่วงตามกระบวนการที่ทันตแพทย์วางไว้ แต่ถ้าหากฟันซี่ที่รักษา รากฟัน มีสภาพฟันก่อนการรักษาที่ไม่ดีนัก อัตราความสำเร็จก็จะต่ำลง แปลว่าฟันก็จะมีอายุอยู่ได้สั้นลงเช่นกัน

บทสรุป – การรักษารากฟัน

การรักษารากฟัน ถึงแม้จะเป็นวิธีการที่ยุ่งยากและซับซ้อน แต่ก็มีข้อดีที่ทำให้สามารถเก็บรักษาฟันเอาไว้ในช่องปากได้ การรักษาจะได้ผลสำเร็จดีที่สุด หากเจ้าของฟันให้ความร่วมมือกับทันตแพทย์ในขั้นตอนการรักษา มาตามเวลาที่นัดหมายจนเสร็จสมบูรณ์ แต่ทั้งนี้ วิธีการที่ดีที่สุดในการรักษาฟันเอาไว้ในช่องปาก คือ การดูแลรักษาความสะอาดช่องปากอย่างดี แปรงฟันบ่อยๆอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง รวมถึงมาพบทันตแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพฟันทุก 6 เดือนค่ะ

เวลาทำการ

เวลาทำการสำหรับบริการ รักษารากฟัน
เวลาทำการสอบถามและนัดหมาย รักษารากฟัน
จันทร์-เสาร์10:00 – 19:00 น.
อาทิตย์10:00 – 12:00 น.

แผนที่

คลินิกทันตกรรม SmileDC ตั้งอยู่ในโครงการดิไอเฟล บนถนนคู่ขนานกาญจนาภิเษก เขตสะพานสูง/รามคำแหง ฝั่งตรงข้ามวัดลาดบัวขาว ใกล้กับสุเหร่าซีรอ (ซอยมิสทีน รามคำแหง) นะคะ สามารถดูแผนที่ และกดปุ่มด้านล่างเพื่อนำทางด้วย Google Maps มายังคลินิกของเราได้เลยค่ะ

แผนที่ SmileDC สำหรับเดินทางมา รักษารากฟัน
แผนที่ SmileDC ให้บริการ รักษารากฟัน

ปรึกษานัดหมาย – รักษารากฟัน

โทร 096-942-0057 คลินิกทันตกรรม SmileDC
ไลน์แชทหาเรา คลินิกทันตกรรม SmileDC

บทความที่เกี่ยวข้อง การรักษารากฟัน

ฟันผุที่ไม่ได้รักษาอาจส่งผลต่อหัวใจและสุขภาพโดยรวมได้

ฟันผุที่ไม่ได้รักษา…อาจส่งผลต่อหัวใจและสุขภาพ

ฟันผุเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย แต่สิ่งที่หลายคนไม่ทราบคือ ฟันผุที่ไม่ได้รับการรักษาสามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่รุนแรงได้…
ผู้หญิงมีอาการฟันโยก ฟันเคลื่อน

ฟันโยกเกิดจากอะไร รักษายังไง เมื่อไหร่ที่ควรปรึกษาทันตแพทย์?

“ฟันโยก” เกิดจากอะไรได้บ้าง มีวิธีการรักษาอย่างไร และหากมีอาการฟันโยกควรรับมืออย่างไร ในบทความนี้เรามีคำตอบมาให้แล้ว
ผู้ชายที่ยิ้มเห็นฟันเหลือง

รู้ทันสาเหตุฟันเหลือง และวิธีทำฟันขาว คืนความมั่นใจ

ชวนไปรู้ทันสาเหตุของปัญหาฟันเหลืองที่บั่นทอนความมั่นใจ พร้อมมีวิธีแก้ฟันเหลืองอย่างปลอดภัยสำหรับทุกช่วงวัย มาบอกกันในบทความนี้
สัญญาณเสียวฟันจากเหงือกที่กำลังร่น

รู้จักอาการเหงือกร่น: เกิดจากอะไรมีวิธีการรักษาอย่างไรบ้าง

ดูแลก่อนสายเกินแก้ อย่าปล่อยให้อาการเหงือกร่นบานปลายจนส่งผลไปถึงรากฟัน อันเป็นสัญญาณร้าย ถึงปัญหาสุขภาพช่องปากทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้น
ร้อนใน แผลในช่องปากที่ทำให้เกิดความระคายเคือง

ลดความรำคาญใจ แนะนำเคล็ดลับการแก้ร้อนในให้หายเร็วขึ้น!

กำจัดร้อนในที่ขัดขวางการกินและการใช้ชีวิต ด้วยเคล็ดลับแก้ร้อนในอย่างเร่งด่วนที่เห็นผลไวและทำตามได้ง่าย ในบทความนี้เลย
ทำฟัน ประกันสังคม ทันตกรรม ทำฟันฟรี 900 บาทต่อปี ไม่ต้องสำรองจ่าย เบิกอะไรได้บ้าง

ทำฟันประกันสังคม ไม่ต้องสำรองจ่าย 900 บาท รักษาอะไรได้บ้าง?!

ทำฟัน ประกันสังคม คือ สิทธิที่ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และ 39 จะสามารถใช้สิทธิทางทันตกรรม สำหรับบริการ ขูดหินปูน, อุดฟัน, ถอนฟัน และถอน/ผ่าฟันคุด ได้ฟรี โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งในการรับบริการ…
ทันตแพทย์รักษารากฟัน แตกต่างจากทันตแพทย์ทั่วไปอย่างไร

ทันตแพทย์รักษารากฟัน แตกต่างจากทันตแพทย์ทั่วไป อย่างไร?!

หลายๆคนอาจกำลังสงสัยว่า ทันตแพทย์รักษารากฟัน มีความแตกต่างจากทันตแพทย์ทั่วไปอย่างไร มาเรียนรู้ถึงความแตกต่างระหว่างทันตแพทย์รักษารากฟันกับ…
รักษารากฟันเจ็บไหม

รักษารากฟันเจ็บไหม? ครบทุกเรื่องที่สงสัย!?

รักษารากฟันเจ็บไหม? เป็นคำถามที่หลายๆคนอยากจะรู้ เพื่อช่วยประเมินก่อนการตัดสินใจทำการรักษารากฟัน ถ้าอยากรู้แล้ว เรามาพบกับคำตอบสำหรับคำถามนี้ไปพร้อมๆกันได้ในโพสต์นี้กันเลยค่ะ
5 เหตุผล ทำไมต้องรักษารากฟัน

ทำไมต้องรักษารากฟัน!?

สำหรับคำถามที่ว่า ทำไมต้องรักษารากฟัน มีเหตุผลและความจำมั๊ย มีขั้นตอนอย่างไร พร้อมพบกับ 5 เหตุผล โดย ทันตแพทย์เฉพาะทางรักษารากฟัน เพื่อช่วยตัดสินใจว่า ทำไมจึงควร…
เหงือกบวม เหงือกอักเสบ

รู้จักสาเหตุ อาการ และวิธีรักษาเหงือกบวม เหงือกอักเสบ

เหงือกบวม เหงือกอักเสบ ปัญหาเหงือกที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตมีสาเหตุมาจากอะไร และมีวิธีรักษาอาการเหงือกที่บวมและอักเสบจากสาเหตุต่าง ๆ อย่างไรบ้าง?
ฟันผุ ปัญหาของช่องปาก

ฟันผุ ปัญหาของช่องปาก

ฟันผุ คือ ภาวะของเนื้อฟันที่มีโครงสร้างเปลี่ยนแปลงไป ฟันผุ เกิดจาก การสูญเสียแร่ธาตุที่มีลักษณะแข็งของตัวฟัน มีสาเหตุหลักมาจาก…
ฟันตกกระ สาเหตุและวิธีรักษา

ฟันตกกระ มีสาเหตุและวิธีการรักษาอย่างไร?

ฟันตกกระ หรือที่รู้จักกันในภาษาอังกฤษว่า dental-fluorosis เป็นภาวะของฟันที่มีลักษณะผิดปกติไป จากเนื้อฟันที่ควรจะเป็นสีขาวอมเหลืองอ่อนๆ ใส มันวาว และแข็ง แต่ฟันตกกระ จะมีลักษณะของเนื้อฟันที่เป็นสีขาวขุ่น ไปจนถึงสีเหลืองจัด และอาจเป็นสีน้ำตาลได้ ในรายที่มีความรุนแรงของฟันตกกระมากๆ…
ปัญหาการ มีฟันคุด แล้วไม่เอาออก

มีฟันคุดไม่เอาออกได้มั๊ย?

มีฟันคุด ในช่องปาก แต่ไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม เช่น ไม่ได้ไปผ่าฟันคุด ปล่อยปละละเลย หรือ ทิ้งเอาไว้ภายในช่องปาก อาจจะส่งผลเสียได้ค่ะ หลายๆคนอาจจะมีคำถามในใจว่า ถ้าเรา มีฟันคุด แล้วไม่ผ่าหรือ ถอนฟันคุดออกได้มั๊ย? ตามมาหาคำตอบกันได้ในบทความนี้เลยค่ะ…

ทันตกรรมเฉพาะทางด้านอื่นๆ