รักษารากฟันเจ็บไหม

รักษารากฟันเจ็บไหม? ครบทุกเรื่องที่สงสัย!?

หน้าแรก » บทความด้านทันตกรรม » รักษารากฟันเจ็บไหม? ครบทุกเรื่องที่สงสัย!?

รักษารากฟันเจ็บไหม? ครบทุกเรื่องที่สงสัย!?

รักษารากฟันเจ็บไหม?

รักษารากฟันเจ็บไหม? เป็นคำถามที่หลายๆคนอยากจะรู้ เพื่อช่วยประเมินก่อนการตัดสินใจทำการรักษารากฟัน ถ้าอยากรู้แล้ว เรามาพบกับคำตอบสำหรับคำถามนี้ไปพร้อมๆกันได้ในโพสต์นี้กันเลยค่ะ

ในการรักษารากฟัน อาจจะมีอาการเจ็บได้บ้าง และจะเจ็บมากขึ้นในผู้ที่มีการอักเสบของฟันมากๆ หรือมีอาการปวดรุนแรงมาก่อน แต่ถ้าหากฟันซี่นั้นๆไม่ได้มีการอักเสบหรือปวดมาก การรักษารากฟันจะไม่เจ็บค่ะ แต่ทั้งนี้ทันตแพทย์รักษารากฟันเฉพาะทาง จะมีวิธีการควบคุมความเจ็บปวดโดยการใส่ยาชาเฉพาะที่ และทดสอบจนมั่นใจว่าชาสนิทก่อนให้การรักษา แต่ถ้าหากในระหว่างการรักษายังมีการเจ็บหลงเหลืออยู่ ทันตแพทย์จะพิจารณาเติมยาชา เพื่อให้การรักษารากฟันไม่เจ็บค่ะ

ความกังวลว่าการรักษารากฟันเจ็บไหม? และทำให้หลายคนไม่กล้าเข้ารับการรักษารากฟันกับทันตแพทย์ เนื่องจากฟันที่ต้องเข้ารับการรักษาส่วนมาก จะเป็นฟันที่มีอาการปวดมาก หรืออาจมีการบวม มีตุ่มหนอง หรือเคี้ยวข้าวไม่ได้มาเป็นระยะเวลานาน หลายคนจึงกลัวว่า ขนาดไม่ได้ไปแตะต้องถูกตัวฟัน ยังมีอาการเจ็บมากขนาดนี้ ยิ่งถ้าทันตแพทย์รักษารากฟันไปกรอฟันหรือรักษาเข้าล่ะ!! จะยิ่งเจ็บขนาดไหน?! บทความนี้ จะพยายามช่วยตอบคำถามที่ทุกคนสงสัยว่าการรักษารากฟันเจ็บไหม? อย่างครบถ้วนและละเอียดที่สุด เชิญติดตามอ่านได้เลยค่ะ

หัวข้อที่น่าสนใจ – รักษารากฟันเจ็บไหม?

เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจด้านล่างได้เลยค่ะ

ทำไมฟันที่ต้องรักษารากฟันจึงมีอาการปวด?

ทำไมฟันที่ต้อง รักษารากฟัน จึงปวด
ภาพประกอบ: ทำไมฟันที่ต้องรักษารากฟันจึงปวด

การรักษารากฟัน คือ การรักษาทางทันตกรรมแขนงหนึ่ง ที่เป็นการให้การรักษาตัวฟันที่มีการรุกล้ำของเชื้อโรคเข้าไปยังโพรงประสาทฟัน แล้วโพรงประสาทฟันล่ะ คืออะไรกันนะ?

โพรงประสาทฟัน คือ พื้นที่ที่มีลักษณะเป็นโพรงหรือช่องว่าง อยู่บริเวณกึ่งกลางของตัวฟัน และเป็นบริเวณที่ประกอบไปด้วยเส้นเลือด และเส้นประสาทมากมาย ที่มาเลี้ยงตัวฟัน โดยปกติแล้ว โพรงประสาทฟัน จะเป็นบริเวณที่ปราศจากเชื้อโรค เนื่องจากมีเนื้อฟันที่แข็ง ล้อมรอบบริเวณนี้เอาไว้

แต่เมื่อไหร่ก็ตาม ที่เนื้อฟันแข็งๆ ซึ่งล้อมรอบโพรงประสาทฟันเอาไว้ ถูกรุกรานด้วยเชื้อแบคทีเรีย เช่น รอยผุที่ลึก หรือมีการแตกหักของเนื้อฟัน เชื้อโรคดังกล่าว จะสามารถเดินทางมาถึงบริเวณโพรงประสาทฟัน และทำให้เกิดการติดเชื้อ ตามมาด้วยอาการปวดฟัน บวม และไม่สามารถเคี้ยวหรือรับประทานอาหารได้ตามปกติ

ดังนั้น ฟันที่มีอาการปวดฟัน จึงเป็นสัญญาณแรก ที่เตือนว่า ฟันซี่ดังกล่าว อาจจำเป็นต้องได้รับการรักษารากฟัน

รักษารากฟันเจ็บไหม? มีขั้นตอนวิธีการรักษาอย่างไร?

กว่าฟันซี่หนึ่งๆจะได้รับการรักษารากฟันจนเสร็จสิ้น จะประกอบไปด้วยขั้นตอนที่มีความซับซ้อน และมีหลายกระบวนการ ซึ่งในแต่ละกระบวนการ ล้วนแล้วแต่อาจทำให้เกิดความเจ็บปวดระหว่างทำการรักษาได้ แต่อย่าเพิ่งกังวลใจไป ทันตแพทย์เฉพาะทางรักษารากฟัน มีวิธีการในการควบคุมความเจ็บปวดดังกล่าวได้ ซึ่งจะทำได้โดยวิธีไหนบ้าง มาตามอ่านกันได้เลยค่ะ

ลำดับขั้นตอนการรักษารากฟัน มีดังนี้

1. ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยว่าฟันซี่นั้นๆ จำเป็นต้องรับการรักษารากฟันจริงหรือไม่

ในบางกรณี อาการปวดฟัน อาจมาจากฟันที่ผุลึก ใกล้จะถึงโพรงประสาทฟัน (แต่ยังไม่ถึง!!) ทันตแพทย์เฉพาะทางรักษารากฟัน จะทำการวินิจฉัยโดยการดูลักษณะของรอยผุ ดูเนื้อเยื่อเหงือกที่อยู่รอบๆ ว่ามีการบวมหรือไม่ อาจมีการจำลองการกัดอาหาร ว่ามีเจ็บตอนเคี้ยวหรือยัง โดยการใช้เครื่องมือ เคาะๆไปที่ตัวฟัน โดยฟันที่ยังผุไม่ถึงโพรงประสาทฟัน จะต้องไม่มีการบวมของเหงือก และยังไม่มีอาการเจ็บตอนที่ทันตแพทย์ทำการเคาะฟัน

ทันตแพทย์รักษารากฟันอาจจะทำการวินิจฉัยเพิ่มเติมโดยการถ่ายภาพ x-ray หรือใช้เครื่องมือตรวจความมีชีวิตของฟัน หากผลปรากฏออกมาว่าฟันซี่นั้นๆยังไม่ตาย ก็สามารถให้การรักษาโดยการอุดฟัน หรือครอบฟันก็เพียงพอค่ะ ไม่ต้องรักษารากฟัน

ขั้นตอนนี้ รักษารากฟันเจ็บไหม? : ในชั้นตอนนี้ มักจะไม่มีความเจ็บปวดใดๆเกิดขึ้นนะคะ

2. การฉีดยาชาเฉพาะที่ และการใส่แผ่นยางกันน้ำลาย

ในกรณีที่ฟันซี่นั้นๆ ผ่านการตรวจวินิจฉัยว่าต้องรักษารากฟัน ทันตแพทย์เฉพาะทางรักษารากฟัน จะทำการฉีดยาชา เพื่อให้ฟันซี่นั้นๆ หมดความรู้สึก เพื่อที่จะเปิดเข้าไปรักษาบริเวณโพรงประสาทฟันได้ แล้วจึงใส่แผ่นยางกันน้ำลายช่วยกันไม่ให้น้ำลายรั่วซึมเข้ามาระหว่างการรักษารากฟัน และเพื่อไม่ให้น้ำที่ใช้ระหว่างการรักษา ไหลลงคอ แล้วเกิดการสำลักด้วยค่ะ

การรักษารากฟันขั้นตอนนี้เจ็บไหม? : จะมีความเจ็บตอนฉีดยาชาได้บ้าง แต่ทันตแพทย์จะมีวิธีการช่วย โดยการใช้ยาชาเฉพาะที่แบบทาก่อน เพื่อให้ผิวบริเวณที่จะฉีดยาเกิดการชา เวลาที่ฉีดยาชาเข้าไป อาจจะเจ็บบ้าง แต่จะไม่มากค่ะ

3. การกรอเอารอยผุออก และเปิดเข้าสู่โพรงประสาทฟัน

ขั้นตอนนี้ เป็นขั้นตอนที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดมากที่สุด เมื่อเทียบกับทุกขั้นตอนที่ทำการรักษารากฟัน เนื่องจาก ในบางกรณี ฟันที่มีอาการปวดมาก หรือมีอาการปวดเรื้อรังมานานๆ จะทำให้ยาชาออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่ 100% บางคน อาจจะเหลือแค่อาการเสียวๆฟันเล็กน้อย แต่ในขณะที่บางคน จะรู้สึกเจ็บมาก

ทันตแพทย์รักษารากฟัน จะต้องทำการตรวจสอบก่อนเริ่มขั้นตอนนี้ทุกครั้ง ว่าฟันซี่นั้นๆ ชาสนิทหรือยัง หากฟันยังชาไม่เต็มที่ ทันตแพทย์ส่วนใหญ่ มักจะยังไม่เริ่มการรักษา

บางกรณีพบว่า ถึงแม้จะชาสนิทแล้ว ในกระบวนการกรอฟัน อาจจะรู้สึกปวดมากขึ้นเรื่อยๆ คุณควรจะรีบแจ้งให้ทันตแพทย์รักษารากฟันทราบทันที ว่าคุณยังมีอาการเจ็บอยู่ ทันตแพทย์ จะทำการเติมยาชา เพื่อให้คุณชาสนิทมากขึ้น หรือในบางกรณี ทันตแพทย์ อาจใส่ยาชาโดยตรง ลงไปในบริเวณโพรงประสาทฟัน เพื่อทำให้เนื้อเยื่อภายในที่มีการอักเสบติดเชื้อ ชาได้เต็มที่ที่สุด

หากจะถามว่าในขั้นตอนการกรอเอารอยผุออกนี้ มีส่วนเกี่ยวข้องกับ ความเจ็บปวดหลังการรักษารากฟัน หรือไม่? : คำตอบคือ อาจจะมีอาการเจ็บบ้างในบางกรณี โดยเฉพาะกรณีที่มีการอักเสบของโพรงประสาทฟันที่รุนแรง แต่ทันตแพทย์เฉพาะทางจะมีวิธีการช่วยให้คุณหายเจ็บได้ด้วยการใช้ยาชาเฉพาะที่ เพื่อหยุดยั้งอาการเจ็บปวดขณะให้การรักษารากฟัน

ขั้นตอนการ รักษารากฟันเจ็บไหม?
ภาพประกอบ: ขั้นตอนตรวจวินิจฉัย การรักษารากฟันเจ็บไหม?

4. การวัดความยาวรากฟัน และทำความสะอาดคลองรากฟัน

ส่วนมากแล้ว ในขั้นตอนนี้ มักจะไม่มีความเจ็บปวดแล้ว เนื่องจากคุณจะต้องชาสนิทก่อน จากขั้นตอนที่3 คุณถึงจะผ่านมายังขั้นตอนนี้ได้ ขั้นตอนนี้ คุณมักจะไม่รู้สึกอะไร เนื่องจากตัวฟัน หมดความรู้สึก หรือชาอย่างเต็มที่แล้วจริงๆ

ขั้นตอนนี้รักษารากฟันเจ็บไหม? : คำตอบคือ ไม่เจ็บค่ะ

5. การอุดเพื่อ รักษารากฟัน

เมื่อทันตแพทย์ ทำความสะอาดคลองรากฟัน จนมั่นใจว่าสะอาดหมดจด ปราศจากการติดเชื้อแน่ๆแล้ว ทันตแพทย์จะทำการอุดรากฟันให้เต็ม ด้วยวัสดุกัตตาเปอร์ชา ซึ่งเป็นยางชนิดหนึ่ง ที่จะผนึกทุกส่วนของโพรงประสาทฟัน ไม่ให้มีการรั่วซึมของเชื้อโรคจากภายนอกฟัน เข้าไปยังรากฟันได้อีก ซึ่งกว่าจะมาถึงขั้นตอนนี้ ฟันจะไม่มีเส้นเลือดและเส้นประสาทเหลืออยู่แล้ว คุณจึงไม่ต้องกังวลใจค่ะ เนื่องจากฟันซี่นั้นๆ จะไม่มีความรู้สึกเจ็บใดๆอีกแล้ว

แต่ทั้งนี้ ในกระบวนการอุดรากฟัน จะต้องมีการใช้ความร้อน เพื่อทำให้ยางกัตตาเปอร์ชาอ่อนตัวลง จะได้สามารถผนึกทุกส่วนของโพรงประสาทฟันได้ ซึ่งการใช้ความร้อนในขั้นตอนการอุดรากฟัน อาจจะทำให้บางคน รู้สึกปวดตุบๆบริเวณรากฟันลึกๆ ภายหลังอุดรากฟันเสร็จได้ค่ะ แต่ทั้งนี้ ไม่ต้องกังวลใจไปนะคะ อาการเจ็บที่อาจเกิดขึ้นนี้ จะมีคนเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่รู้สึก และส่วนมากจะรู้สึกแค่เล็กน้อย รวมถึงจะปวดอยู่ไม่นาน ประมาณไม่เกิน24ชั่วโมง อาการปวดก็จะค่อยๆหายไปเองค่ะ

ขั้นตอนอุดรากฟันเจ็บมั้ย? : ขั้นตอนนี้ไม่เจ็บระหว่างทำ แต่อาจมีอาการปวดเล็กน้อยหลังทำได้ค่ะ ซึ่งสามารถบรรเทาอาการปวดได้ โดยการรับประทานยาแก้ปวดนะคะ

ขั้นตอนการ รักษารากฟันเจ็บไหม
ภาพประกอบ: ขั้นตอนการรักษารากฟันเจ็บไหม

รักษารากฟันเจ็บไหม? ขึ้นอยู่กับเทคนิคการรักษาของทันตแพทย์รักษารากฟันเฉพาะทางหรือไม่?

ทันตแพทย์เฉพาะทางรักษารากฟัน จะมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษเกี่ยวกับการควบคุมความเจ็บปวดของฟันที่ต้องทำการรักษารากฟัน โดยการยึดหลักการ Painless Dentistry หรือแปลเป็นไทยคือ การรักษาฟันโดยไม่มีความเจ็บปวดใดๆ ซึ่งรายละเอียดที่ทันตแพทย์จะต้องคำนึงถึง เพื่อให้คำตอบของคำถามที่ว่าการรักษารากฟันเจ็บไหม? ได้คำตอบว่า “ไม่เจ็บ” มีดังต่อไปนี้

1. ตำแหน่งที่จะใส่ยาชา

เนื่องจากฟันแต่ละซี่ จะมีเส้นประสาทรับความรู้สึกที่มาเลี้ยงตัวฟัน แตกต่างกัน ทันตแพทย์เฉพาะทางรักษารากฟัน จำเป็นต้องลงรายละเอียด ว่าหากจะทำฟันซี่นั้นๆ จะต้องฉีดยาชาเพื่อให้เส้นประสาทเส้นไหนชาบ้าง ซึ่งจะต้องใช้ความละเอียด และความรู้ทางกายวิภาค ในระดับที่ลึกที่สุด เพื่อให้การรักษารากฟันครั้งนั้นๆ เป็นไปด้วยความราบรื่น ไร้ซึ่งความเจ็บปวดค่ะ

ตำแหน่งที่ฉีดยาชา รักษารากฟัน
ภาพประกอบ: ตำแหน่งที่ฉีดยาชา รักษารากฟัน

2. ชนิดของยาชา

ยาชาที่จะใช้ระงับความรู้สึก มีแตกต่างกันหลายชนิด ซึ่งทันตแพทย์เฉพาะทาง จำเป็นต้องพิจารณาเลือกให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล เนื่องจากแต่ละคน จะมีข้อบ่งใช้ในยาแต่ละประเภทที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้น หากคุณจำเป็นต้องทำการรักษารากฟัน คุณควรแจ้งทันตแพทย์เฉพาะทางรักษารากฟัน ว่าคุณมีโรคประจำตัวใด หรือมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์หรือไม่ รวมถึงมีการแพ้ยาประเภทใด ทันตแพทย์รักษารากฟัน จะได้ทำการเลือกชนิกของยาชาที่เหมาะสมให้กับคุณ เพื่อควบคุมความเจ็บปวดอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดค่ะ

ปริมาณและชนิดยาชา รักษารากฟัน
ภาพประกอบ: ชนิดของยาชา รักษารากฟัน

3. ปริมาณของการอักเสบในตัวฟัน

หากคุณมีภาวะโพรงประสาทฟันอักเสบมาก ทันตแพทย์เฉพาะทาง อาจพิจารณาใส่ยาฆ่าเชื้อในโพรงประสาทฟัน และปล่อยให้ยาดังกล่าว ลดการอักเสบภายในฟันลง ก่อนที่จะนัดคุณมารับการรักษาต่อ ซึ่งประสบการณ์ และความชำนาญของทันตแพทย์ จะมีส่วนสำคัญมากในกรณีนี้ เนื่องจากทันตแพทย์จะรู้ว่า เมื่อใดที่ควรหยุด เพื่อไม่ให้การรักษารากฟันครั้งนั้นๆ เจ็บมากจนเกินไปค่ะ

การอักเสบของฟัน รักษารากฟัน
ภาพประกอบ: การอักเสบของฟัน รักษารากฟัน

4. สามารถกำจัดเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อออกได้หมดหรือไม่

ในกรณีที่มีฟันผุรุกรานเข้าไปยังโพรงประสาทฟัน จนเกิดการติดเชื้อของเนื้อเยื่อโพรงประสาทฟัน หากทันตแพทย์ทำการกำจัดเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อออกได้หมด การรักษารากฟันจะประสบผลสำเร็จดี แต่กลับกัน หากทันตแพทย์ไม่สามาถกำจัดเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อออกได้เกลี้ยงเกลา ฟันซี่ที่ทำการรักษารากฟันนั้นๆก็จะยังคงมี ความเจ็บปวดหลังการรักษารากฟัน อยู่ต่อไป แม้ว่าจะเสร็จสิ้นกระบวนการรักษารากฟันไปแล้ว

การกำจัดเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อ รักษารากฟัน
ภาพประกอบ: การกำจัดเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อ รักษารากฟัน

บทสรุป – รักษารากฟันเจ็บไหม?

คำตอบคือ อาจเจ็บได้ในบางกรณี และในบางขั้นตอน โดยเฉพาะฟันที่มีการอักเสบ หรือมีการปวดมากๆมาก่อน แต่ทันตแพทย์สามารถช่วยลดความเจ็บปวดได้ โดยการใส่ยาชาก่อนที่จะเริ่มทำการรักษา และทดสอบว่าชาสนิทดีแล้ว รวมถึงอาจมีการเติมยาชาได้ หากยังมีความเจ็บปวดระหว่างการให้การรักษา จนกระทั่งคุณจะไม่มีความเจ็บปวดเลย ในระหว่างที่คุณรักษารากฟัน

แต่ทั้งนี้ ความเจ็บปวดในการรักษารากฟัน เทียบกันไม่ได้เลยกับความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจากการปวดฟัน ดังนั้น อย่ามัวกังวลใจไปเลยค่ะ หากคุณมีฟันที่สงสัยว่าต้องรักษารากฟัน แนะนำให้คุณเข้ารับคำปรึกษา กับทันตแพทย์เฉพาะทางรักษารากฟัน เพื่อทำให้ฟันของคุณหายปวด และสามารถกลับมาเคี้ยวอาหารได้ตามปกติค่ะ

บทสรุป รักษารากฟันเจ็บไหม รักษารากฟัน
บทสรุป รักษารากฟันเจ็บไหม

กดแชร์เพื่อแชร์บทความ – รักษารากฟันเจ็บไหม?

แชร์บทความนี้

เพราะการแบ่งปันคือความห่วงใยที่เรามีให้กัน…(เลือกแชร์บทความให้เพื่อนได้โดยกดปุ่มด้านล่างนี้เลยค่ะ)

ปรึกษาและสอบถาม

โทร 096-942-0057 คลินิกทันตกรรม SmileDC
เฟสบุ๊คแชทหาเรา คลินิกทันตกรรม SmileDC
ไลน์แชทหาเรา คลินิกทันตกรรม SmileDC

บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง – รักษารากฟันเจ็บไหม?

ผู้ชายที่ยิ้มเห็นฟันเหลือง

รู้ทันสาเหตุฟันเหลือง และวิธีทำฟันขาว คืนความมั่นใจ

ชวนไปรู้ทันสาเหตุของปัญหาฟันเหลืองที่บั่นทอนความมั่นใจ พร้อมมีวิธีแก้ฟันเหลืองอย่างปลอดภัยสำหรับทุกช่วงวัย มาบอกกันในบทความนี้
ทำฟัน ประกันสังคม ทันตกรรม ทำฟันฟรี 900 บาทต่อปี ไม่ต้องสำรองจ่าย เบิกอะไรได้บ้าง

ตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับสิทธิทำฟันประกันสังคม 900 บาท

สิทธิทำฟันประกันสังคม 900 บาท ทำอะไรได้บ้างแบบไม่ต้องสำรองจ่าย พามาดูเงื่อนไขการใช้สิทธิประกันสังคมในการใช้บริการทางทันตกรรม
ทันตแพทย์รักษารากฟัน แตกต่างจากทันตแพทย์ทั่วไปอย่างไร

ทันตแพทย์รักษารากฟัน แตกต่างจากทันตแพทย์ทั่วไป อย่างไร?!

หลายๆคนอาจกำลังสงสัยว่า ทันตแพทย์รักษารากฟัน มีความแตกต่างจากทันตแพทย์ทั่วไปอย่างไร มาเรียนรู้ถึงความแตกต่างระหว่างทันตแพทย์รักษารากฟันกับ…
5 เหตุผล ทำไมต้องรักษารากฟัน

ทำไมต้องรักษารากฟัน!?

สำหรับคำถามที่ว่า ทำไมต้องรักษารากฟัน มีเหตุผลและความจำมั๊ย มีขั้นตอนอย่างไร พร้อมพบกับ 5 เหตุผล โดย ทันตแพทย์เฉพาะทางรักษารากฟัน เพื่อช่วยตัดสินใจว่า ทำไมจึงควร…
เหงือกบวม เหงือกอักเสบ

รู้จักสาเหตุ อาการ และวิธีรักษาเหงือกบวม เหงือกอักเสบ

เหงือกบวม เหงือกอักเสบ ปัญหาเหงือกที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตมีสาเหตุมาจากอะไร และมีวิธีรักษาอาการเหงือกที่บวมและอักเสบจากสาเหตุต่าง ๆ อย่างไรบ้าง?
ฟันผุ ปัญหาของช่องปาก

ฟันผุ ปัญหาของช่องปาก

ฟันผุ คือ ภาวะของเนื้อฟันที่มีโครงสร้างเปลี่ยนแปลงไป ฟันผุ เกิดจาก การสูญเสียแร่ธาตุที่มีลักษณะแข็งของตัวฟัน มีสาเหตุหลักมาจาก…
ปัญหาการ มีฟันคุด แล้วไม่เอาออก

มีฟันคุดไม่เอาออกได้มั๊ย?

มีฟันคุด ในช่องปาก แต่ไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม เช่น ไม่ได้ไปผ่าฟันคุด ปล่อยปละละเลย หรือ ทิ้งเอาไว้ภายในช่องปาก อาจจะส่งผลเสียได้ค่ะ หลายๆคนอาจจะมีคำถามในใจว่า ถ้าเรา มีฟันคุด แล้วไม่ผ่าหรือ ถอนฟันคุดออกได้มั๊ย? ตามมาหาคำตอบกันได้ในบทความนี้เลยค่ะ…
หน้าแรก » บทความด้านทันตกรรม » รักษารากฟันเจ็บไหม? ครบทุกเรื่องที่สงสัย!?